การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับHRD


HRD

  การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ HRD

      แนวคิดด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการฝึกอบรม มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญกับทฤษฎีการเรียนรู้โดยตรงทั้งนี้เนื่องจาก HRD เป็นความพยายามมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาบุคคล จะเห็นได้ว่าพนักงานที่จบการศึกษาจากสาขาเช่น computer science, design, กฎหมาย หรือ biotechnology เป็นต้นอาจใช้ความรู้ที่เรียนมาในวิชาชีพได้ 3-5 ปี เท่านั้น หากหยุดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอาจถูกจำกัดขอบเขตการทำงานลง จึงเห็นได้ว่ายุคนี้ การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นแล้ว การเพิกเฉยของ HRD ในองค์กรต่อกระบวนการศึกษาตลอดชีวิตของ พนักงานแต่ละคนอาจส่งผลให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นไม่ถูกนำไปใช้ให้เป็น ประโยชน์ต่อองค์กร และอาจก่อให้เกิดปรากฏการณ์สมองไหล ได้เป็นต้น (Quote : If there is no such thing as a job-for-life then the idea of life learning does assume a great significance, because it’s not training for a job, it’s about being able to find yourself employment. Jim McGoldrick at Round Table conference on Discourses on HRD and lifelong learning)

ตัวอย่างงาน HRD กับแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Streel Partnership Training (SPT) : UK ได้ทำการศึกษาพบว่าพนักงานของกลุ่มบริษัท UK STEEL มี ความแตกต่างในด้านทักษะสูงมาก และได้ทำการปรับโครงสร้างงานด้านการพัฒนาบุคลากรโดยการส่งเสริมค่านิยมการ เรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นในบริษัท เพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนความรู้ภายในบริษัท และทำการโปรโมตหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเข้าไปในยุทธศาสตร์ด้าน HRD ของบริษัทฯ ทั้งในส่วนยุทธศาสตร์ด้านการบริหาร และส่วนการพัฒนาบุคลลากรของพนักงานในทุกระดับ โดยใช้ MODEL ดังนี้

ข้อดี    จาก Chart เห็นได้ว่า SPT พยายาม ในการสร้างการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องการทำงาน ให้เป็นทัศนคติและเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของพนักงานแต่ละคน โดยพยายามสร้างวงล้อมของสังคมการเรียนรู้ (Learning Community) เข้า สู่ศูนย์กลางเดียวกันกับวงจรชีวิตส่วนตัวของพนักงานแต่ละคน ทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ เกิดการสร้างนิสัยการเรียนรู้ยั่งยืน เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต และทำให้เกิดการถ่ายโอนความรู้ภายในจากผู้รู้สู่พนักงานคนอื่นๆ (Tacit Knowledge Transferring)

ข้อเสีย   ภายในข้อมูลที่ศึกษา MODEL ของ SPT ยังไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของพนักงานแต่ละคน (Individual Lifelong Learning) ให้ สัมพันธ์กับการจัดการความรู้และ พัฒนาไปสู่วัฒนธรรมองค์กรขึ้นได้ เนื่องจากยังไม่มีการสร้างแรงจูงใจ หรือผลตอบแทน ดังนั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอาจะไม่มีผลต่อองค์กรในระยะยาว และอาจก่อให้เกิดปรากฏการณ์สมองไหลได้

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 228454เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ HRD *ดาวโหลดแน่ใจนะว่า...จะเรียน HRD ตลอดชีวิต*

ตลอดชีพจริงนะ จากเพื่อนดาวโหลด

ขอบคุณพี่แน๊ะกับมอมแมมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท