ความสำคัญของการประเมินผลงานต่อการพัฒนาบุคลากรขององค์การในสังคมไทย


พัฒนาบุคลากร

     องค์กรใด ๆ จะมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้ เป็นผลหรือมีพื้นฐานมาจากคนในองค์กรทั้งสิ้น ส่วนประกอบต่าง ๆ ในการดำเนินงานทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน วัสดุ อุปกรณ์ การจัดการ คน และในท้ายที่สุดแล้ว คนเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์ประกอบที่เหลือมีคุณค่าและเป็นตัวแปร ที่สำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ ดังนั้นคุณภาพของคนจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความสำเร็จและความก้าว หน้าอย่างยั่งยืนให้แก่องค์การใด ๆ

          ทั่วไปแล้ว เมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างคุณภาพให้แก่คน หรือพนักงานในองค์การ ส่วนใหญ่จะคิดถึงเรื่องของการฝึกอบรมเป็นอันดับแรก และอาจคิดถึงเพียงอย่างเดียวสำหรับหลายๆ คน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การพัฒนาคนให้เกิดคุณภาพ หรือการสร้างให้พนักงานเป็นคนมีคุณภาพ มิใช่จำกัดอยู่ที่การใช้การฝึกอบรมเป็นทางออก (solution) เท่า นั้น หากแต่การให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของคนตั้งแต่แรกเข้า หรือตั้งแต่การสรรหาว่าจ้างก็ถือเป็นกระบวนการเริ่มต้นของการพัฒนาคุณภาพของ สมาชิกในองค์การแล้ว กล่าวคือ ถ้าเราพิจารณาว่าคุณภาพของคนอยู่ที่ผลงาน การสรรหาบุคคลที่มีประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งที่ว่างและมี Success story ในการทำงานที่เดิมอาจถือเป็นเงื่อนไขในการรับเข้าทำงานเบื้องต้น แต่ถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้งขึ้นไปอีก การมีเงื่อนไขด้านศักยภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้สมัครก็จะช่วยให้ การพัฒนาบุคคลคนนี้ในอนาคตเป็นไปได้มากขึ้น นอกจากนี้ถ้าจะพิจารณาต่อในแง่ของการพัฒนาบุคคลเพื่อสร้างความสำเร็จให้แก่ องค์กร การสร้างบรรยากาศที่ดี เอื้อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาของบุคคลก็มีความสำคัญไม่น้อย ดังนั้นการได้มาและมีอยู่ของสมาชิกในองค์การที่เมื่อมาอยู่รวมกันและสร้าง วัฒนธรรมร่วมกันจึงไม่อาจละเลยได้ นั่นคือการเลือกสรรเฉพาะคนเก่ง คือมีผลงานดีก่อนมาร่วมงานจึงไม่เพียงพอ หากแต่ต้องเลือกคนดีเข้ามาช่วยสร้างวัฒนธรรมที่ดี เป็นคนดีที่มีศักยภาพในการพัฒนาอันจะส่งผลให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ให้มีคุณภาพได้ตามที่คาดหวัง

       ดัง นั้นแนวคิดในด้านการพัฒนาบุคคลจึงไม่พึงจำกัดอยู่เพียงเรื่องของการฝึกอบรม เท่านั้น ปัจจัยด้านการพัฒนาบุคลากรเริ่มตั้งแต่กระบวนการสรรหาว่าจ้าง การเลือกคนที่มีศักยภาพ และความสามารถในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองมาเป็นสมาชิกในองค์การ การเลือกคนดีเพื่อมีโอกาสในการสร้างบรรยากาศของการพัฒนาในองค์การ การกำหนดให้มีเส้นทางการเติบโตในสายงาน อาชีพเพื่อรองรับการพัฒนาตนเองของปัจเจกบุคคล และปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามคือ ระบบการประเมินผลงานนั่นเอง

       ความ สำคัญของระบบการประเมินผลงานต่อการพัฒนาบุคคลในองค์การใด ๆ กล่าวคือ เป็นกระบวนการที่กำหนดคุณภาพตั้งแต่เริ่มต้น ควบคุมการสร้างคุณภาพและเป็นเครื่องมือสำคัญในการรักษาระดับคุณภาพให้ดีขึ้น ถือเป็น Key success factor ที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพพนักงาน จะเห็นได้ว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพของบุคลากร มักจะมีระบบการประเมินผลงานที่ชัดเจนและเปิดเผย พนักงานจึงจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ด้วยความเต็มใจและมั่นใจ

       ใน อดีต การประเมินผลงานของพนักงานในองค์การส่วนใหญ่ มีรูปแบบคล้าย ๆ กันคือ หัวหน้างานเป็นผู้กำหนดแนวทาง วิธีการและตัดสินลูกน้องจากพฤติกรรมในการทำงานและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงระดับของความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับหัวหน้าด้วย การวัดผลส่วนใหญ่มาจากความรู้สึกของหัวหน้าและมักจะมาจากความทรงจำระยะสั้น ๆ ของหัวหน้าในช่วงก่อนการประเมินผลงาน ซึ่งด้วยรูปแบบนี้ ไม่อาจสร้างบรรยากาศในการพัฒนาบุคลากรได้

       ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการประเมินผลงานขึ้นเป็นลำดับ เป็นผลมาจากแนวคิดที่เปลี่ยนไปในเชิงของการบริหาร จากแนวทางการบริหารจัดการแบบ Management By Objective (MBO) ทำ ให้เกิดแนวทางในการประเมินผลงานแบบมีการกำหนดเป้าหมายของงาน กำหนดตัวชี้วัดและมีกฎเกณฑ์ชัดเจนมากขึ้นในการประเมิน ยึดเอาผลลัพธ์เป็นเกณฑ์ (Result oriented) ซึ่ง แม้วิธีนี้จะเป็นที่นิยมเพราะอาจจะเหมาะสมกับธุรกิจในสภาพการแข่งขันของโลก ปัจจุบัน กระตุ้นให้ผลประกอบการดีขึ้นจากผลงานของพนักงานที่ถูกควบคุมผลลัพธ์ของงาน เป็นหลัก จนลืมนึกถึงความเป็นมนุษย์และความจำเป็นในการพัฒนาปัจเจกบุคคล ซึ่งความจำเป็นในเรื่องนี้ส่งผลต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมในท้ายที่สุดเรา คาดหวังว่าสังคมไทยควรเป็นอย่างไร เรามักจะนึกไปถึงเยาวชน และพยายามสรรหามาตรการ กฎเกณฑ์ทางสังคม ระบบการควบคุมการเรียนรู้ของเยาวชน แต่เราลืมนึกไปว่า สังคมของคนทำงานมีส่วนสำคัญและมีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก การสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบตะวันตกที่เน้นผลงาน ทำให้พฤติกรรมในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมอาจเสื่อมทรามลงด้วยความเห็นแก่ ตัว และการให้รางวัลหรือผลตอบแทนเป็นเงื่อนไขในการดำเนินชีวิต เราอาจสามารถสร้างคนเก่งได้จากระบบการประเมินผลงานแบบนี้ แต่คนดีคงหาได้ยากมากขึ้นเพราะเงื่อนไขในการสนับสนุนให้คนทำดีในองค์การมี น้อยลง

       ดัง นั้นระบบการประเมินผลงานที่เหมาะสม พึงให้ความสำคัญกับการประเมินความประพฤติของบุคคลในองค์การด้วย และให้ความสำคัญกับพฤติกรรมที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ดีผ่านระบบการ ประเมินผลงาน เพราะโดยธรรมชาติแล้วบุคคลย่อมมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมใด ๆที่มีรางวัลตอบสนองเป็นเงื่อนไข เช่นการให้คะแนนประเมินผลส่วนหนึ่งแก่พนักงาน จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมช่วยเหลือสังคมร่วมกับบริษัท หรือคะแนนจากการที่พนักงานให้ความร่วมมือ ช่วยเหลืองานในโครงการสำคัญ ๆของบริษัท ทั้งที่มิใช่งานในหน้าที่ที่มอบหมายจากหัวหน้างานเป็นต้น ซึ่งในระบบการประเมินผลงานในส่วนนี้ สามารถกำหนด KPI ได้เช่นเดียวกับในส่วนของการวัดผลงานจากเป้าหมายของงาน          

       สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงของโลก การแข่งขันเพื่อความอยู่รอดแบบไม่เคยพอเพียงเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่ไม่ เหมาะสมให้เกิดขึ้นได้ หากองค์กรธุรกิจจะให้ความสำคัญแก่การสร้างวัฒธรรมที่ดีขึ้นในองค์การ จากหน่วยย่อย ๆ หลายๆหน่วย จากองค์การ หลาย ๆ องค์การ การมุ่งเน้นพัฒนาบุคคลให้เป็นคนดี มิใช่เน้นแต่เพียงให้เกิดผลงานดีเพื่อผลประกอบการที่ดีเท่านั้น คนดีในสังคมจะมากขึ้น และจะส่งผลให้เกิดความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไป ทั้งในทางธุรกิจและปัจเจกบุคคล และนั่นเอง คือคำตอบสุดท้ายของการพัฒนาบุคลากรในสังคมไทย  

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาบุคลากร
หมายเลขบันทึก: 228453เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2008 18:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 04:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากค่ะ หามาจากใหนหรอ มีคุณภาพจริงๆ

เห็นด้วยกับบทความค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท