ความสุขและการทำดีติดต่อกันได้คล้ายโรคระบาด


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า ทั้งความทุกข์และความสุขมีแนวโน้มจะ "ติดต่อกันได้คล้ายโรคระบาด (infectious)" สำนักข่าว BBC กล่าวว่า 'Happiness is infectious...' ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า ความสุขนั้นระบาดได้คล้ายโรคติดต่อ

การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 5,000 คนพบว่า การมีเพื่อนที่มีความสุขอยู่ในระยะทางไม่เกิน 1 ไมล์ เพิ่มโอกาสที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความสุขเพิ่มขึ้น (เฉลี่ย) 25%

...

ภาพประกอบจาก [ BBC ]

...

ศาสตราจารย์นิโคลัส คริสทาคิส ผู้เชี่ยวชาญสาขาสังคมวิทยาทางการแพทย์ และคณะ แห่งแพทย์ฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ทำการศึกษาข้อมูลจากชาวเมืองฟรามิงแฮม สหรัฐฯ (Framingham heart study) ผลการศึกษาพบว่า

 

ประเภท ผลกระทบต่อการเพิ่มควมสุข (ร้อยละ)
คู่ครอง (สามี ภรรยา) 8%
ลูกพี่ลูกน้อง (siblings) 14%
เพื่อนบ้าน 34%

 

...

ถ้าวิเคราะห์เจาะลึกลงไปเฉพาะกลุ่ม "เพื่อน" ในสังคม (social contact) จะพบความสัมพันธ์เชิงบวกคือ เพื่อนมีความสุขทำให้คนรอบข้างมีโอกาสมีความสุขเพิ่มขึ้นมากถึง 3 ลำดับชั้น (3 layers) ดังต่อไปนี้

 

ความสัมพันธ์ โอกาสมีความสุขเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)
เพื่อน 15%
เพื่อนของเพื่อน 10%
เพื่อนของเพื่อนของเพื่อน 6%

 

...

ตรงกันข้าม... ถ้าเครือข่ายสังคม หรือเพื่อนๆ ของใครมีความทุกข์ คนๆ นั้นจะมีโอกาสมีความทุกข์เพิ่มขึ้น 7%

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า คนที่มีความสุขในชีวิตตามสมควรมีโอกาสอายุยืนเพิ่มขึ้น หัวใจทำงานได้ดีขึ้น ความเจ็บปวดประเภท "ปวดโน่นปวดนี่" ลดลง

...

การศึกษารายงานหนึ่งทำในปี 1984 หรือ พ.ศ. 2527 ทำในฝรั่ง (ชาวตะวันตก) พบว่า การมีเงินเพิ่มขึ้น 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ175,000 บาท) มีส่วนทำให้คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้น 2%

อาจารย์คริสทาคิสกล่าวว่า การมีเพื่อนดีๆ และมีเพื่อนที่มีความสุข 1 คนมีค่ามากกว่าเงิน 175,000 บาทประมาณ 4 เท่า นั่นคือ มีค่าประมาณ 700,000 บาทในแง่ของการ "ถ่ายทอด (broadcast) ความสุข" ไปสู่คนรอบข้าง

...

เรื่องที่น่าสนใจมากๆ คือ การอยู่ใกล้คนที่มีความสุขนี้สามารถ "ถ่ายทอด" ความสุขคล้ายๆ กับการ "ออกอากาศ (broadcast)" ความสุขจากเพื่อนไปสู่เพื่อนของเพื่อน และไปสู่เพื่อนของเพื่อนของเพื่อนได้ รวมแล้วเป็นการถ่ายทอด 3 ลำดับด้วยกัน

ปัจจัยที่สำคัญมากในการ "ถ่ายทอด" ความสุขขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดทางกายภาพ นั่นคือ ระยะทางยิ่งใกล้ยิ่งมีผลมาก นอกจากนั้นการถ่ายทอดคลื่นความสุข (อยู่ใกล้เพื่อนที่มีความสุข) ก็มีผลมากกว่าการถ่ายทอดคลื่นความทุกข์ (อยู่ใกล้เพื่อนที่มีความทุกข์)

...

[ Wikipedia ]

...

เมื่อเพื่อนที่มีความสุขในระยะ 1 ไมล์ หรือ 1.6 กิโลเมตรมีความสุข คนเราจะมีโอกาสมีความสุขเพิ่มขึ้น 46%

อาจารย์คริสทาคิสกล่าวว่า ผลการศึกษานี้สนับสนุนว่า ความสุขนั้น "แผ่" ออกไปจากคนๆ หนึ่งไปยังคนรอบข้างได้ โดยไม่ได้ผ่านการสื่อสารทั่วๆ ไป

...

เรื่องนี้ฟังดูเหมือนกับเป็นเรื่อง "ใหม่" ในสายตาฝรั่ง (ชาวตะวันตก) ทว่า... เรื่องเมตตา การแผ่เมตตา การได้รับผลกระทบจากการเจริญเมตตา และอานิสงส์ของเมตตานั้นเป็นที่ทราบกันดีในคำสอนทางพระพุทธศาสนามานานแล้ว

ทว่า... เมื่อมีผลการศึกษาวิจัยยืนยันขึ้นมาก็มีส่วนสนับสนุนให้พวกเราควรหาทางอบรม เจริญเมตตากันให้มาก กระทำความปรารถนาดีซึ่งกันและกันให้มาก ซึ่งคนแรกที่จะได้รับผลจากเมตตาก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลที่ไหนนอกจาก "ตัวเรา" และ "คนรอบข้าง"

...

[ Wikipedia ]

  • ภาพเมืองแมนฮัททัน สหรัฐอเมริกาจากวิกิพีเดีย

...

ถ้าคนในชุมชนใดอบรมเจริญเมตตามาก... สังคมนั้นจะร่มเย็นเป็นสุข ตรงกันข้ามถ้าคนในชุมชนใดอบรมเจริญพยาบาท วิหิงสา (ความคิดที่จะเบียดเบียน ทำร้าย) คนอื่นมากๆ ยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกร้าวรานมาก สังคมก็จะเป็นสังคมแห่งความทุกข์และบีบคั้น

หันมาทำให้เมืองไทยเราเป็นสังคมที่มากไปด้วยเมตตา มากด้วยความปรารถนาดีให้ได้ แบบนี้น่าจะดีกับบ้านกับเมืองมากทีเดียว

...

วิธีฝึกเมตตาง่ายๆ เริ่มได้ด้วยการหัดมองความดีของตัวเราและคนรอบข้างให้ได้ โดยเริ่มจากการระลึกถึงการทำดีของตัวเองในใจให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

เรื่องความดีของตัวเรานั้น... ดีที่สุดคือ ระลึกในใจ ไม่จำเป็นต้องท่องหรือสาธยายการทำดีของเราออกมาดังๆ เพื่อป้องกันคนรอบข้างไม่ให้หมั่นไส้ หรือตั้งตัวเป็นศัตรู

...

[ Wikipedia ]

...

ส่วนความดีของคนรอบข้างนั้น... ถ้าจะให้ดีจริงๆ ควรกล่าวเป็นคำพูดหรือเขียนออกมา เพื่อขัดเกลาความตระหนี่คำชม (วัณณมัจฉริยะ / วัณณะ = ผิวพรรณ ในที่นี้หมายถึงคำชม; มัจฉริยะ = ตระหนี่ ขี้เหนียว) และแสดงความจริงใจออกมาอย่างหนักแน่น

ตัวอย่างการชมคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนใกล้ตัวที่พวกเราควรทำให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และค่อยๆ เพิ่มเป็นอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เช่น อาหารจานนี้อร่อยให้ชมคนทำ บ้านสะอาดให้ชมคนทำงานบ้าน ฯลฯ

...

เมื่อฝึกมองโลกในแง่ดีแล้ว... ควรอบรมเจริญเมตตา หรือความปรารถนาดีต่อตัวเรา แล้วค่อยๆ แผ่ไปยังคนรอบข้าง คนที่เราเคารพ คนที่เรารัก คนกลางๆ จนถึงคนที่เราชิงชัง (ศัตรู) ให้ได้

คนที่จะได้รับผลหรืออานิสงส์ (อานิสงส์ = กำไร) ของเมตตาคนแรกก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลที่ไหน หากเป็นตัวเรา ทำให้สุขภาพของตัวเราและคนรอบข้างดีขึ้นได้มาก สังคมที่มากไปด้วยเมตตาและการให้อภัยจะเป็นสังคมที่สงบร่มเย็น และทำให้คนในสังคมมีสุขภาพดีอย่างกว้างขวางต่อไป

...

[ Wikipedia ]

...

ใครว่าความเลวหรือความทุกข์แผ่ไป กระจายไป (broadcast) ได้อย่างเดียวเห็นจะไม่จริง เพราะการทำความดีหรือความสุขก็กระจายได้ แผ่ออกไปได้เช่นกัน

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

...

คำที่น่าสนใจในตอนนี้มาจากย่อหน้าแรกในข่าวสุขภาพของ BBC ได้แก่ 'Happiness is infectious'

  • คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ = infectious = ติดต่อได้คล้ายโรคระบาด แพร่กระจาย
  • คำนาม = infection = การติดเชื้อ
  • คำกริยา = infect = ทำให้ติดเชื้อ
  • คำกริยา = to be infected = ติดโรค ป่วยจากการติดเชื้อ

...

คำว่า 'infectious'

  • ออกเสียงว่า 'อิ่น-เฟ้ค'-เฉียส'
  • ออกเสียงหนัก (accent) ตรงพยางค์ที่ 2

...

ขอแนะนำให้ฟังเสียงเจ้าของภาษาที่นี่ (www.thefreedictionary.com)

  • คำ 'infectious' > [ Click ]
  • คลิกธงชาติสหรัฐฯ > เสียงผู้หญิง ฟังอังกฤษแบบอเมริกัน (American English)
  • คลิกธงชาติสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) > เสียงผู้หญิง ฟังอังกฤษแบบอังกฤษ (British English)
  • คลิกเครื่องหมาย "ลำโพง" > เสียงผู้ชาย ฟังอังกฤษแบบอเมริกัน (American English)

...

คำที่น่าจำได้แก่

  • คำ 'infectious = ติดต่อได้คล้ายโรคระบาด แพร่กระจาย

...

หมายเหตุ

  • คำนามในภาษาอังกฤษที่มี 2 พยางค์ (2 เสียง) > ส่วนใหญ่นิยมย้ำน้ำหนักที่พยางค์แรก คำนามในภาษาอังกฤษที่มีมากกว่า 2 พยางค์ (3 เสียงขั้นไป) > ส่วนใหญ่นิยมย้ำน้ำหนักที่พยางค์สอง ส่วนคำกริยาที่นิยมย้ำน้ำหนักที่พยางค์หลัง

  • เครื่องหมาย [ ' ] แสดงการย้ำน้ำหนักเสียง (accent)

...

ขอแนะนำ

  • วิธีฝึก "เมตตาแบบหายใจออก"

...

ที่มา                                                     

...

  • Thank BBC > Happiness 'rubs off on others' > [ Click ] > December 5, 2008. // Source > BMJ.
  • Thank Reuters > Maggie Fox. Julie Steenhuysen & Jackie Frank ed. > Happiness is contagious: study > [ Click ] > December 5, 2008. // Source > BMJ.

...

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 6 ธันวาคม 2551.

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ" > ยินดีให้นำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า. 

...

หมายเลขบันทึก: 227833เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2008 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนคุณหมอวัลลภที่นับถือ

ท่านติช นัท ฮันท์ เคยเขียนไว้ใน ปาฏิหารแห่งการตื่นอยู่เสมอว่า

ถ้าในห้องเรียนมีผู้ที่ปฏิบัติธรรม มีสติ

ก็จะทำให้ทั้งห้องได้ผลบุญ ดีไปด้วย

ขอขอบพระคุณ

ห.ม.อ.สุ.ข.

มีความดี มีความสุขค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอคุณหมอสุขภาพแข็งแรงนะคะ

ทางศาสนาพุทธ เราเคยชินต่อการแผ่เมตตาอยู่แล้ว ไม่แปลกนะคะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์หมอสุข

  • ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณาให้คำแนะนำที่ทรงคุณค่าสำหรับพวกเรา

การอบรม เจริญเมตตาเป็นบุญประเภทคนทำได้ด้วย-คนรอบข้างได้ด้วย

  • คือ ทำให้คนรอบข้างเปลี่ยนไปในทางที่ดี และมีเมตตาตามไปด้วย

คนที่อบรม เจริญสติถูกวิธีก็มีส่วนทำให้คนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่ปฏิบัติด้วยกันมีโอกาสเกิดบุญกุศลตามไปด้วย (โดยอุปปนิสสยปัจจัย)

  • เรื่องนี้สอดคล้องกับมงคลธรรม (มงคลสูตร) ตั้งแต่ข้อ 1-2 เลยคือ ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต (หรือเพื่อนที่ดี ญาติสนิทมิตรสหายที่ดี)

ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ...

ขอขอบคุณ... คุณสายธาร

  • ขอให้พวกเราทุกท่านทุกคนได้รับความปรารถนาดีจากคุณสายธาร และขอให้คุณสายธารได้รับความปรารถนาดีนี้เช่นกัน

ขอขอบคุณ... อาจารย์ sasinand

  • เรื่องการอบรมเจริญเมตตา... ส่วนใหญ่คนที่เคารพนับถือพระพุทธศาสนาจะได้ยินได้ฟังมาก่อนแล้ว

ทว่า...

  • จะหาชาวพุทธที่อบรมเจริญเมตตาจริงๆ นั้น หาได้ยากมากๆ

ส่วนใหญ่จะได้ยินอย่างเดียวบ้าง ท่องบ้าง ไม่ได้เกิดเมตตาจริงจังอะไร

  • การฝึกฝน อบรมเจริญเมตตาจริงๆ จะทำให้โลกเราเย็นลง
  • พูดอย่างเดียวไม่พอ... ต้องขอลงมือทำด้วยจึงจะดี

 

สวัสดีครับ คุณหมอ

มีหลายๆ ครั้ง ผมเคยบอกคน ที่กำลังมีความทุกข์ ว่า ต้องรู้ตัวเองก่อน...ที่เราทุกข์อยู่นั้น มีความทุกข์เพราะเรื่องอะไร เช่น ถ้าทุกข์เพราะเจ็บปวด ก็ต้องหยุดความเจ็บปวดก่อน แล้วค่อยดูว่าสาเหตุที่ทำให้เจ็บปวดคืออะไร...เพื่อรักษาให้หายขาด...

และผมเคยเห็น คนป่วยหลายๆ คน ต้องทนทุกข์ทรมานจากการรักษาพยาบาล จนต้องจากไปท่ามกลางความทุกข์ ที่ตัวเองและใครๆ ก็ช่วยไม่ได้ แม้จะมีเงินมากมาย...

ผมจึงเห็นว่า การทำตัวเองพร้อมที่จะอยู่กับความสุข... รับความสุข... และให้ความสุข... เป็นสิ่งที่มีความหมาย...

ขอขอบคุณคุณหมออีกครั้งหนึ่งครับ...

ขอขอบคุณ... ข้อคิดเห็น + ประสบการณ์ตรงจากคุณ seen ครับ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท