คนไข้ฉันทำไมน้ำเกิน (น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด) (pleural effusion)


ไอซียูเปี่ยมรักของฉันในยามนี้ มีคนไข้ 4-5 คน

ใน 4-5 คนนั้น 3 คนต้องเจาะปอดคาสายเพื่อระบายน้ำออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด

ฉันบ่นเบาๆกับน้องๆว่า ทำไม ตึกเราจึงเกิดปรากฏการณ์น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดเยอะนัก สาเหตุอันใด น้ำเกิน หรือติดเชื้อ

น้องตอบว่า "แต่เราก็ใช้เครื่องให้สารน้ำทุกรายนะ" คุณหมอนั่งอยู่ใกล้ๆบอกว่า "เพราะน้ำเกิน"

ฉันพูดต่อกับน้องว่า เราต้องปรับเรื่องคลาดเคลื่อนของการให้น้ำเกลือให้ได้

"ไม่หรอก" คุณหมอคนเดิมพูดขึ้นมา "ต้องปรับเรื่องการสั่ง fluid  ต้องดูสมดุลย์ของ intake และ output

ฉันไม่ได้ตอบหรือซักถามคุณหมอว่าอย่างไร ฉันคิดในใจว่า แล้วการติดเชื้อละ มีผลรึป่าว

คนไข้ที่เข้ามาอยู่ในไอซียู ส่วนหนึ่งจะมีปัญหาของเรื่องปอดบวมร่วมด้วยทุกรายก่อนมา ยิ่งมานอนนานวันเข้าการอักเสบติดเชื้อก็เพิ่มมากขึ้น

คนไข้ของฉันบางรายต้องถูกเจาะปอดวางสายระบายน้ำทั้งสองข้าง ดูทรมานไม่น้อย จะพลิกตะแคงตัวข้างใดก็ไม่ได้ เพราะติดสายทั้งสองข้าง ทำได้แต่ขยับตัวไปมาบ้าง แม้กระนั้น ก็ยังทำให้สายเลื่อนหลุดจนได้

เพื่อสาเหตุของการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด คุณหมอก็มักจะส่งน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ ว่ามาจากสาเหตุใดกันแน่

ในส่วนของพยาบาลที่เราจะช่วยได้ คงหนีไม่พ้นในเรื่องของการลดการติดเชื้อ ที่สำคัญที่สุด ก็คือการดูแลความสะอาดของปากและฟันของคนไข้ การควบคุมตัวเองในเรื่องของการล้างมือก่อนให้การพยาบาลและดูแลผู้ป่วย

ในเรื่องการให้สารน้ำก็เป็นเรื่องสำคัญจะต้องดูแลให้ได้รับอย่างเหมาะสมเพียงพอตามแผนการรักษาหรือว่าปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและน้ำที่ออกจากร่างกายในแต่ละวัน

การดูดเสมหะก็ต้องสังเกตว่า มีเลือดปนออกมาหรือเปล่า เพราะหากมีเลือดหรือเสมหะเป็นสีชมพูนั่นอาจจะเป็นสัญญานบอกให้เราทราบว่า เกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดหรือน้ำท่วมปอดหรือยัง

คนไข้ที่เข้ามารักษาพยาบาลในไอซียู ต้องผ่านพ้นภาวะวิกฤตในเวลาอันรวดเร็ว

สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็คือการเกิดภาวะแทรกซ้อนและต้องนอนในไอซียูหลายๆวัน

สิ่งเหล่านี้พยาบาลของเราช่วยได้ด้วยน้ำมือและน้ำใจของพยาบาลเอง

 

หมายเลขบันทึก: 224748เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

สวัสดีค่ะ

  • คิดถึงจังนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ

คนไข้ที่เข้ามารักษาพยาบาลในไอซียู ต้องผ่านพ้นภาวะวิกฤตในเวลาอันรวดเร็ว

สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็คือการเกิดภาวะแทรกซ้อนและต้องนอนในไอซียูหลายๆวัน

สิ่งเหล่านี้พยาบาลของเราช่วยได้ด้วยน้ำมือและน้ำใจของพยาบาลเอง

สวัสดีค่ะ ป้าแดง....ไอซียูของป้าแดงเปี่ยมรักดูแลด้วยหัวใจจริงๆจ้า น้ำมือและน้ำใจไปด้วยกันดีมากๆค่ะ

ขอยืมก่อนอิอิ หาไม่ทัน วันหลังคืนให้ค่ะ

 

 

นี่เลยจากใจ เอาใจใส่คนไข้อย่างนี้ นะพี่ครูต้อยรักตายเลย ถึงไหนถึงกัน คุณพยาบาลที่รัก

แวะมาทักทายค่ะ

ขอกำลังใจดีๆมีแด่ป้าแดงนะคะ

ขอทุกๆคนปลอดภัย

  • สวัสดีค่ะ คุณครูคิม อ.พอลล่า คุณครูต้อย
  • เข้ามาไวมากต๊กกะใจ
  • ---
  • พยายามดูแลผู้ป่วยให้ดีเต็มที่ ก็ยังเกิดภาวะแทรกค่ะ
  • พยายามต่อไปๆๆๆๆ

ปล.........

  • เมื่อคืนเข้าเวรบ่ายแทนน้อง เพราะน้องไปสอบกันหลายคน เล่นเอาแฟนคุณยายเป็นหมีแพนด้าเลยค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ขอตัวเข้านอนก่อนค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • กรณีที่ป้าแดงเอ่ยเรื่องน้ำเกิน
  • พยาบาลช่วยหมอดูได้
  • โดยใช้หลักดูสารน้ำที่ให้
  • 20 กก. แรกควรจะได้น้ำ 1.5 ลิตร
  • เกิน 20 กก.แรก ควรได้น้ำ 20 มล./กก.
  • บวกกันทั้งหมดแล้วจะได้ จำนวนน้ำที่ควรได้ขั้นต่ำใน 24 ชม.ค่ะ
  • ถ้าหากที่ให้เกินนี้ มีเหตุควรสงสัยว่า น้ำเกินได้ค่ะป้าแดง
  • อีกหลักที่เอามาดู ประกอบด้วยก็คือ น้ำไหลออก
  • ทุกอายุนั้นควรจะออก
  • ในอัตรา 20 มล./ชม.เป็นอย่างน้อย
  • ถ้ามันออกน้อยกว่านี้
  • ใส่น้ำเข้าไปพอดี
  • มันก็ยังมีปัญหาน้ำเกินค่ะ
  • เหตุผลเรื่องนี้แหละค่ะ
  • ทำให้หมอๆต้องการผล
  • บันทึกน้ำเข้า-น้ำออก
  • เพื่อใช้ดูสมดุลของมัน
  • การมีบันทึกทันเวลา
  • ช่วยแก้เหตุทันใช่ไหม
  • หมอๆนั้นพึ่งพาอาศัย
  • ความกรุณาของพยาบาลอย่างยิ่ง
  • นี่แหละพยาบาลจึงสำคัญ
  • เป็นกำลังช่วยกันดูคนไข้ไง
  • ......
  • แวะมาให้กำลังใจ
  • ด้วยความคิดถึงอย่างยิ่ง
  • ขอให้มีความสนุก
  • กับการไปแอ่วเหนือคราวหน้านะค่ะ
  • สวัสดีค่ะ น้องสายธาร
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะ อ.หมอเจ๊(พี่หมอตุ๊กตา)
  • จะเอาสูตรที่พี่หมอให้มาไปให้น้องๆดูค่ะ
  • แต่ละเวรคุณพยาบาลก็วุ่นๆๆอยู่กับการไล่น้ำเข้า ไล่น้ำออกค่ะ
  • เดี๋ยวขาดเดี๋ยวเกิน  เดี๋ยวให้ยาเดี๋ยวให้น้ำ เดี๋ยวตวงฉี่ ก็สนุกดีนะคะ อิอิอิ
  • -----
  • ขอให้พี่หมอมีความสุขความสนุกเช่นกันค่ะ
  • ขอบคุณมากมายเลยค่ะ
  • คิดฮอดๆๆๆๆ
  • เวลาตามที่จะไม่ให้เหนื่อย
  • ใช้หลักคำนวณน้ำเข้าที่คาดไว้
  • ตามหลักที่บอกเอาไว้
  • แล้วเอา 24 ไปหาร
  • จะได้ค่าที่บอกคร่าวๆ
  • ถึงความเร็วของน้ำเกลือที่ให้ต่อชม.
  • ถ้าให้ด้วยความเร็วมากกว่านี้
  • ระวังให้ดี...น้ำเกินไปได้
  • เคยพบที่พยาบาลมักจะให้
  • free flow นะเคยไหมป้าแดง
  • จะ free อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับลดรวมแล้วต้องไม่เกิน
  • จำนวนน้ำที่คำนวณได้
  • ส่วนเกินจากขั้นต่ำนั้น
  • มีได้เช่นกันนะป้า ที่ต้องให้เพิ่มไป
  • การเพิ่มจะเป็นกรณีพบว่า
  • มีการเสียเลือด ด้วยมีเลือดไหล
  • เสียน้ำออกไปด้วยท้องร่วง
  • โรคอย่างนี้ต้องเพิ่มน้ำให้ค่ะ
  • ให้เพิ่มตามเปอร์เซ็นต์ที่เสียน้ำ
  • พยาบาลจึงควรมีความรู้
  • ที่จะประเมินการขาดน้ำได้
  • ขาดน้ำไปหนึ่งเปอร์เซ็นต์ จะเพิ่มน้ำเข้าไป 10 มล./กก.ค่ะ
  • เคย free flow ค่ะ หลังให้ยามักไม่ได้ปรับจำนวนหยด
  • เดี๋ยวนี้โชคดีหน่อยมีเครื่องช่วยนับ
  • ----
  • เรื่องคำนวณน้ำ เคยใช้แบบคร่าวๆเมื่อต้องดมยาอ่ะค่ะ
  • เคยพูดให้น้องๆฟัง เขาไม่เข้าใจค่ะ อิอิอิ สงสัยอธิบายดีเกินไป
  • ขอบคุณค่ะ
  • ตกลงว่าจะไม่เข้านอนแล้วค่ะ อิอิอิ  

ฮิฮิ ไม่ใจที่หมอกับพยาบาลคุยกันเท่าไรครับ แต่ที่เห็นและรับรู้ได้อย่างชัดเจนคือ ความทุ่มเทในการดูแลผู้ป่วยครับ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

  • มาบอกเพิ่มเติมอีกหน่อย
  • เกี่ยวกับการให้น้ำ
  • ถ้าหากให้น้ำพอเพียง- ไม่ขาดน้ำ
  • ถ้าหากให้น้ำเหมาะสม - อัตราไม่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น ไม่เกิน
  • งานที่จะดูดเสมหะจะน้อยลงไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ
  • .....
  • อีกอย่างที่จะช่วยลดงานได้อีก
  • ดูแลอุณหภมิกายให้เหมาะสม
  • ดูแลอุณหภูมิลมที่หายใจเข้าไปไม่ให้เย็น
  • .....
  • หากใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่
  • การคุมอุณหภูมิน้ำให้อุ่นเสมอ(น้ำเลี้ยงเครื่อง) เป็นความสำคัญค่ะ
  • น้ำเลี้ยงเครื่องมีไว้เพื่อ ปรับอุณหภูมิน้ำที่เข้าไปกับลมหายใจให้อุ่นอยู่ที่ 37 องศาค่ะป้าแดง
  • เย็นไปกว่านี้ หลอดลมจะสร้างเมือกออกมาเคลือบเพื่อลดความระคายจากความแห้ง เย็น จึงทำให้มีเสมหะค่ะ
  • .......
  • ดูแลคนไข้ง่ายๆ ตรงจุดสำคัญๆเล็กๆ
  • จะทำให้ทำงานสบายไม่เหนื่อยนะค่ะ
  • ......
  • หากบอกน้องไม่เข้าใจละก็
  • ให้เขาลองแล้วเปรียบเทียบดูซิค่ะ
  • บทเรียนที่ดีที่สุด อยู่ตรงบทตอนของการลงมือลองทำค่ะ
  • ......
  • ไม่ลอง ไม่รู้ คำนี้
  • มีความหมายมากนะค่ะ ป้าแดง
  • การลงมือกระทำเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญาและความรู้ใหม่จริงๆค่ะ
  • ไม่ลองไม่รู้ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณมากมายค่ะ
  • คราวนี้ เข้านอน จริงๆแล้วค่ะ อิอิอิ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาดูน้ำมือน้ำพยาบาลคนสวย เป็นกำลังใจค่ะ อีกหน่อยเราคงได้เจอนวตกรรมใหม่ ๆ นะค่ะ

สวัสดีค่ะป้าแดง

  • เป็นกำลังใจให้ป้าแดง คุณหมอ คุณพยาบาลทุกท่านค่ะ
  • ดูแลคนป่วยแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ
  • เป็นบันทึกที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดีมาก

เรื่องน้ำในปอดเป็นเรื่องหนึ่งในหลายเรื่องที่แพทย์และพยาบาลหลายท่านยังหลงทางอยู่ การท่องสูตรการให้น้ำ จำกัดน้ำ เป็นวิธีคิดเหมือนคนเป็นเครื่องจักร ถ้ามีประสบการณ์มาก ๆ จะพบว่า คนไข้ 99% เข้าห้อง ICU แล้วอาการจะหนักขึ้น และทุกครั้งที่มีอาการน้ำท่วมปอด ส่วนใหญ่มักจะคุมเกมไม่ได้ ถ้าไม่ตายก็หายเองแล้วหมอก็หลงว่าตนเองเก่งแต่พยาบาลจะรู้ว่าไม่เกี่ยวกัน

สาเหตุหลักที่แท้จริงของอาการน้ำท่วมปอดของผู้ป่วยวิกฤต เกิดจากการอักเสบภายใน เกิดจากการติดเชื้อจนเซลล์ปอดผิดปกติ จึงสร้างน้ำขึ้นมาเอง ซึ่งข้อสังเกตของคุณพยาบาลมณีแดง คนสวย แซ่เฮ คิดถูกทางแล้ว ถ้าท่องจำวิธีที่คุณหมอเดินตามก้นเอกสารที่ฝรั่งส่งมาให้อ่านแล้วยึดเป็นสรณะ  คนไข้จะเสียชีวิตมากขึ้น

วิธีดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่มีอาการน้ำท่วมปอดที่ได้ผลดี

1. อย่าจำกัดปริมาณน้ำ เพราะจะทำให้เซลล์ผิดปกติในปอดเร่งสร้างน้ำขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

2. หลีกเลี่ยงการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงฮวบฮาบ->โรคแทรกซ้อน-> เสียชีวิต

3. หลีกเลี่ยงการพันธนาการผู้ป่วยทั้งกายและใจ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยจิตตก-> ร่างกายอ่อนแอ->อาการแทรกซ้อน->เสียชีวิต

ขอบคุณแทนผู้ป่วยที่มีพยาบาลที่เอาใจใส่และไม่จำนนต่อวิธีการมาตรฐานแต่ไม่ได้ช่วยให้ชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น มีความรู้อีกมากหมายที่หมอไม่รู้แต่พยาบาล ผู้ป่วย และคนอื่น ๆ รู้...

  • สนใจที่คุณบดินทร์เอ่ยบอกว่า เซลล์ที่อักเสบสร้างน้ำขึ้นมาเอง
  • ก็เลยมีคำถามขึ้นมาว่า
  • เออ! แล้วเรามีโอกาสรู้มั๊ยว่า กลไกอะไรที่ทำให้เซลล์สร้างน้ำขึ้นมาเอง
  • .........
  • ต้นเหตุที่แท้ที่ทำให้เซลล์อักเสบสร้างน้ำขึ้นมานั้น มันเป็นธรรมชาติของโรคที่อธิบายได้แค่ไหน
  • ...........
  • เกี่ยวกับการแห้งน้ำหรือไม่แห้งน้ำของร่างกายบ้างไหม
  • ...........
  • ด้วยเหตุที่ว่าปอดและหัวใจ
  • มันเกี่ยวข้องกับข้อระวังการให้น้ำเข้าไปในร่างกาย
  • ...........
  • ขอบเขตของการให้น้ำที่ฝรั่งเขาบอกเอาไว้
  • มีประโยชน์ในการใช้บอกคร่าวๆ เพื่อระวังไม่ให้คนรักษาทำร้ายคนไข้โดยไม่มีหลักยึดอะไรเลย
  • ..........
  • เห็นด้วยที่ว่าอย่าเชื่อจนตรงไปตรงมาแบบท่องจำ ซึ่งจะทำให้คนไข้แย่ลงไป
  • พลิกแพลงตามคนไข้นั่นแหละ แต่ควรมีหลักใช่ไหม น้ำที่ออกมานะเพราะอะไร จะได้สังเกตคนไข้ด้วยตาได้ไง
  • ..........
  • ให้น้ำเท่าไรจึงพอเพียงแน่
  • อย่างไรจึงเรียกไม่เกิน
  • อย่างไรจึงเรียกไม่จำกัด
  • อย่างไรจึงเรียกพอดี
  • ถ้าหากมีหลักเปรียบเทียบ
  • ก็เป็นประโยชน์ในการป้องกัน ไม่ให้พยาบาลกลายเป็นผู้ทำร้ายคนไข้ซะเองจากการให้น้ำนะค่ะ
  • ..........
  • อย่างไรขอความรู้หน่อยนะ
  • ด้วยว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรอกค่ะ
  • และขอขอบคุณเอาไว้ที่นี่ล่วงหน้า
  • ในความกรุณาแบ่งปันความรู้กันค่ะ

สวัสดีเจ้าค่ะ ป้าแดงจ๋า

       น้องจิแวะเอากับข้าวฝีมือน้องจิมาฝากค่ะ

                               Jg

ถ้าคนไข้มีภาวะน้ำเกินอยู่แล้ว..เมื่อได้รับน้ำเกลือเพิ่มเข้าไปจะทำให้น้ำเกินมากขึ้นไหมคะ..ตัวบวม..หน้าบวมเบ่งเหมือนแตงโมเลย..แต่น้ำเกลือก็ยังให้ทั้งที่ทานข้าวได้

พอดีมาอ่านบันทึกนี้..ก็เลยขอถามหน่อยนะคะ

แวะมาเป็นกำลังใจให้คนดีในสังคมค่ะ

 ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

  • สวัสดีค่ะ คุณบดินทร์
  • ประเด็นที่คุณพูดถึงก็น่าสนใจค่ะ
  • ตอนนี้จะพยายามปรับปรุงพัฒนาไปเรื่อยๆค่ะ
  • เรื่องที่คุณหมอเจ๊แนะนำก็ถ่ายทอดไปยังน้องแล้ว
  • เครื่องให้สารน้ำ ที่ผิดปกติทำให้น้ำขาดน้ำเกินก็ส่งซ่อมไปแล้ว
  • แล้วก็ใช้อาการคนไข้เป็นหลักในการดูแล
  • แต่เราก็ยังพบอุบัติการณ์นี้อยู่ค่ะ คุณหมอบอกว่าคงมาจากหลายสาเหตุก็ให้เต็มที่ค่ะ
  • ขอบคุณมากๆๆเลยค่ะ เป็นประโยชน์มากๆๆ
  • อยากให้มีประเด็นแบบนี้เยอะๆค่ะ จะได้ปรับไปใช้กับการทำงาน
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะ อ.จารึุวัจน์ น้องเพชรน้อย คุณครูวรางคนางค์
  • ดูแลคนไข้หนักเนื่อยค่ะ ต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันกับคนไข้ เพราะอาการเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆๆๆ
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

 

น้องจิที่รัก คิดถึงอย่างแรง

เสียดายไม่ได้ไป เชียงรายด้วยกัน

ขอบคุณสำหรับอาหาร กำลังหิวพอดีเลย

 

ขอบคุณ น้องรักเอยมากๆค่ะ

เข้ามาแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆนะคะ

  • สวัสดีค่ะ น้องแอด
  • ไม่รู้ว่าจะกลับเข้ามาบันทึกนี้อีกรึป่าว แต่ยังไงจะพยายามไปตอบที่บันทึกน้องแอดให้อีกทีค่ะ แต่เวลาป้่าแดงน้อยมากเลยช่วงนี้ นั่งหน้าคอมได้ไม่นานเหมือนเมื่อก่อน
  • ----
  • น้องแอด อ่านความคิดเห็นของ คุณหมอเจ๊ นะคะ ตรงประเด็นมากๆเลย
  • ที่บอกว่าตัวบวม หน้าบวม แขนบวม อาจจะไม่ได้มาจากน้ำเกินค่ะ
  • กินข้างได้ หากว่าต้องเสียน้ำจากทางอื่นด้วย เช่น เลือดออก มีแผลเปิด อะไรก็แล้วแต่ที่มีโอกาสทำให้เสียน้ำได้ ก็จำเป็นต้องให้น้ำเข้าไปอีกค่ะ บางทีก็ใช้น้ำล่อเส้นเอาไว้ฉีดยาค่ะ
  • แต่โดยหลักการ เมื่อได้น้ำพอแล้ว กินได้ดีแล้ว น้ำเกลือก็ไม่จำเป็นค่ะ
  • ส่วนเรื่องบวมต้องหาสาเหตุ หากเป็นเพราะนย้ำเกิน คุณหมอก็จะใช่ยาช่วยในการไล่น้ำออกค่ะ

น้องแอ้ดมาฟังคำตอบจากป้าแดงแล้วนะคะ..ขอบคุณค่ะ

อยากถามว่าเท่าไรถึงเรียกว่าน้ำเกินหรือ I/O positive คะ 500 หรือ 1000 ml ริเปล่า

สวัสดีค่ะป้าแดง พอดีหนูเข้ามาอ่านในบันทึกของป้าแดง คนสวย หนูเป็นนักศึกษาพยาบาล ค่ะ พอดีช่วงนี้หนูได้ขึ้นฝึกที่ไอซียู ก็ทำให้หนูเกิดสงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ป่วยมีภาวะนี้กันมาก และใน case ที่หนูดูแลก็มีภาวะนี้เช่นกัน และมีปัญหาเรื่องตับแข็ง ใส่ท่อระบาย (T-tube drain) ก็เกิดคำถามว่า เอ๊ะ!! แล้วทำไมผู้ป่วยมีปัญหานี้แทรกซ้อนด้วยล่ะ พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร ทำไมผู้ป่วยมีภาวะนี้กันมาก ด้วยความเคารพค่ะ เป็นกำลังใจให้นะค่ะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ ป้าแดงสุดสวย

เป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ๆค่ะ

ดูแลคนไข้ด้วยหัวใจเรา ^__^

คิดถึงป้าแดงค่ะ ไอซียู เปี่ยมรัก เปี่ยมน้ำใจ

เติมแรงใจ พลังไฟฝัน ให้ผู้ป่วยนะคะ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท