ดาวเคียงเดือน


ชื่อดาวเคียงเดือน อีกชื่อหนึ่งในภาวะประเทศไทยตอนนี้พระจันทร์ยิ้ม สื่อรัก และมิตรภาพ

น.ส.สาลิน วีรบุตร์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.ศูนย์ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ธ.ค. ช่วงเวลาประมาณ 17.50-19.30 น. หรือช่วงที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สวยงามบนท้องฟ้า เรียกว่า ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงดาว 3 ดวง ประกอบด้วย ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ หรือดาวประจำเมือง และดาวพฤหัสฯ สว่างมากที่สุดและจะโคจรเข้ามาใกล้กันและใกล้โลกมากที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าว จะมองเห็นได้ไม่นานเพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดเป็นคู่ คือ เกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ในทุก 2 ปีครึ่ง โดยในปี 2551 เคยเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนมาแล้ว 1 ครั้งในวันที่ 1 ก.พ. 2551 และจะเกิดอีกครั้งในวันที่ 1 ธ.ค. 2551 จากนั้นจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สว่างของวันที่ 11 พ.ค. 2554 และช่วงค่ำวันที่ 14 มี.ค. 2555
จาก นสพ.ไทยรัฐออนไลน์[1 ธ.ค. 51 - 04:37] <iframe


หมายเลขบันทึก: 226678เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2008 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวยจังเลย  จันทร์เจ้าขา มายิ้มแฉ่ง

ภาพสวยจังค่ะครูปู  ขอเก็บไว้นะคะ  ขอบคุณมากค่ะ

สวยมากค่ะ

ขอยิ้มด้วยคนนะคะ

นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมว่า ส่งท้ายสิ้นปี 2551 วันที่ 29 ธันวาคม ระหว่างเวลา 17.50-20.00 น. จะเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน โดยสามารถมองเห็นทางฟากฟ้าด้านทิศตะวันตก ด้วยตาเปล่า โดยดวงจันทร์เป็นรูปจันทร์เสี้ยวขึ้น 3 ค่ำเห็นอยู่ด้านซ้าย ด้านขวาเคียงกับดาวพฤหัสบดี และมีดาวพุธเคียงด้านล่างดวงจันทร์ โดยระยะห่างที่เห็นนี้ ดวงจันทร์กับดาวพฤหัสบดีเคียงห่างกันระยะ 1 องศา 60 ลิปดา และดาวพุธเคียงดวงจันทร์มาทางด้านล่างเพียง 1 องศา จึงเป็นอีกปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าติดตามชมและสวยงามบนฟากฟ้าส่งท้ายปีนี้

พระจันทร์สวยงามเช่นนี้ เห็นข่าวว่า ปีหน้าจะมีอีกนะครับ

ดีใจจัง

ระบุ"ดาวเคียงเดือน" 29 ธ.ค.นี้ไม่เหมือน "พระจันทร์ยิ้ม"

นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ค่ำวันที่ 29 ธันวาคมนี้ จะมีปรากฏการณ์ "ดาวเคียงเดือน" (Conjunction) ใกล้ขอบฟ้าทางทิศตะวันตก โดยดวงจันทร์เสี้ยวขึ้น 3 ค่ำ และดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเคียงคู่กัน ในระยะ 32 ลิปดา ลักษณะที่มองเห็นคือดวงจันทร์อยู่ด้านซ้ายมือ ส่วนดาวพฤหัสอยู่ด้านขวา และจะมีดาวพุธอยู่ด้านล่างของดวงจันทร์ ปรากฏการณ์นี้ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันตก ตั้งแต่เวลา 17.58 น. เมื่อดวงอาทิตย์เริ่มตกดิน จนถึงเวลา 19.25 น.


"เนื่องจากปรากฏการณ์เกิดที่ใกล้ขอบฟ้า ผู้ที่สังเกตอยู่ในเมืองควรหาตำแหน่งที่ไม่มีตึกบังหรือขึ้นไปดูที่สูง สำหรับในต่างจังหวัด ควรหาที่โล่งที่ไม่มีเมฆที่ขอบฟ้ารบกวน และมีเวลาให้สังเกตเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น" นายวรวิทย์ กล่าว


นายวรวิทย์ กล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์นี้ คือ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ซึ่งไม่ใช่ปรากฏการณ์ฟ้ายิ้ม เหมือนที่เกิดขึ้นวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา


วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 13:56:49 น.  มติชนออนไลน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท