เก็บมาเล่าเอามาบอกต่อ(ตอน4)


การพัฒนางานคุณภาพของกลุ่มงาน ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวัฒนธรรมในการปฏิบัติงานของเรา

                        วันที่ 2 ธันวาคม 2551 เวลา 18.00 น. กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว มีโอกาสได้นำเสนอความก้าวหน้าในการพัฒนางานคุณภาพ นำเสนอต่ออาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์  ผู้นำเสนอของกลุ่มงานเราคือนายแพทย์นิพัธ กิตติมานนท์ งานนี้หายห่วง หนึ่งชั่วโมงเต็มๆ ที่ อาจารย์นิพัธ เป็นตัวแทนถ่ายทอดภาพและเรื่องราวการพัฒนางานของพวกเราให้อาจารย์ทัศนีย์ สุมามาลย์ รับทราบ  เมื่อนำเสนอจบอาจารย์ทัศนีย์ บอกว่าประทับใจมาก เคลิ้มไปกับผลงานของพวกเราไปเลยล่ะค่ะ ( พวกเราก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกันนะคะ อาจารย์ )

                        ผู้บันทึกรู้สึกเสียดายมากที่จะปล่อยให้เนื้อหา ที่อาจารย์นิพัธบรรยายวันนั้น  จบลงแค่การ reaccreditation เสร็จสิ้นลง อยากนำลงมาบันทึกและถ่ายทอด ผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ฟังวันนั้น ได้อ่าน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะสามารถถ่ายทอดได้เหมือนกับอาจารย์นิพัธ นำเสนอหรือเปล่านะคะ แต่ก็จะพยายามดู  อาจารย์นิพัธ จะบอกเสมอว่า พวกเราชอบทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก  วันนี้จะขอเอาเรื่องยากมาทำเป็นเรื่องง่ายนะคะอาจารย์  ( แต่ถ้าผิดเพี้ยนไป อาจารย์นิพัธช่วยเติมด้วยนะคะ แหะ ๆ)  

                        การนำเสนอเริ่มจาก แนะนำว่าภารกิจหลักของกลุ่มงานเราคือ การพัฒนาระบบริการปฐมภูมิ สร้างเครือข่ายเชื่อมโยงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน สนับสนุนการสร้างสุขภาพ เสริมพลังอำนาจชุมชนให้เข็มแข็ง  โดยมีทีมงานหลักในการดำเนินการคือ ทีมงานศูนย์สุขภาพเมือง ทีมงานพัฒนาเครือข่าย PCU และการเชื่อมโยงเครือข่าย มีทีมงานรับผิดชอบโครงการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และทีมงานด้านการเรียนการสอน

                        การพัฒนางานคุณภาพของกลุ่มงาน ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  จนกลายเป็นวัฒนธรรมในการปฏิบัติงานของเรา  เรามีวัฒนธรรมคุณภาพ วัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมการเรียนรู้ และสุดท้ายที่สำคัญคือวัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาพ นั่นเอง

                        ระบบงานที่เราปฏิบัติ และเชื่อมโยงกันกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งหน่วยงานด้านคลินิก หน่วยงานสนับสนุนด้านคลินิก เช่น เอกซเรย์  ห้อง LAB  งานสนับสนุนอื่นๆ เช่น งานบริหาร งานพัฒนาบุคลากร  การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพเกี่ยวข้องกับทุกงาน ทุกระบบ ที่สำคัญได้แก่  เรื่องสิทธิผู้ป่วย แนวทางการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็น ความเสี่ยงเฉพาะโรค การบันทึกเวชระเบียนที่ถูกต้อง ครบถ้วน สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความปลอดภัย

                   สิทธิผู้ป่วย เราให้ความสำคัญเน้นเรื่อง การระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง ทั้งชื่อ และสิทธิการรักษา มีการตรวจสอบการแสดงบุคคลทุกขั้นตอน การดูแลผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลพิเศษเช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยอาการหนัก หรือมีอาการทรุดลง รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการแสดงความคิดเห็น และเราพร้อมที่จะปรับปรุงในข้อเสนอแนะ โดยอาจารย์ยกตัวอย่าง เรื่องพรมเช็ดเท้าที่เคยมีคุณครูภาษาไทยท่านหนึ่ง แนะนำให้เราเปลี่ยนเป็นแบบไม่มีข้อความภาษาไทยว่ายินดีต้อนรับ  เรื่องนี้เราน้อมรับคำแนะนำ และปฏิบัติตาม

                        วัฒนธรรมด้านคุณภาพ ในเรื่องการบันทึกเวชระเบียนถูกต้อง ศูนย์สุขภาพเมือง เป็นหน่วยงานที่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในทุกจุดบริการ เป็นโปรแกรมpaperless ดังนั้น ความสำคัญคือเจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกจุดบริการ มีความรับผิดชอบ ในการบันทึกข้อมูลการให้การบริการ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน

                         วันนี้ ขออนุญาตเล่าแค่นี้ ก่อนนะคะ แล้วจะรีบกลับมาบันทึกต่อนะคะ บอกแล้วไง อาจารย์นิพัธเล่าตั้งหนึ่งชั่วโมงเต็มๆ จะมีแค่นี้ได้ไง

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรมคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 228002เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2008 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แสดงว่าน้อยตั้งใจฟังดี เก็บรายละเอียดได้ดีมากๆนะ

อยากจะบอกว่าทีมงานศูนย์สุขภาพเมืองเยี่ยมมากเลยนะน้อยกับการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพที่เป็นเป้าหมายของกลุ่มงานสามารถผสมผสานเชื่อมโยงกับงานอื่นๆใน รพ.ได้อย่างเป็นระบบ อีกสามปีพบกันใหม่เนอะ....พบกับ ทีมผู้ประเมิน พรพ.นะจ้ะ...แหะ แหะ แหะ ...อย่าลืมมาเล่าให้ฟังต่อนะจ้ะ...

หายเหนื่อยแล้วนะค่ะพี่น้อยหลัง HAผ่านไปแล้วแต่ก็ยังเห็นพี่น้อยคงขยันขันแข็งเหมือนเดิม รักษาสุขภาพบ้างนะคะ ระวัง !เดี๋ยวสองขั้นจะมาหานะคะ 555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท