KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 621. KM ด้านการศึกษา ผ่าน KM โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง


วันที่ ๑๔ พ.ย. ๕๑ ผมฟังคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ นำเสนอความก้าวหน้าของ โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา    ที่ใช้ KM เป็นเครื่องมือ   แล้ว AAR กับตัวเองว่า    KM โรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงนี้ มองอีกมุมหนึ่ง เป็น KM ด้านการศึกษา (EdKM) นั่นเอง  

 

ข้อค้นพบที่สำคัญของทีมงานนี้ก็คือ ครูจำนวนมากได้จัดการเรียนรู้โดยโครงงาน หรือปฏิบัติการของนักเรียน   เกิดผลดีทั้งต่อทักษะเศรษฐกิจพอเพียง และต่อการเรียนรู้อื่นๆ   แต่ครูขาดทักษะในการเรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนของตนเอง    ขาดทักษะในการเรียนรู้จากเพื่อนครู   ยังไม่สามารถทำให้กิจกรรมดีๆ เกิดผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน   ส่งผลต่อการเรียนรู้ของตนเอง  

กล่าวใหม่ว่า ครูส่วนใหญ่ไม่มีทักษะในการเรียนรู้จากงานประจำของตนเอง    แต่เมื่อทีมคุณทรงพลไปทำกระบวนการ ลปรร. และตลาดนัดความรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง   ก็เกิดการ empower ให้ครูมีทักษะในการเรียนรู้วิธีจัด Learning Design เพื่อลูกศิษย์   ให้เกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมที่นักเรียนร่วมกันลงมือทำ   

 

ผมได้เห็นว่า เมื่อมี คุณอำนวย ที่เก่งอย่างคุณทรงพล เข้าไปทำกระบวนการกับครู    ครูเกิดทักษะในการเชื่อมโยงชีวิตกับวิชาการ   เกิดทักษะในการเป็นครู ในการออกแบบการ รร.    ทักษะในการเข้าใจเด็กเป็นคนๆ    ทำให้เกิดความคิดว่า    บทบาทที่คุณทรงพลทำ น่าจะเป็นบทบาทของ ศน. (ศึกษานิเทศก์)    คือทำหน้าที่ learning facilitator ให้แก่ครู    ไม่ใช่ทำหน้าที่นิเทศน์ หรือแนะนำ/สอน ครู อย่างที่ทำกันอยู่ 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๐ พ.ย. ๕๑

หมายเลขบันทึก: 225753เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2008 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-เรียนท่านอาจารย์

-หากช่วยชี้แนะให้แก่ครูในประเด็นดังกล่าวจักเป็นพระคุณยิ่งค่ะ

-ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท