หลักสูตรใหม่ ตอนที่ ๕


การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง ๒๕๕๑

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  

องค์ประกอบที่สำคัญที่หลักสูตรสถานศึกษา ต้องจัดทำ

. การกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตร :

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ กำหนดให้สถานศึกษา จัดทำวิสัยทัศน์ของหลักสูตรในระดับสถานศึกษาเอง แต่ขาดการกำหนดวิสัยทัศน์ในระดับชาติ ทำให้เป้าหมายทิศทางของการจัดการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพ ในการปรับปรุงหลักสูตรในครั้งนี้จึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์หลักสูตรในระดับชาติขึ้น เพื่อให้เป็นเป้าหมายที่ชัดเจนตรงกันในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ที่สถานศึกษาจะต้องนำไปปรับให้เหมาะสม คือ

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์     ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง    เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน:

มีการกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนไว้ ๕ ด้าน เพื่อเป็นจุดเน้นในการพัฒนาผู้เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ๑) ความสามารถในการสื่อสาร ๒) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ๓) ทักษะการแก้ปัญหา ๔) ทักษะชีวิต ๕) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องปลูกฝังและพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะเหล่านี้           ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

๓. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

สถานศึกษาทุกแห่งให้ใช้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑  กำหนดไว้ ที่ มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก  ๘ ด้าน  คือ ๑)  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์๒)  ซื่อสัตย์สุจริต ๓)  มีวินัย ๔) ใฝ่เรียนรู้ ๕) อยู่อย่างพอเพียง ๖)  มุ่งมั่นในการทำงาน ๗)  รักความเป็นไทย๘)  มีจิตสาธารณะ

นอกจากนี้ สถานศึกษาสามารถกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพิ่มเติมให้สอดคล้องตามบริบทและจุดเน้นของตนเอง

 

. กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

เป็นการกำหนดรายวิชาที่จัดสอนในแต่ละปี/ภาคเรียน ซึ่งประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พร้อมทั้งจำนวนเวลาเรียน หรือหน่วยกิตของรายวิชาเหล่านั้น

๕. จัดทำคำอธิบายรายวิชา

                เป็นการนำเสนอรายละเอียดที่ทำให้ทราบว่าผู้เรียน จะเรียนรู้อะไร จากรายวิชานั้น ๆในคำอธิบายรายวิชา ประกอบด้วย รหัสวิชา ชื่อรายวิชา ประเภทวิชา (พื้นฐาน หรือเพิ่มเติม) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ระดับชั้นที่สอน และคำอธิบายสาระสำคัญที่สอนในรายวิชานั้น

. เกณฑ์การวัดประเมินผลและจบหลักสูตร :

เป็นส่วนที่สถานศึกษากำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะจบการศึกษาในแต่ละระดับ โดยเกณฑ์ดังกล่าวต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับเกณฑ์การจบในหลักสูตรแกนกลาง

ระดับประถมศึกษา (..) ตัดสินผลการเรียนเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตัดสินผลการเรียนเป็นรายภาค ซึ่งสอดคล้องกับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นระบบหน่วยกิต

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

                ๑. แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน เป็นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการสถานศึกษา ควรประกอบด้วย ผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เช่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนชุมชน เป็นต้น

                ๒. วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธสักราช ๒๕๕๑

หลักสูตรระดับท้องถิ่น(หน่วยงานต้นสังกัด/เขตพื้นที่การศึกษา) สภาพปัญหา จุดเน้น ความต้องการของผู้เรียนและของสถานศึกษาแต่ละแห่ง

                ๓. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยพิจารณาตามองค์ประกอบที่สำคัญและจัดทำระเบียบการวัดประเมินผลเพื่อใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษา

                ๔. เสนอร่างหลักสูตรสถานศึกษาและระเบียบการวัดประเมินผลให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ อนุมัติใช้หลักสูตร

                ๕. ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยครูผู้สอนนำโครงสร้างแต่ละรายวิชา ไปออกแบบหน่วยการเรียนรู้เพื่อไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

                ๖. ติดตามผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการติดตามเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง และนำผลการติดตามมาพิจารณาปรับปรุงให้หลักสูตรสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

 

 



ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ ได้ความรู้มากค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น

      ขอบคุณ  คุณครูของครูมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท