เรตติ้งดิ่งเหวเศรษฐกิจโคม่า! ปิดสนามบินเลวร้าย


ต่างชาติหั่นเครดิตทันที / งบแสนล้านจ่อปิ๋ว

เรตติ้งไทยดิ่งเหวต่างชาติหั่นเครดิต บริษัท R&I จากญี่ปุ่น ลดจากบวกเป็นระดับเสถียรภาพ อ้างเศรษฐกิจไทยชะลอตัวและการเมืองไร้เสถียรภาพ ผอ.สบน.ชี้หากสถานการณ์เลวร้ายและยืดเยื้อ อาจทำให้ทั้ง"เอสแอนด์พี-มูดี้ส์"ปรับลดเครดิตไทยก่อนเวลาขณะที่ภาครัฐ-นักวิชาการ-เอกชนประสานเสียงจีดีพีปีหน้าโตแค่2%'สุชาติ'แย้มข่าวร้ายงบ00,000 ล้านบาทอาจไม่ได้ เห็น ส่วนจีดีพีอุตสาหกรรมโตแค่ 2%กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ปักหลักชุมนุมยืดเยื้อปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 เพื่อกดดันให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ทำให้ตัวเลขจีดีพีปี 2552 ที่เคยตั้งเป้าจะเติบโต 4 % เริ่มมีความกังวลว่าปีหน้าอาจโตไม่ถึง 3% ขณะบริษัทจัดอันดับเครดิตต่างประเทศได้ทยอยปรับลดระดับเครดิตประเทศไทยลงแล้วส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) ประเมินเบื้องต้น (27 พฤศจิกายน) มีมูลค่า 1.46 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เฉพาะพื้นที่ทั้ง 2 สนามบิน เพื่อสลายการชุมนุมโดยไม่ให้เกิดความรุนแรง แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าไว้วางใจว่าจะซ้ำรอยวันที่ 7 ตุลาคม 2551 หรือไม่นั้นนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า บริษัท Rating & Investment Information, Inc. (R&I) ได้ปรับลดแนวโน้มระดับเครดิตของประเทศไทย ทั้งตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Issuer Rating) และตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Domestic Currency Issuer Rating) จากระดับที่เป็นบวก (Positive Outlook) เป็นระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) สาเหตุที่ R&I ปรับลดระดับเครดิตไทยครั้งนี้ เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้ชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัจจัยระหว่างประเทศ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกลางปีที่ผ่านมาและภาวะตลาดการเงินสับสน รวมทั้งความยุ่งเหยิงทางด้านสังคมที่เพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากความไม่พอใจกับสถานการณ์ทางการเมือง หากยังคงยืดเยื้อต่อไปและแนวโน้มการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกเกิดขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ จะส่งผลให้ประเทศไทยจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ในอนาคตทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ประกาศว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real GDP) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2551 อยู่ที่ 4% แม้ว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.6% จากไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่การลงทุนรวมขยายตัว 0.6 % ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่แล้ว แต่ด้านอุปสงค์ภายในประเทศซึ่งชะลอตัวลง 1.2% ในไตรมาสที่ 3 ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 2.5% และ 1.5% ตามลำดับ   โดย R&I คาดว่า ความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจในปี 2552 จะยังคงมีอยู่มากเช่นกัน และหากความไม่สงบและยังขาดเสถียรภาพทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการต่าง ๆ ในไทย ซึ่ง R&I เชื่อว่า จะส่งผลต่อปัจจัยความเสี่ยงในระยะปานกลางและระยะยาวอย่างแน่นอน "ผลกระทบจากการปรับระดับเครดิต ต่อกรณีของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไทยมีการออกซามูไรบอนด์อยู่ จะไม่เหมือนกรณีการประเมินเครดิตโดยเอสแอนด์พี (S&P) หรือว่ามูดี้ส์ ที่จะกระทบต่อประเทศไทยมากโดยหากสถานการณ์ยังเลวร้ายอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวก็อาจจะปรับลดครดิตของประเทศไทยลงได้ก่อนเวลาโดยที่ไม่ต้องเข้ามาทำการวิเคราะห์จากเดิมที่ปกติจะเข้ามาทำการวิเคราะห์สถานการณ์ประมาณต้นปี"ทั้งนี้ จากการที่รัฐบาลเคยตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันจีดีพีปี 2552 โต 4.0 % อาจเป็นไปได้ยาก ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการเมืองยืดเยื้อและไร้ทางออกที่อาจฉุดจีดีพีปีหน้าโตได้แค่ 2-3 % เท่านั้น ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่จีดีพีปีหน้าจะขยายตัวต่ำในระดับ 2% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมือง การปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอย่างมาก ขณะที่ปัญหาภายในประเทศนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีข้อยุติเมื่อใด แต่ก็ยังเชื่อว่าแม้จะเกิดสถานการณ์ถึงขั้นเลวร้ายที่สุดจีดีพีปีหน้าคงไม่ถึงขั้นติดลบ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกนั้น ในเบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานว่า หากสถานการณ์ทางด้านการเมืองยืดเยื้อไปอีกประมาณ 3 เดือน จะส่งผลทำให้รายได้ประเทศสูญเสียนับแสนล้านบาท  "ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศเสียไป และจะต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปี จึงจะสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าจีดีพีของไทยในปีหน้าจะขยายตัวได้ต่ำ หรืออยู่ที่ในระดับที่ประมาณ 2%"ขณะเดียวกัน รมว.คลังยังแสดงความเป็นห่วงต่อการจัดทำงบประมาณกลางปี 2552 เพิ่มเติม 100,000 ล้านบาทว่าอาจเป็นเพียงแค่แผ่นกระดาษเท่านั้น เพราะขณะนี้กรอบการจัดทำงบประมาณดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ และยังต้องมีขั้นตอนอีกมาก อีกทั้งต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภาด้วย "เป็นห่วงว่างบขาดดุล 100,000ล้านบาทที่รัฐบาลจะนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า อาจมีความล่าช้า และอาจเป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียว เพราะไม่แน่ใจในขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณดังกล่าว หลังจากที่เหตุการณ์บ้านเมืองมีความวุ่นวายเกิดขึ้น และยังมีคดียุบพรรครวมอยู่ด้วย สำหรับการออก พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินฉุกเฉินนั้น ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีผลอย่างจริงจัง"อนึ่ง ก่อนหน้านี้ คาดการณ์ว่าการจัดสรรงบประมาณ 100,000 ล้านบาท จะมีข้อสรุปในรายละเอียดได้ภายในเดือนธันวาคม 2551 และสามารถนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาสมัยสามัญได้ภายในเดือนมกราคม 2552 โดยเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณได้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เป็นต้นไป ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะช่วยเพิ่มจีดีพีได้ 1%ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ให้ความเห็นว่า จีดีพีปี 52 ที่ประมาณการไว้ที่ 3-4% หรือเฉลี่ย 3.5% นั้น เป็นสมมติฐานที่รวมการเพิ่มงบ 100,000 ล้านบาทเข้าไปแล้วแต่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อรายได้การท่องเที่ยวในไตรมาสนี้และเชื่อมโยงถึงไตรมาสแรกปีหน้า คาดว่าจะทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวปีละประมาณ 600,000-700,000 ล้านบาท  ซึ่งปัจจัยลบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าจะทำให้จีดีพีปีหน้าโตแค่ 2%ทางด้าน นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยปี 2552 จะอยู่ที่ระดับ 2-3% บนสมมติฐานว่าสถานการณ์การเมืองคลี่คลายลง หรืออาจต่ำกว่านี้ เพราะปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมีความซับซ้อนและรุนแรงกว่าที่คาดไว้ โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้น แม้ว่าความเชื่อมั่นจะลดลงจากบรรยากาศทางการเมือง แต่ภาคธุรกิจไม่ควรกังวลจนเกินไป และต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาการเมืองไม่เรียบร้อย หากยังปล่อยให้รุนแรงก็จะยิ่งลำบากขณะที่ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานเสวนาเรื่อง "ธุรกิจไทยจะอยู่หรือไปปี 2552" ว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีโอกาสขยายตัวต่ำกว่า 2% เพราะมีปัจจัยลบหลายด้านเข้ามากระทบ และคาดว่าอาจมีผลกระทบรุนแรงมากกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์ไว้ รวมทั้งปัญหาภายในประเทศจากปัญหาการเมืองที่มีความรุนแรงมากขึ้นก่อนหน้านี้ ดร.ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ความเห็นว่า ปัญหาความยืดเยื้อทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากน้อยเพียงใดนั้น เบื้องต้นคงไม่สามารถตอบได้ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกว่าจะเป็นอย่างไรซึ่งสถานการณ์ขณะนี้คงไม่มีใครกล้าฟันธงว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นได้เมื่อไรขณะที่ผลกระทบจากถานการณ์วิกฤติโลกจะส่งผลกระทบต่อภาคส่งออกในปี 2552 ให้ชะลอตัวมากน้อยเพียงใดนั้น หากเศรษฐกิจโลกปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ภาคส่งออกก็น่าจะสามารถขยายตัวได้ ส่วนภาคท่องเที่ยวภายในประเทศนั้นอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อนางสาวปองรัตน์ รัตนตวณานนท์ ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คาดการณ์จีดีพีปีหน้าจะเติบโตที่ 2.7% และปี 2553 จะเติบโตที่ 4% ซึ่งจีดีพีปีหน้าที่เติบโตลดลงเพราะภาคส่งออกที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยชะลอตัว ซึ่งเป็นผลจากที่ประเมินกันว่าจีดีพีโลกในปีหน้าจะเติบโตที่ 3.7% ในส่วนของภาคเอกชนและหน่วยงาน ได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปี 2552 ลงไปแล้ว  โดยที่สถานการณ์ปัจจุบันเข้าสู่การตั้งสมมติฐานกรณีเลวร้าย ที่จะมีผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ที่ 2-2.5% เท่านั้น เช่น บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดการณ์จีดีพีครึ่งแรกของปี 2552 ไว้ที่ระดับต่ำกว่า 2% โดยประมาณค่าเฉลี่ยของทั้งปีไว้ที่ 3.5% และกรณีเลวร้ายจีดีพีจะอยู่ที่ 2.5%  สภาพัฒน์ คาดการณ์ไว้ที่ 3.0-4.0% ธปท. คาดการณ์ 3.8-5.0%ทั้งนี้ จากตัวเลขแถลงเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเดือนตุลาคม 2551 สะท้อนสัญญาณร้ายต่อเศรษฐกิจไทยจากตัวเลขขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ของปีนี้ที่ขาดดุลแล้วถึง 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ธปท.ประมาณการว่าในปีนี้ 2551 ทั้งปีจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ 1,000-4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  นอกจากนี้ จากการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจในเดือนตุลาคม ยังสะท้อนตัวเลขความเชื่อมั่นต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผย ว่า การชุมนุมปิดสนามบิน ไม่ว่าระยะสั้นหรือระยะยาว ภาพลักษณ์ของประเทศไทยก็ติดลบไปแล้วและมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวทันที ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้น สินค้าบางกลุ่ม เช่น อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร ฯลฯ ที่ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศ เอกชนประเมินแล้วว่าเสียหายไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 ล้านบาท ในส่วนนี้หากการปิดสนามบินระยะสั้นก็ยังพอเจรจากับคู่ค้าเรื่องของออร์เดอร์ (การสั่งซื้อ-ขายสินค้าได้) แต่ถ้านานเกิน 1 สัปดาห์ ถือเป็นปัญหาใหญ่มาก เพราะออร์เดอร์จะลดหายไปทันที  เนื่องจากคู่ค้าขาดความเชื่อมั่นว่าไทยยังสามารถผลิตและมอบสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ "สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์ผู้ประกอบการพุ่งขึ้น เพราะต้องคำนึงการส่งมอบให้ทันเวลาและได้คุณภาพ ส่วนผลกระทบต่อจีดีพีภาคอุตสาหกรรมปี 2552 นั้น จากเดิม สศอ. ประเมินไว้ว่าน่าจะอยู่ที่ 5-6% แต่หากต้องเผชิญวิกฤติการเมืองเช่นนี้ ก็อาจเติบโตเพียง 2-3% ทั้งนี้หากการเมืองคลี่คลายเร็วยังพอแก้ปัญหาภาคส่งออกได้ แต่เรื่องการลงทุนและท่องเที่ยวคงกระทบยาว"

ฐานเศรษฐกิจ 4 ธันวาคม 2551


 

 

หมายเลขบันทึก: 227254เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท