หลักสูตรใหม่ ตอนที่ ๖


การจัดทำคำอธิบายรายวิชา

การจัดทำคำอธิบายรายวิชา

                คำอธิบายรายวิชาเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรสถานศึกษา เป็นการนำเสนอรายละเอียดที่ทำให้ทราบว่าผู้เรียน จะเรียนรู้อะไร จากรายวิชานั้น ๆในคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อรายวิชา ประเภทวิชา (พื้นฐาน หรือเพิ่มเติม) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้นที่สอน และคำอธิบายสาระสำคัญที่สอนในรายวิชานั้น

ขั้นตอนการจัดทำคำอธิบายรายวิชา

                ๑. ศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี/ตัวชี้วัดช่วงชั้นในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

                ๒. กำหนดตัวชี้วัดชั้นปีให้ชัดเจนว่าจะใช้ตัวชี้วัดชั้นปี  ชั้น ป.๑- ป.๖ ต้องใช้ทุกตัวชี้วัดในแต่ละชั้นปีของแต่ละรายวิชา  สำหรับชั้น ม.๑-ม.๓ เลือกตัวชี้วัดชั้นปีให้ชัดเจนว่าจะสอนในรายวิชาใด ภาคเรียนที่ ๑ หรือ ๒  เช่นเดียวกันสำหรับ ม.๔-ม.๖ ต้องเลือกตัวชี้วัดช่วงชั้นปีให้ชัดเจนว่าจะสอนในรายรายวิชาใดและภาคเรียนไหนใน ๖ ภาคเรียน

                ๓. วิเคราะห์คำสำคัญ (Key words) สาระสำคัญ (Key concept) ที่ปรากฏในแต่ละตัวชี้วัดในแต่ละรายวิชา ที่บ่งบอกถึง สาระ/เนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตลอดจนพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถ ศักยภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน

                ๔. เขียนรายละเอียดคำอธิบายรายวิชาเป็นความเรียง เพื่อแสดงถึงจุดเน้นเนื้อหาสาระ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของรายวิชานั้น ซึ่งคำขึ้นต้นจะมีความแตกต่างไปตามธรรมชาติของแต่ละรายวิชา บางรายวิชาจะเน้นเรื่องทักษะ กระบวนการ อาจจะใช้คำว่า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ ขึ้นต้นข้อความ บางรายวิชา เน้นองค์ความรู้ที่ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ ก็อาจจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ศึกษา วิเคราะห์  ศึกษา ค้นคว้า

                ๕. จัดทำคำอธิบายรายวิชาให้มีองค์ประกอบที่สำคัญให้สมบูรณ์ คือ รหัสวิชา ชื่อรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้น เวลาเรียน/หน่วยกิต พร้อมด้วยรายละเอียดคำอธิบายรายวิชาที่เป็นความเรียง

                โดยสรุปทุกชั้นปีสถานศึกษาจะต้องจัดทำรายวิชา ซึ่งประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานที่เป็นไปตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลาง และรายวิชาเพิ่มเติมที่เป็นไปตามจุดเน้นตามความต้องการของสถานศึกษาและของผู้เรียน เช่น ชั้น ป.๑-ป.๖ จะต้องมีรายวิชาพื้นฐานชั้นปีละอย่างน้อย ๘ รายวิชา รวม  ๔๘ รายวิชาพื้นฐาน เป็นต้น

 

 



ความเห็น (7)
  • ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงจากหนักสูตรเดิมไปมากน้อยเพียงใดคะ
  • คิดว่าร.ร.นำร่องคงจะเริ่มใช้ก่อนในปีการศึกษาหน้านี้
  • สถานการณ์บ้านเมือง.ต่างก็ยังไม่นิ่งเรายังคงทำการสอนกันแบบหว้าเหว่ปนตื่นเต้น....
  • ขออนุญาตลงความคิดเห็นค่ะ

เรียน คุณพัชราภรณ์

มีทั้งเปลี่ยน

เช่น เปลี่ยนชื่อ เป็นหลักสูตรแกนกลาง เปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ ม.ต้นจากรายปี เป็นรายภาค เป็นหน่วยกิต เป็นต้น

มีทั้งปรับ

เช่น ปรับมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เป็นตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้น ชัดเจนสำหรับครูมากในแต่ละชั้นปี

มีทั้งเพิ่ม

เช่น เพิ่ม วิสัยทัศน์ สมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพิ่มบทบาทของเขตพื้นที่ในการประเมิน ในการทำหลักสูตรสาระท้องถิ่น และเพิมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น

มีทั้งลด

เช่น ลดมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหมดจาก ๗๖ เหลือ ๖๗ มีความชัดเจนขึ้น

  

       ในวาระดิถีปีใหม่นี้

คุณพระศรีโปรดคุ้มครองท่านหัวหน้าฯ

ประสบสุขสุดชื่นทุกเวลา

กิจการงานก้าวหน้าพาเชิดชู

        เป็นแสงเที่ยนส่องสว่างปัญญาให้

นำครูไทยในพาราให้เลิศหรู

ขอผลบุญที่ได้สร้างให้กับครู

สิ่งดีดีพรั่งพรูสู่ท่านเทอญ

           ด้วยความเคารพรักและปรารถนาดีอย่างยิ่ง

                ผอ.มานพ    สุขเกษม

          โรงเรียนวัดเกตุ (ประชาราษฎร์บำรุง)

 

กราบขอบพระคุณ ผอ.มานพ

ขอให้พรที่ท่านให้ ได้ตอบสนองท่านและครอบครัว เป็นร้อยเท่า พันเท่า และขอให้ท่าน ผอ.มานพ สุขเกษม ได้เลื่อนวิทยฐานะ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ นะครับ

กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

ท่านหัวหน้า ขออำนาจแห่ง

คุณงามความดีของท่านหัวหน้า

ที่จุดประกายให้กับเพื่อนครู

จงเป็นผู้ที่มีวาจาสิทธิ์นะครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับเนื้อหา ต้องการเอาไปทำรายงานอยู่พอดีค่ะ

พร่างพราวแสงแห่งปัญญา
พร่างพรูมาหาคุณครู
ขอบคุณที่ให้ความรู้
เปิดประตูสู่โลกทัศน์ไกล  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท