รายงานสดจากตำบลในคลองบางปลากด


อนาคตไม่ไกลเกินที่จะก่อตั้งสัจจะสวัสดิการ

- ขณะนี้ ทางตำบลในคลองบางปลากด กำลังเร่งทำสารประชาสัมพันธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนในตำบลทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกได้รับรู้เรื่องราวบางเรื่องที่เห็นว่าสำคัญ

- เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ได้มีการประชุมใหญ่ของหมู่ ๕ บ้านวัดใหม่ มีเรื่องสำคัญคือ การแถลงผลงานการดำเนินงานในรอบปี การจัดงบดุลประจำปี และเปิดประชาคมของคณะกรรมการและสมาชิกในการค้นหาปัญหาและอุปสรรคในรอบปีที่ผ่านมาและสิ่งที่น่าดีใจคือ คณะกรรมการ คุณกิจ คุณกัญญา ได้สรุปผลของเวทีสัมมนาที่จังหวัดตราดเวทีของหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงิน ๕ พื้นที่ให้สมาชิกฟัง และนำเสนอสัจจะสวัสดิการวันละ ๑ บาท ตามกรอบแนวคิดของพื้นที่จังหวัดลำปาง จังหวัดตราด จังหวัดสงขลา ได้รับความสนใจจากสมาชิก เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มที่กองทุนบ้านวัดใหม่และสมาชิกจะเริ่มดำเนินการปลุกเร้าให้คนในชุมชนเห็นว่าการจัดสวัสดิการเป็นเรื่องสำคัญในการอยู่ร่วมกันที่จะเกิดขึ้นในชุมชนเมือง ถึงแม้นว่า จะยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร แต่คณะกรรมการและแกนนำในพื้นที่ก็จะพยายามที่จะให้เกิดสวัสดิการในภาคประชาชนเกิดในตำบลในคลองบางปลากดในอนาคตอันใกล้นี้

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23012เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2006 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เป็นความยินดีอย่างยิ่งยวดที่คนในชุมชนเริ่มสร้างบล๊อกของตนเอง
ยินดีต้อนรับเข้าชุมชนคะ
อยากเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ใหญ่เทพในพัฒนาการของธนาคารหมู่บ้านตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันครับ

ธนาคารหมู่บ้านสุขสวัสดิ์

ธนาคารหมู่บ้านสุขสวัสดิ์หรือสถาบันการเงินของชุมชน หลายคนแปลกใจเมื่อมาเยี่ยมหมู่บ้านสุขสวัสดิ์ ซึ่งอยู่ในเขตชุมชนเมือง มีสถาบันการเงินห่างจากหมู่บ้านเพียงเจ็ดร้อยเมตร มีสองสาขาของธนาคารขนาดใหญ่ มีตู้ ATM ในหมู่บ้านและพื้นที่รอบหมู่บ้าน ถึงหกตู้ ซึ่งสะดวกต่อการบริการทางการเงินกับประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่

สุขสวัสดิ์เป็นหมู่บ้านหนึ่งในพื้นที่ของตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่ หนึ่งตารางกิโลเมตร มีครัวเรือนตามทะเบียนราษฎร์ 689 ครัวเรือน มีประชากร 3,412 คน มีห้องเช่า 1,700 กว่าห้องมีประชากรแฝง 4,000 กว่าคน มีโรงเรียนอนุบาลเอกชน 1 แห่ง มีโรงแรม 1 แห่ง ขนาด 56 ห้อง มีโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมจำนวน 3 โรงงาน มีบริษัทขนส่ง จำนวน 2 บริษัท มีร้านเซ่นเวน 1 ร้าน มีตู้โทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้าน 43 ตู้

ดูจากบริบทของชุมชนแล้วต้องบอกว่าเป็นชุมชนเมือง

ย้อนอดีตไป 40 ปีจากการบอกเล่าของลุงชิน พึ่งสวน อายุ 71 ปีคนซึ่งเป็นคนดั้งเดิมเล่าว่าอดีตพื้นที่ของบ้านสุขสวัสดิ์ขึ้นอยู่กับหมู่ที่ 2 บ้านคลองมอญ และพื้นที่ของหมู่บ้านในปัจจุบันนี้เป็นพื้นที่ของการทำนา จากทำนา มาทำสวนอ้อย สวนมันฝรั่ง สวนพุทรา และ ทำสวนมะพร้าว วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามริมคลองมอญซึ่งมีไม่กี่ครัวเรือนวิถีชีวิตของคนทำนา ทำสวนก็เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมเข้ามาในพื้นที่ประมาณปี 2510 วิถีชีวิตของคนในพื้นที่ก็เริ่มทิ้งเกษตรกรรมที่เคยเป็นอาชีพหลักของคนในพื้นที่ก็เริ่มหันเหชีวิตของตนเองและครอบครัวเข้าทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่และเขตพื้นที่อำเภอพระประแดงเป็นเขตรอยต่อซึ่งมีโรงงานอุตสาหรรมขนาดใหญ่ผุดขึ้นอย่าต่อเนื่องและขยายตัวเข้ามาตำบลในคลองอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จำนวนมากประชากรก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัวพื้นที่จากนา เป็นสวนก็ถูกทอดทิ้งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าแต่ความต้องการที่อยู่อาศัยคนคนที่เข้ามาอยู่ตามโรงงานมากขึ้น จึงทำให้เกิดธุรกิจจัดสรรที่ดินคนดั้งเดิมก็ขายที่ให้กับนายทุนนำมาจัดสรรเป็นล๊อกๆละ 40 – 60 ตารางวาจึงเป็นที่มาของชุมชนบ้านสุขสวัสดิ์ตั้งแต่ปี 2522 ประชาชนเข้ามาปลูกบ้านเพิ่มขึ้นตามความเจริญก้าวหน้าของพื้นที่อุตสาหกรรม ปี 2536 บ้านสุขสวัสดิ์ จึงได้รับการยกฐานะเป็นหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ ประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านเป็นคนมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง ตามลำดับ ความหลากหลายของคนในพื้นที่ หลากหลายวัฒนธรรมประเพณี หลากหลายภูมิปัญญา เมื่อมารวมกันกับกลายเป็นวัฒนธรรมของคนสังคมเมืองต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างคิด การคิดริเริ่มสร้างสรรการรวมกันทำกิจกรรมทำกลุ่มก็มีมาอย่าต่อเนื่องคนแล้วคนเล่าแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็นการทำงานที่ทำลายทุนทางสังคมของผู้นำไปตามกาลเวลาประกอบสังคมไทยเกิดวิกฤษเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้คนในสังคมหมู่บ้านชุมชนได้รับผลกระทบกันทั่วหน้าปี 2541 จึงเกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมา เพื่อใช้เงินเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน สังคมและเศรษฐกิจเพื่อมุ่งสู่สังคมแห่ง

สวัสดิการ แต่ระยะเวลาสามปีเศษกับประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการเรื่องเงินบนหลักการมุ่งเน้นของการพัฒนาเรื่องคุณธรรมของคน และสังคม โดยไม่มุ่งเน้นเรื่องเศรษฐกิจและ

สวัสดิการ

ต้นปี 2544 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเรื่องกองทุนหมู่บ้านตามวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้าน และชุมชนเมืองสำหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ การลดรายจ่ายการบรรเทาเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นเร่งด่วน และสำหรับการนำไปสู่การปลูกสร้างกองทุนสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้าน
  2. ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถในการจัดระบบ และบริหารจัดการเงินทุนของตนเอง
  3. เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในการเรียนรู้ การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อแก้ปัญหาและเสริมสร้างศักยภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจแบบพอเพียง
  4. กระตุ้นเศรษฐกิจ ในระดับฐานรากของประเทศรวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต
  5. เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้าน

จากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลทำให้คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้วิเคราะห์ ทั้งปรัชญาและวัตถุประสงค์เป้าหมาย ผลกระทบและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้านตั้งแต่แรกแล้วว่าการบริหารจัดการเรื่องเงิน เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ประสบการณ์และความซื่อสัตย์ การเสียสละและการเติบโดตของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในขณะนั้นสร้างความเชื่อและความศรัทธาเกิดขึ้นในหมู่มวลสมาชิกพอสมควร มีสิ่งชี้วัดที่บอกเหตุก็คือสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ขณะนั้นมีมติให้คณะกรรมการลงสมัครเพื่อบริหารจัดการเรื่องกองทุนหมู่บ้านในเวทีประชาคมเพื่อสรรหาคณะกรรมการกองทุนโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการเมื่อคณะกรรมการหมู่บ้านประกาศรับสมัครก่อนจัดเวทีประชาคม 10 วันมีผู้สมัครหลังจากประกาศเพียงเจ็ดวันถึง 14 คนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ไม่สามารถที่จะปฏิเสธเสียงเรียกร้อยจากสมาชิกได้ จึงส่งคณะกรรมการลงสมัครจำนวน 13 คนก่อนวันทำประชาคมมีผู้สมัคร 27 คน ในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านจึงทำให้การจัดเวทีประชาคมสรรหาคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านสุขสวัสดิ์ ต้องใช้ลงคะแนนลับและหย่อนบัตรเลือกตั้งเพื่อจะให้ได้คระกรรมการ 15 คน ตามระเบียบ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเป็นประชาธิปไตยและอยากมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการเงินทุนของหมู่บ้านผลการลงคะแนนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตผ่านการสรรหามาบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน 13 ใน 15 คนจึงส่งผลให้การร่างระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านถูกคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เป็นแนวทางและสอดคล้องกับการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เกือบทั้งหมดซึ่งทำให้สมาชิกรับรองเป็นระเบียบข้อบังคับของกองทุนหมู่บ้านและบริหารควบคู่กับคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมาตลอดและคณะกรรมการมองเห็นแล้วว่าในหมู่บ้านจะเป็นหนึ่งเดียวต้องบูรณาการกองทุนทุกๆกองทุนมาบริหารจัดการโดยคณะกรรมการชุดเดียวแต่แยกความชัดเจนในระเบียบข้อบังคับ

จากความเชื่อความศรัทธาและสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการกู้ยืมเงินวงเงินของการกู้ยืมของสมาชิกเริ่มจากการค้ำประกันด้วยวงเงินฝากของตนเอง การค้ำประกันบุคคลจากสมาชิกของตนเองและมีการนำหลักทรัพย์มาค้ำประกัน คณะกรรมการบริหารเห็นแล้วว่าความซับซ้อนในการบริหารจัดการจะเกิดความเสี่ยงในการทำนิติกรรมรับจำนองหลักทรัพย์แต่ละครั้ง จึงทำให้คณะกรรมการคิดถึงคำว่านิติบุคคลตั้งแต่ปลายปี 2546 คณะกรรมการไปศึกษารายละเอียดของมูลนิธิ , สมาคม และสหกรณ์ เพื่อเป็นแนวทางที่จะขอจดทะเบียน แต่ขณะเดียวกันคณะกรรมการก็เห็นว่าการที่เราไม่มีที่ดินเป็นตนเองในการสร้างที่ทำการถาวรนั้นเสมือนหนึ่งนิติบุคคลที่เราตั้งขึ้นมานั้นจะเป็นเจ้าไม่มีศาล จึงทำให้เกิดการระดมทุนขึ้นภายในหมู่บ้านในปลายปี 2546 ทำการทอดผ้าป่าสามัคคี ได้เงินมาเกือบสองแสนบาทและปลายปี 2548 ได้เงินมาอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทเศษรวมกันมีเงินไว้สำหรับซื้อที่แล้วสามแสนห้าหมื่นบาทเศษ ซึ่งยังไม่สามารถที่จะนำเงินมาซื้อที่ได้เพียงแต่นำไปฝากไว้กับธนาคารและมีเงินจากการบริหารจัดการหมู่บ้านอีกจำนวนหนึ่งเกิดจากการจัดตลาดนัดชุมชนประกอบกับนโยบายของรัฐให้ยกฐานะกองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้านโดยมีธนาคารออมสินเป็นพี้เลี้ยงและสนับสนุนโปรมแกรมในการบริหารจัดการและคอมพิวเตอร์ จึงเป็นโอกาสของคณะกรรมการกำลังแสวงหาความเป็นนิติบุคคล จึงสมัครใจเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการการเปิดตัวธนาคารหมู่บ้านเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 ตามหลักการเห็นผลข้างต้น ณ วันนี้สิ่งที่คณะกรรมคาดหวังและค้นหาความเป็นนิติบุคคลเพื่อพึ่งพิงและอิงนโยบายของรัฐยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินทางนิติกรรม แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นอุปสรรคสำคัญกับการก้าวเดินบนเส้นทางขององค์กรการเงินระดับฐานรากของสังคมอย่างหมู่บ้านสุขสวัสดิ์เพราะสมาชิกและคณะกรรมการก้าวเดินมาอย่างเนื่องด้วยประสบการณ์และทบทวนปัญหาและอุปสรรคนำมาปรับเปลี่ยนและแก้ไขตลอดมาจากเปิดตัวธนาคารหมู่บ้านมาถึงวันนี้ระยะเวลา 4 เดือนมีลูก 248 รายมีเงินฝากเข้ามา 1,592,372 บาทปล่อยให้ลูกค้าของธนาคารกู้ยืมไป 1,140,000 บาท ไม่รวมกับเงินกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มออมทรัพย์ สิ่งเหล่านี้คงเป็นเครื่องชี้วัดว่าความเชื่อความศรัทธาเกิดขึ้นแล้วในสังคมของชุมเมืองอย่างน้อยก็คงเป็นกรณีศึกษา

วันนี้สิ่งที่คณะกรรมการบริหารกำลังก้าวเดินไปสู่การสร้างเครดิตกับสถาบันการเงินโดยการขอการสนับสนุนงบลงทุนในการซื้อตึกเพื่อทำสำนักงานที่ถาวรไม่มีใครสนับสนุนเราก็พร้อมที่จะกู้เงินเพื่อเป็นการลงทุนระยะยาว ความเชื่อ ความศรัทธา ความมุ่งมั่น ของคณะกรรมการคงรอความหวังจากผู้มีประสบการณ์ จากสถาบันการเงิน จากองค์กรการเงิน จากองค์กรเอกชน จากนักวิชาการ ที่จะมีช่องทางในการสนับสนุน ทั้งการแชร์ประสบการณ์ความคิด หรือให้การช่วยเหลือได้ทุกกรณีเพื่อให้การก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสร้างความเป็นแบบอย่างในสังคม เพราะสิ่งที่สะท้อนให้เห็นแล้วว่าการก้าวเดินของบ้านสุขสวัสดิ์ก้าวเดินมาเพียงลำพังโดยมีพี่เลี้ยงและเพื่อนร่วมเดินเฝ้ามองอยู่ห่างๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท