dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

เด็กปฐมวัย : เรียนรู้อย่างอิสระ


การเรียนรู้อย่างอิสระ การพัฒนาเด็กปฐมวัยในแนวทางที่ถูกต้อง

เรียนรู้อย่างอิสระในเด็กปฐมวัย

                                                                               

                                                                                

 

               ความเป็นอิสระในการเรียนเป็นอย่างไร   ผู้เขียนขอนำคำอธิบายของกฤษณมูรติ        นักปราชญ์ชาวอินเดียที่ได้รับการยกย่องจากคนทั่วโลก  ท่านได้อธิบายถึงความอิสระของโรงเรียน        ที่ท่านจัดตั้ง  คือ  เป็นสถานที่ที่ใช้บรรยากาศปลอดโปร่งเป็นอิสระที่ผู้ให้การศึกษาและผู้รับการศึกษาเรียนรู้ไปด้วยกัน  เมื่อมีความรู้สึกปลอดโปร่งเป็นอิสระเท่านั้น   จนคนเราจึงมีศักยภาพ  ที่จะเรียนรู้  อิสรภาพไม่ได้หมายถึงว่าทำอะไรได้ตามอำเภอใจ  เพราะแท้จริงแล้วคนเราไม่เคยทำอะไรที่ชอบได้อย่างเต็มที่   ความพยายามทำอะไรตามใจชอบนั้นถือเป็นอิสรภาพส่วนบุคคล       ซึ่งเป็นที่มาของนานาปัญหา   ความทุกข์   และความสับสนวุ่นวายในสังคมแต่อิสรภาพในความหมายของกฤษณมูรตินั้นคือ  การที่จิตไม่หมกมุ่นวุ่นวายอยู่กับสิ่งใด  เรื่องใด  หรือกิจธุระใด       ทำให้จิตปลอดโปร่ง   มีเวลาไม่จำกัดเพื่อเฝ้าสังเกตสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นภายในและรายรอบตัว   เป็นอิสระที่จะฟังและดูอย่างกระจ่างแจ้ง   หากกลับมามองการเรียนรู้อย่างอิสระของเด็กปฐมวัย  ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กทำอะไรอย่างอิสระ  ตามใจตัวเอง   แต่ก็ไม่ใช่ให้เด็กอยู่ในกรอบที่ไม่สามารถพิจารณาการคิดอะไรใด    ทั้งสิ้น   ฉะนั้นเส้นของความพอดีเป็นสิ่งที่ยาก  ครูที่ดีจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและคอยอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างเป็นมนุษย์ที่เต็ม

              ครูในความหมายของกฤษณมูรติคืองานอันศักดิ์สิทธิ์และประเสริฐสุด  ครูปฐมวัยถือเป็น   ผู้ที่วางรากฐานในการเรียนรู้ให้เด็ก  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่เด็ก  ครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก  เข้าถึงพัฒนาการตามวัยของเด็ก   ต้องรู้สาระหลักสูตร    กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก  กลยุทธการสอน   วิธีประเมินภาพการเรียนรู้ของเด็กและแนวทางพัฒนาในอนาคต                  รวมถึงต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับครอบครัว   ชุมชน  และวัฒนธรรมของเด็ก  ความคาดหวังของ      ครอบครัวและชุมชน   ผสมผสานกับความรู้ทางวิชาชีพครูเพื่อจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก   เมื่อครูปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวแล้ว   ลักษณะของกิจกรรมต้องสร้างเสริมปัญญา  และความรู้สึกที่ดีในการเรียนให้กับเด็กปฐมวัย  คือ  จะต้องเป็นกิจกรรมที่

            1.  เรียนรู้แบบปฏิบัติการคิด  โดยลักษณะของกิจกรรมต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ   หยิบ   จับ   สัมผัส   และคิด

            2.  กระตุ้นให้แสดงออก   โดยการบอกได้ว่าพบอะไรจากการเรียน   สื่อสารให้ผู้อื่นรู้ได้

            3.  เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือ   หมายถึงการได้เรียนรู้จากกลุ่มโดยกลุ่ม  และช่วยเหลือจากกลุ่ม

            4.  เด็กเรียนรู้ด้วยการค้นพบจากกิจกรรมที่เด็กปฏิบัติ

            5.  เรียนแล้วมีความก้าวหน้าตามจุดประสงค์

            ลักษณะของกิจกรรมที่กล่าว   ครูเป็นผู้อำนวยการให้เกิดขึ้นและครูจะต้องทำตัวเป็นกัลยาณมิตรกับเด็ก   เห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าในตัวของเด็กแต่ละคน   ไม่มีความรู้สึกว่าครูเหนือกว่าเด็ก  ที่สำคัญให้เด็กปฐมวัยเกิดความรู้สึกอิสระในการเรียนรู้สิ่งที่ทำให้เด็กมีความรู้สึก         อิสระในการเรียนรู้  คือ  การขจัดความกลัวต่าง    ให้ออกจากตัวเด็ก   ไม่ว่าจะเป็นการกลัวครูตีหรือดุ  กลัวแพ้เพื่อน   กลับตอบผิด   ทำงานไม่ถูกต้อง  ฯลฯ  ดังนั้นกิจกรรมที่ครูจัดในแต่ละวัน             ครูต้องระลึกเสมอว่า    การให้อิสระในการเรียนรู้แก่เด็กเป็นอย่างไรและมีความสำคัญอย่างไร   ดังเช่นกิจกรรมสร้างสรรค์    เด็กบางคนวาดภาพระบายสีท้องฟ้าด้วยสีน้ำตาลหรือดำครูก็จะ         ดุเด็กว่าท้องฟ้าทำไมไม่ใช้สีฟ้า   ให้กลับไประบายใหม่   หากครูถามเด็กก่อนว่าทำไมระบายสีอย่างนั้นล่ะ   แทนที่จะบอกว่าท้องฟ้าต้องสีฟ้าเท่านั้น   เด็กอาจตอบว่าเขากำลังวาดท้องฟ้าในขณะเกิดพายุก็ได้   ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิด   เมื่อเขาระบายสีท้องฟ้าด้วยสีน้ำตาลหรือดำ  หรือในช่วงกิจกรรมวงกลม   เป็นช่วงที่ครูให้เด็กได้ร่วมแสดงความคิดเห็น  ร่วมอภิปราย   ครูไม่ใช่มีหน้าที่ตัดสินว่าคำตอบเด็กคนใดผิดหรือถูก   ครูต้องคอยกระตุ้นให้กำลังใจเด็กในการตอบคำถาม   และให้เด็กเรียนรู้วิธีคิดคำถามหนึ่งไม่ใช่มีสองคำตอบคือ   ผิดกับถูก   เท่านั้น   คำตอบมีหลากหลายแล้วแต่เหตุผลของเด็กแต่ละคน  ซึ่งนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้   ที่ยกตัวอย่างมาเป็นเพียงส่วนน้อยนิด   การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยมีมากมาย   การที่ครูปฐมวัยรู้ความหมายของการเรียนรู้อย่างอิสระที่แท้จริงจะทำให้เด็กได้รับการพัฒนาสิ่งที่เป็นรากฐานของชีวิต   ซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้

            1.  พัฒนากระบวนการคิด   เรียนรู้การคิด  ไม่ใช่สนใจเพียงที่จะคิดเท่านั้น

            2.  มีความสนใจใฝ่รู้ที่จะแสวงหาสิ่งต่าง 

            3.  รู้จักการแสดงออกในลักษณะต่าง    ที่เหมาะสม

            4.  มีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และเอื้ออาทรกัน

            ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานในการที่จะทำให้ชีวิตมีความก้าวหน้าในอนาคตเพราะเขาจะต้อง ก้าวไปจากห้องแคบ    ไปสู่โลกกว้างข้างนอกต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 227061เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2008 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ มีประโยชน์มากค่ะ จะเข้ามาอ่านอีกครั้งค่ะ

ความเป็นอิสระในการเรียนสำหรับเด็กมในวัยนี้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะเด็กในวัยนี้ จำเป็นที่จะต้องมีความเป็นอิสระเพราะ หากเราปิดกั้นความคิดของเด็ก และไม่มีการเปิดกว้างจะเป็นการสร้างความกดดันให้เด็กส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ บทความนี้มีประโยชน์มากๆๆค่ะ

ดิฉันเห็นด้วยกับการที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้อย่างอิสระ เพราะเป็นการส่งเสริมให้                 เด็กคิดสร้างสรรค์  และในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเิกิดการเรียนรู้อย่างอิสระ ครูควรให้คำแนะนำกับเด็กด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท