จิตตปัญญาเวชศึกษา 83: S-L Part 6: Ten Characteristics of Servant-Leader (2)


Ten Characteristics of Servant-Leader (2)

Conceptualization:

Concept: picture of ideas หรือการตกผลึกของจินตคติ visualize the dream ภาพลักษณ์แห่งจินตนาการ ฯลฯ ยังไม่ทราบว่าจะใช้คำว่าอะไร แต่ที่แน่ๆก็คือ คุณลักษณะนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดปัจจัยหนึ่งของ servant-leader

ที่จริงในหลักสูตร leadership ทั่วๆไปที่มีการแยกจำแนกระหว่าง leader และ manager ก็จะไม่รู้สึกแปลกต่อ character นี้สักเท่าไร ในขณะที่ manager หรือผู้จัดการจะมองโครงการระยะสั้น เป็น jobๆ เน้นที่ project, get things done ผู้นำจะมองสายใยองค์รวมผลกระทบ และความหมายของโครงการนั้นๆในลักษณะของ concept มองไปให้เห็นความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงและ values สุดท้ายว่าเป็นเช่นไร

ตัวอย่างง่ายๆอาทิ ถ้ารัฐ หรือองค์กร desperate จะต้องหาเงินมาให้ได้สัก 10 ล้านบาท ก็ระดมสมองกัน วิธีแก้แบบ short-cut ก็มีมากมาย ไปตั้งแต่ปล้นธนาคาร โกงหุ้น จนถึงซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ หรือจะไปทางเพิ่ม demand จะได้ขาย supply หรือ พยายามจะให้มี artificial demand ขึ้นมา ฯลฯ เหล่านี้เป็นโครงการหรือการคิดประเภทของ manager ที่ได้โจทย์มาสั้นๆคือหาเงิน 10 ล้านบาท แต่ผู้นำที่มองเห็น concept จะถามตนเองว่า "ถ้าทำอย่างนี้ วิธีนี้ สุดท้ายพวกเราจะกลายเป็นคนยังไง สุดท้ายองค์กรจะเป็นองค์กรประเภทไหน อะไรจะส่งผลถึง good governance อะไรจะส่งผลต่อ integrity ขององค์กรบ้าง?"

บรรดา manager ที่ต้องการจะผันตัวมาเป็น leader จะต้องหัดคิดถึงผลกระทบที่เป็น concept นี้ให้เป็น มิฉะนั้น ก็จะเป็นเพียงนักเปิดตำรา เปิดกฏ เปิดระเบียบมานั่งอ่าน นั่งศึกษาว่าเราอะไร ได้ไม่ได้ หรือจะเลี่ยงกฏตรงไหน จะปกปิดตรงไหน จะอ้อมกฏหมายอย่างไร จึงจะได้ output ตาม project ออกมาแค่นั้น ที่คิดอย่างนี้แสดงว่าขาด system thinking

servant-leader จะต้องแสวงหาสมดุลระหว่าง conceptual thinking และ day-to-day approach ให้ได้ การคิดเป็น concept แต่สุดท้ายเวลาทำก็จะเป็นโครงการ เป็นกิจกรรม แต่หากได้มีการใคร่ครวญ ไตร่ตรองถึง holistic impact แล้ว จะได้ผลที่แตกต่างจากการไม่คิดถึงอย่างมาก

Foresight:

ความสามารถในการดึงข้อสรุปจากเหตุการในอดีตและปัจจุบันมาใช้ในการพยากรณ์อนาคตที่ "น่าจะเกิด" ใกล้เคียงมากที่สุด

สิ่งที่เราทำได้คือ "ใกล้เคียง" เท่านั้น แต่ที่ผมคิดว่าน่าสนใจใน concept นี้ก็คือ การเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเพื่อที่จะ contemplate ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น โดยให้ความสำคัญในเชิง holistic การคิดองค์รวม การคิดเชิงระบบนี้ ผมว่าใกล้เคียงกับหลัก "อิทัปปัจจยตา" และ "ปฏิจจสมุปบาท" อย่างน่าคิด

ใน servant leadership นั้น ไม่เพียงให้ความสำคัญของอดีต ปัจจุบันและเหตุปัจจัยแล้ว ยังให้ความสำคัญแก่ Intuition หรือปัญญาเชิงญานทัศนะอีกด้วย อะไรที่ปิ๊งแว้บขึ้นมาจากการนิ่งใคร่ครวญ ไตร่ตรอง และคิดเป็นระบบ เป็นองค์รวม สิ่งนี้จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญช่วย servant leader พัฒนา intuition มารองรับปัญหาใหม่ๆในอนาคตที่นอกเหนือจากที่จะ anticipate ไว้ก่อนได้

Stewardship:

"Holding something in trust for another"

Peter Block

Robert K. Greenleaf มีความเชื่ออย่างมากว่า เป็นหน้าที่ของคนทุกคน ตั้งแต่ผู้นำ ผู้ตาม staff ฯลฯ ทั้งหมดที่จะต้องช่วยกันทำให้องค์กรของตน "เป็นที่เชื่อถือ" ในด้านคุณธรรมความดีและประโยชน์สูงสุดต่อสังคม

คุณสมบัติในด้านนี้จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน ถ้าผู้นำเป็น servant-first เพราะองค์กรจะมี integrity มีหลักการมั่นคง ไม่ได้ทำเพื่อตนเอง แต่ทำเพื่อสังคมโดยรวม เมื่อนั้นผู้รับประโยชน์จะไว้เนื้อเชื่อใจ เกิด loyalty และ ความร่วมมือจากภาคีมิติต่างๆอย่างครบถ้วน

Commitment to the growth of people:

ใน servant leader นั้น จะเชื่อว่าคนเราทุกคนมีศักยภาพเหนือกว่าที่เราคาดไว้ หรือจินตนาการเอาไว้ และที่แน่ๆก็คือมากกว่าแค่แรงกาย เวลา ที่ได้สละให้ในการทำงานอยู่ทุกวันๆนี้ด้วย

คำถามที่ servant-leader จะถามตนเองอยู่ตลอดเวลาก็คือ "เราได้ให้ ได้ช่วย ในสิ่งที่คนในองค์กรเราจำเป็น และต้องการมากที่สุดอยู่หรือเปล่า" และที่จำเป็นและต้องการนี้ เป็นไปใน outcome หรือในด้านศักยภาพ ด้านพฤติกรรม และความสัมพันธ์ ที่จะช่วยส่งเสริมให้องค์กรของเราไปสู่วิสัยทัศน์อยู่หรือไม่? ซึ่งตรงกับหลักการของ outcome mapping ที่ resource ควรจะทุ่มไปในการเกิดการเปลี่ยนแปลงของ direct partner ในมิติของศักยภาพ พฤติกรรม และความสัมพันธ์เหล่านี้ การเปลี่ยนแปลงในมิติอืนๆ ที่ไม่ได้เสริม 3 มิติของ outcome mapping นี้ จะเป็นการลงทุนสำหรับ secondary outcomes ไป

หน้าที่ของ servant leader ไม่เพียงแต่เสริม physical sacrifice, emotional sacrifice, และ mental sacrifice growth ของคนในองค์กรเท่านั้น servant leader จะต้องพยายามพัฒนาหลักการ servant leadership ในองค์กรจนกระทั่งคนในองค์กรเอง มีความปราถนาอยากจะ serve อยากจะบริการ อยากจะรับใช้ และในเวลาเดียวกันก็สามารถรับ service รับการบริการ รับความช่วยเหลือตามวาระได้อย่างดี และสุดท้ายก็จะได้ในมิติสุดท้ายคือ spiritual sacrifice ที่เป็นการให้ และการรับในขั้นสูงสุด

Building Community:

ประการสุดท้ายของ 10 characteristics of servant leadership ก็คือ "Building Community" ย้อนกลับไปหาจุดตั้งต้นของเราว่า "เราเกิดมาเพื่ออะไร เรากำลังทำอะไรอยู่"

มนุษย์เราเกิดมาเพื่อทิ้งร่องรอยเอาไว้ แม้ว่าตัวเราจะไม่อยู่ถาวร แต่เรื่องราว ผลแห่งการกระทำของเราทุกคน จะยั่งยืนสืบต่อไป (หรือล่มจมสูญสลาย) แต่ที่แน่ๆก็คือ มีผลกระทบต่อเนื่องต่อๆไป concept ของ servant-leadership นั้น เป็น community-building-oriented concept มาตั้งแต่แรก เริ่มจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเราทำให้ตัวเรามีความหมายเพราะเราสามารถจะคิด จะอยาก บริการแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของชุมชน กลุ่ม เผ่า ประเทศ

ผลแห่งการรวมตัวเป็นกลุ่มของมนุษย์นั้น มากกว่าการชดเชยความอ่อนแอทางกายภาพเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์อื่น เรามีศักยภาพเพ่ิมขึ้นเป็นทวีคูณ ไม่อาจจะคำนวณหรือจินตนาการได้ใกล้เคียงเลยว่า เมื่อเราพยายามจะดูแลซึ่งกันและกันอย่างเต็มที่ ความสามารถและประโยชน์ที่แท้จริงของเรานั้นจะถูกดึงออกมาใช้ได้อย่างมากขนาดไหน

servant-leadership สามารถผลิดอกออกผลงอกเงยให้งดงาม และทำให้เราใช้ศักยภาพที่ว่านี้ มาจัดการกับปัญหาใหม่ๆ ใหญ่ๆขนาดไหนก็ตามในอนาคตได้อีกมาก

ขึ้นอยู่กับว่า เราสนใจ และอยากจะไปให้ถึงศักยภาพทีแท้นี้หรือไม่ เราอยากจะเป็น "ผู้รับใช้" เพื่อจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะ "นำ" สังคมไปด้วยกันหรือไม่?

คำสำคัญ (Tags): #characteristics#servant-leadership
หมายเลขบันทึก: 227832เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2008 23:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท