ภาษาพม่าง่ายๆ สไตล์เรา (ตอน 5 - คนไทยเรียกว่า "โยเดีย")


...

ภาพที่ 1: ชาวพม่าไปทำบุญที่มหาเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า (มิถุนายน 2548)

  • โปรดสังเกตว่า ผู้ชายพม่าจะนั่งไหว้พระแบบนั่งยองๆ ผู้หญิงจะนั่งคุกเข่า

...

  • พระอาจารย์เทพพนมกล่าวว่า อรรถกถาพม่ากล่าวถึงการ "นั่งกระโหย่ง" เช่น เวลาขอขมาพระเจดีย์หรือพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ ว่า ส่วนที่สัมผัสพื้นควรเป็นส่วนที่ไม่มีขน (ส่วนที่ไม่มีขนของคนเราได้แก่ ทวารเข้าออก มือ และเท้า)
  • ผู้เขียนสังเกตว่า เวลาชาวพม่าเชื้อสายพม่า ("บะหม่า" มาจากคำว่า "พราหมณะ" หรือพราหมณ์) พนมมือ... นิ้วจะติดกันบ้างไม่ติดกันบ้าง ส่วนชาวพม่าเชื้อสายไทยใหญ่ ("ฉาน" เขียนว่า "สยาม" ออกเสียงว่า "ชาน") และชาวพม่าเชื้อสายมอญ ("มอน") จะพนมมือแบบนิ้วติดกันคล้ายคนไทย

...

ภาพที่ 2: เจ้าของร้านอาหารที่พุกาม พม่า (มิถุนายน 2548)

  • คนพม่าคนอื่นจะไม่ไหว้ลูกค้า เพิ่งจะเห็นรายนี้อยู่รายเดียว

...

ภาพที่ 3: ชาวพม่านิยมเข้าไปสวดมนต์ นับลูกประคำ (ส่วนใหญ่จะสาธยายพระพุทธคุณได้แก่ "อิติปิโส ภควา...") นั่งสมาธิในพระเจดีย์ทั่วพม่าเงียบๆ (ภาพบริเวณภายในพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ย่างกุ้ง พม่า / มิถุนายน 2548)

  • โปรดสังเกตราวเหล็กด้านหน้า-ซ้ายมีลูกประคำ ("ปดี") แขวนไว้ให้ยืมไปนับได้ฟรี ชาวพม่าเป็นคนมีวินัย ใช้แล้วคืน
  • วัดบางแห่งมีหนังสือสวดมนต์เล่มเล็กแขวนไว้ด้วย ซึ่งไม่ค่อยมีคนหยิบยืมไปสวดเท่าไร เนื่องจากชาวพม่าจำนวนมากท่องจำบทสวดได้หมด

...

ภาพที่ 4: ไกด์ชาวไทยใหญ่ (รัฐฉาน เขียนว่า "สยาม" ออกเสียง "ชาน" / มิถุนายน 2550)

  • ไกด์ท่านนี้เป็นคนเชียงตุง รัฐฉาน เรียบจบปริญญาตรีฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยเชียงตุง รัฐฉาน จบแล้วไม่มีงานประเภทนักฟิสิกส์ทำ เลยมาทำงานไกด์แทน

...

  • ปี 2550 ผู้เขียนซื้อทัวร์ไปย่างกุ้ง-พะโค-พระธาตุอินทร์แขวน... ไกด์บริษัทนี้มี 2 ท่าน ไกด์อีกท่านหนึ่งก็มาจากเชียงตุง รัฐฉานเหมือนกัน เป็นชาวพม่าเชื้อสายจีน พูดได้อย่างน้อย 5 ภาษาได้แก่ จีนแคะ จีนกลาง พม่า อังกฤษ และไทย เรียนจบปริญญาโทสาขาพืชศาสตร์ นับว่า เป็นคนที่เก่งสุดๆ ทีเดียว

...

  • ท่านบรรยายไว้ว่า มอญเป็นผู้สร้างอารยธรรมในเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากชาวมอญสร้างศิลปวัฒนธรรม และภาษาเขียนได้ก่อน
  • ต่อมาชาวพม่า ("บะหม่า") รับวัฒนธรรมมอญไป ไทยเราก็รับวัฒนธรรม เช่น ช่างสิบหมู่ ฯลฯ จากครูบาอาจารย์ชาวมอญ หลังจากนั้นวัฒนธรรมมอญจึงแพร่ไปทั่วเอเชียอาคเนีย์อีกต่อหนึ่ง

...

ภาพที่ 5: เด็กนักเรียน ("เจาตา") นอนหลับที่วัด

  • ถ้าดูจากโสร่งสีเขียว... นักเรียนท่านนี้ควรจะอยู่ชั้นประถม 2 หรือสูงกว่านั้น ชั้นเล็กกว่านี้จะยังไม่มีสิทธิ์นุ่งโสร่ง เพื่อป้องกัน "โสร่งหลุด" เด็กโตหน่อยจึงจะนุ่งได้

...

  • ถ้าดูจากผมที่ดกหน่อย และกะโหลกตรงหน้าผากที่ดิ่งลงมา... นักเรียนท่านนี้น่าจะเป็นชาวพม่าเชื้อสาย "พม่า (บะหม่า)"
  • ท่านพระอาจารย์ชนกะเล่าว่า ชาวพม่ายุคหลังๆ นิยมให้ลูกหลานนอนตะแคง กะโหลกด้านข้างจะได้แบนลงแบบคนอเมริกัน ซึ่งชาวพม่าเชื่อกันว่า จะฉลาดมากกว่าคนที่หัวแบนๆ แบบคนนอนหงายตั้งแต่เด็ก

...

ขอทบทวนศัพท์ตอนที่ 4 > [ Click ] ได้แก่

  • นกแซด = ทักทาย
  • เละ = มือ
  • ซแว = ดึง
  • เละ ซแว = เชคแฮนด์ จับมือทักทาย (= มือ + ดึง)

...

  • อ๊กฉี่ = พนม
  • เละ อ๊กฉี่ = พนมมือ (= มือ + พนม)
  • แด = คำเวลา "ปัจจุบัน"
  • แหม่ = คำเวลา "อนาคต" = จะ

...

  • สยาหวุ่น = หมอ
  • ปูซอ (คำนี้ไม่นิยมใช้ทั่วไป) = บูชา
  • เซดีย์ (คำนี้ไม่นิยมใช้ทั่วไป) = เจดีย์

...

ขอทบทวนสำนวนที่น่ารู้ได้แก่ ภาษาพม่านิยมใช้คำว่า "ไม่มี" หรือ "มะ ชิ บู" มากมาย ตัวอย่างเช่น

  • คนอยู่ = มีคน (ภาษาพม่า = คน + มี)
  • ตัวอย่างเช่น หมออยู่ = สยาหวุ่น ชิ แด (= หมอ+ มี) ฯลฯ

...

  • คนไม่อยู่ = ไม่มีคน (ภาษาพม่า = คน + ไม่ + มี)
  • ตัวอย่าง เช่น หมอไม่อยู่ = สยาหวุ่น มะ ชิ บู (= หมอ + ไม่ + มี) ฯลฯ

...

  • พนมมือ = เละ อ๊กฉี่
  • ไม่พนมมือ = เละ อ๊กฉี่ มะ ชิ บู (= พนมมือ + ไม่ + มี)

...

ภาพที่ 6: แผนที่พม่าจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • กล่าวกันว่า พม่ามีรูปร่างคล้ายว่าวรูป 4 เหลี่ยมตะแคง และมีหางว่าวอยู่ทางด้านล่าง... ด้านเหนือของพม่าอยู่ติดจีนและธิเบต... รัฐกะฉิ่น (Kachin) นั้นมีชื่อเสียงในเรื่องความหนาวเย็น ตอนเหนือของรัฐนี้มีหิมะตก ซึ่งต่อไปอาจจะไม่มีหิมะอีกก็ได้ เนื่องจากโลกเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ

...

  • ด้านตะวันออกเฉียงเหนือมีดินแดนที่ติดกับไทยได้แก่ รัฐฉาน (Shan) หรือไทยใหญ่ (ออกเสียง "ชาน") รัฐกะยา รัฐกะยิน (Kayin) หรือกะเหรี่ยง 
  • สหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) ใช้วิธี "แบ่งแยกแล้วปกครอง (divide & rule)" ยุยงให้ชาวพม่าแตกแยกกัน โดยใช้ชนกลุ่มน้อยคือ กะเหรี่ยงไปเป็นทหาร เปลี่ยนคนกะเหรี่ยงจากเดิมนับถือพุทธและถือผีเป็นคริสต์ ให้สิทธิพิเศษกับกะเหรี่ยง 

...

  • ฝรั่งเจ้าอาณานิคมไปที่ไหนก็มักจะทิ้ง "ระเบิดเวลา" ไว้ที่นั่น เช่น ทำแผนที่ยกเขาพระวิหารไปไว้ในเขตกัมพูชา ฯลฯ
  • ชาวพม่าสมัยอาณานิคมไม่ค่อยชอบอังกฤษ เพราะชาวอังกฤษใส่รองเท้าเข้าไปในพระเจดีย์ ส่วนญี่ปุ่นนั้นก็ไม่ชอบเหมือนกัน

...

  • เพราะญี่ปุ่นบุกพม่า "ตัวเปล่า" อยากได้อะไรก็ปล้นจากชาวบ้านไปหมด อยากได้ไก่ พูดพม่าไม่เป็นก็ทำท่าคล้ายไก่ตีปีก บังคับให้ชาวบ้านที่ยากจนอยู่แล้วไปหาไก่ ได้แล้วก็ปล้นไปเสียต่อหน้า
  • ทว่า... คนญี่ปุ่นยุคนี้ฉลาดคิด เข้าไปช่วยคลังเลือดพม่า บริจาครถพยาบาลใช้แล้วให้คลังเลือด หาอาสาสมัครเข้าไปช่วยกิจการคลังเลือด ซึ่งชาวพม่าถือกันว่า เป็น "ซีวิต๊ะ ดานะ" หรือ "ชีวิตะ ทานะ (ชีวิตทาน)" นั่นคือ การให้เลือดเป็นการช่วยชีวิตคนอื่น ทำให้ชาวญี่ปุ่นได้ใจชาวพม่า

...

  • ฑูตอังกฤษท่านหนึ่งฉลาดคิดมาก... ท่านไปที่คลังเลือดโรงพยาบาลย่างกุ้ง เจเนอรัล ฮอลปิทอล (Yangon general hospital) หรือโรงพยาบาลโรคทั่วไปย่างกุ้ง ไปบริจาคเลือดมากถึง 2 ครั้ง
  • เรื่องนี้หนังสือพิมพ์เมียนม่าร์ ไทม์ตีพิมพ์ยกย่องว่า เป็นการทำดี ได้บุญด้วย ได้ใจชาวพม่าด้วย คนฉลาดคิด ฉลาดทำแบบนี้... อยู่ที่ไหนก็ทำให้เกิดเมตตา เกิดความสงบสุข และมิตรภาพ

...

ชาวพม่าประกอบด้วยคนกลุ่มใหญ่หรือชาว "บะหม่า" (มาจากคำว่า "พราหมณะ" หรือ "พราหมณ์" ออกเสียงแบบบาลีว่า "บะ-รา-หะ-มะ-ณะ" ภาษาพม่าไม่มีตัว "ร เรือ" เมื่อออกเสียงไปๆ มาๆ เลยกลายเป็น "บะหม่า" (วิธีจำง่ายๆ คือ ให้ลองจำว่า "บะหม่าชอบกินบะหมี่") และชนกลุ่มน้อยอีกหลายเผ่าพันธุ์

ทุกวันนี้มีคำเรียกชาวพม่ารวมๆ ว่า "เมียนม่าร์ (Myanmar)" ซึ่งจะรวมชาวพม่าทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน ชนกลุ่มต่างๆ ที่พวกเราควรรู้จักได้แก่

  • บะหม่า = ชาวพม่ากลุ่มใหญ่
  • ชาน = ไทยใหญ่ รัฐฉาน (เขียนว่า "สยาม" ออกเสียง "ชาน")
  • ม็อน (ออกเสียงสั้นเล็กน้อย) = ชาวพม่าเชื้อสายมอญ
  • กยิน = กะเหรี่ยง

...

ชาวพม่าเรียกคนไทยว่า "โยเดีย" ซึ่งน่าจะมาจากคำว่า "อยุธยา" และเรียกประเทศไทยว่า "ไท้ ไหน่หงั่ง ("ไท้" = ไทย; "ไหน่หงั่ง" = ประเทศ) หรือ "ไท้ ปี ("ไท้" = ไทย; "ปี" = ประเทศ)

ชื่อเมืองที่ชาวพม่ารู้จักดีคือ กรุงเทพฯ (เรียกว่า "บาง-เก้า") เชียงใหม่ (เรียกว่า "เชี้ยง-ไหม่") แม่สอด (เรียกว่า "แม-เซ่า")

... 

เคล็ดไม่ลับ         

  • เวลาไปพม่า... ไม่ว่าจะพบใคร ถ้ามีเหตุการณ์ที่ไม่แน่ใจในเรื่องความปลอดภัย หรือจะขอความช่วยเหลือ ให้รีบบอกคนอื่นไปเลยว่า เป็นคนไทย เพราะชาวพม่าส่วนใหญ่ชอบคนไทย โดยเฉพาะความช่วยเหลือตอนพายุนาร์กิสเข้าพม่ามีส่วนทำให้ชาวพม่าซาบซึ้งในความช่วยเหลือของคนไทย

...

  • เรื่องที่คนไทยเราควรระมัดระวังให้มากคือ สื่อมวลชนไทยขาดความรับผิดชอบในการรายงานข่าว ชอบลงข่าวเพื่อนบ้านหรือแรงงานต่างด้าวแต่ในแง่ร้าย อะไรที่ดีๆ ไม่นำมาตีพิมพ์หรือเผยแพร่
  • เรื่องนี้ชาวพม่าท่านหนึ่งที่อ่านหนังสือพิมพ์ไทยบ่นให้ผู้เขียนฟังว่า หนังสือพิมพ์ไทยพูดถึง... แต่เรื่องร้ายๆ เรื่องดีๆ ไม่รู้จักนำมาลง

...

  • ชาวพม่ารุ่นเก่าบางท่านก็ไม่ชอบคนอังกฤษ และคนญี่ปุ่น... ทุกวันนี้ยังมีการใช้หน่วยนับ (ลักษณนาม) เรียกคนอังกฤษและคนญี่ปุ่นเป็น "ตัว" ไม่นับเป็น "คน"
  • เป็นคนไทยไปพม่าไม่ต้องกลัว... เพราะชาวพม่านับคนไทยเป็น "คน"

...

  • ยิ่งตอนผู้เขียนติดตามคณะไปส่งพระอาจารย์อมรเรียนต่อที่วัดพะเอ้าตอย่า เมาะละแหม่ง เขตมอญ (กรกฎาคม 2551) ยิ่งสนุกใหญ่... ไปบ้านไหน พอเขารู้ว่า เป็นคนไทย คนเชื้อสายมอญก็จะคุยเป็นภาษาไทยด้วย ท่านบอกว่า ไปทำงานเมืองไทยกันคนละ 8 ปีบ้าง 12 ปีบ้าง 14 ปีบ้าง
  • ตอนขึ้นรถไฟกลับย่างกุ้งก็สะดวก... พอมีคนรู้ว่า เป็นคนไทย ก็มีคนที่ทำงานก่อสร้างแถวๆ ระนอง ท่านกลับไปคลอดที่บ้านชานเมืองหงสาวดี (พะโค) ช่วยเหลือกันดีมาก 

...

ศัพท์ในตอนนี้     

  • เมียนม่าร์ = ชาวพม่าทุกกลุ่มรวมกัน
  • บะหม่า = ชาวพม่ากลุ่มใหญ่
  • ชาน = ไทยใหญ่ รัฐฉาน (เขียนว่า "สยาม" ออกเสียง "ชาน")
  • ม็อน (ออกเสียงสั้นเล็กน้อย) = ชาวพม่าเชื้อสายมอญ
  • กยิน = กะเหรี่ยง

...

  • โยเดีย = ไทย
  • ไท้ = ไทย (หมายถึง "ประเทศ")
  • ไหน่หงั่ง = ประเทศ

...

  • ดานะ = ทาน ("ทา-นะ" ออกเสียงแบบบาลี)
  • ซีวิต๊ะ = ชีวิต ("ชี-วิ-ตะ" ออกเสียงแบบบาลีพม่า = "ซี-วิ-ต๊ะ")
  • ซีวิต๊ะ ดานะ = ทานที่ช่วยชีวิตคน ชาวพม่ามักจะใช้เรียกการบริจาคเลือด (ต้วย ลู่; ต้วย = เลือด; ลู่ = ให้)

...

การเรียงคำในภาษาพม่า... ส่วนใหญ่จะนำคำขยายไว้ข้างหน้าคล้ายๆ ภาษาอังกฤษ เช่น ประเทศไทย = ไทย + ประเทศ = ไท้ + ไหน่หงัง = ไท้ ไหน่หงั่ง ฯลฯ

...

แบบฝึกหัด          

จงแปลภาษาไทยเป็นภาษาพม่า

  • ชาวพม่าทุกกลุ่มรวมกัน
  • ชาวพม่าเชื้อสายมอญ
  • ชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยง
  • ชาวพม่ารัฐฉาน / ไทยใหญ่
  • ประเทศไทย
  • ไทย (หมายถึงประเทศ หรือคนก็ได้)

เฉลย                 

  • ชาวพม่าทุกกลุ่มรวมกัน = เมียนม่าร์
  • ชาวพม่าเชื้อสายมอญ = ม็อน
  • ชาวพม่าเชื้อสายกะเหรี่ยง = กยิน
  • ชาวพม่ารัฐฉาน / ไทยใหญ่ = ชาน 
  • ประเทศไทย = ไท้ ไหน่หงั่ง
  • ไทย (หมายถึงประเทศ หรือคนก็ได้) = โยเดีย

ขอแนะนำ                                               

  • ขอแนะนำให้อ่านตอนต่อไป (ตอนที่ 6)
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำเว็บไซต์ "มอญศึกษา"
  • [ Click ]

...

  • ขอแนะนำหนังสือ "เรียนรู้ภาษาพม่าด้วยตนเอง" พิมพ์ครั้งที่ 11. ราคา 55 บาท เขียนโดยท่านอาจารย์วินมิตร โยสาละวิน โทรศัพท์ 055-545.257 ตู้ ปณ.62 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 63110.

...

  • ขอแนะนำให้อ่านตั้งแต่ตอนที่ 1
  • [ Click ]

...

ที่มา                                                                 

  • กราบขอบพระคุณ > ท่านพระอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต (สมณศักดิ์พม่า) และท่านพระอาจารย์ชนกะ วัดท่ามะโอ ลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ นักเรียนภาษาพม่า > 22 พฤศจิกายน 2551 > 27 พฤศจิกายน 2551.

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ"
  • ยินดีให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า

...

หมายเลขบันทึก: 224746เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เสยาหวุ่น เน-เกา-ลา-ซิน (ขึ้นเสียงสูง และทำตาโตเหมือนลูกสิงโตแล้วนะคะ )บล็อกของท่านได้ทั้งความรู้รอบตัว โดยการเรียนภาษาพม่าน่ารักและขำมาก เวลาอ่านแล้วสารสุขหลั่งทำให้จิตและกายมีพลังคะ

-อ่านตั้งแต่ตอน1-5 ได้ทบทวน เมียนม่าร์-สกา ต้องขอบคุณท่านมากรู้สึกมีหลักที่จำได้ง่ายและเข้าใจเพราะภาษาพม่าต้องท่องจำ แต่เวลาพูดเป็นประโยคต้องมีหลัก ก็ขอสมัครเป็นลูกศิษย์ ด้วย ขอคารวะล่วงหน้าเพราะมั่นใจว่าท่านเป็นผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและกรุณา เจซูติน-บา-แด-ซิน

Thasin Myint

ขอขอบคุณ... คุณ Thazin Myint

  • เหน่ เกา แด = สบายดีครับ

ดูเหมือนชื่อคุณน่าจะเขียนด้วยตัว 'Z' เนื่องจาก 'Thazin' / ตะซิน (เสียงขึ้นจมูก หรือนาสิกแบบตัวแซดอังกฤษ) แปลว่า ดอกไม้ที่ใช้ประดับ

  • เดิม "ตะซิน(z)" ใช้ในรั้วในวัง ต่อมาใช้ประดับส่วนหัวในงานะพิธี เช่น รับปริญญา ฯลฯ ด้วย

คนที่ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาพม่า...

  • ถ้าหาโอกาสหัดอ่านหนังสือได้จะช่วยให้มี "ชั่วโมงบิน" เพิ่มขึ้น
  • ตอนนี้ผมกำลังหัดตัวอักษรอยู่ครับ

แวะเข้ามาอ่านเรื่องพม่าค่ะ คุณหมอวัลลภ

สนใจมากสำหรับภาษาพม่าแต่ยากจะไปเที่ยวที่ประเทศพม่ามากเลยครับพอจะพูดภาษาพม่าเป็นเพราะเป็นครูอยู่ที่แม่สอดครับถ้าว่าง ๆ จะเข้ามาเรียนใหม่นะครับขอบคุณครับมีอะไรก็ส่งเมล์มาให้ก็ได้นะครับ

อาจารย์เป็นครูอยู่แม่สอด...

แถวนั้นน่าจะหาทางเรียนได้ง่ายกว่าลำปางแยะเลยครับ เรียนที่วัดกะเหรี่ยงพุทธก็น่าจะได้

ดีจังเลยค่ะ..ที่มีคนให้ความรู้แบบนี้..ภาษาอื่นจะหาอ่านง่ายแต่ภาษาพม่ารู้สึกจะน้อยค่ะ..แต่อยากให้มีแบบว่าเป็นภาษาไทย-คำอ่าน-คำแปลเยอะๆหลากหลายสำหรับนักท่องเที่ยวน่ะค่ะ เช่นเวลาซื้อของ ต่อลองราคา ถามทาง หาข้าวกินอะไรประมาณนี้น่ะค่ะ..ขอบคุณนะคะ

ชอบภำษาพม่าได้เรียนรู้หลายภาษามันมีสวนช่วยสมองเปิดทักทายเพื่อนพม่าได้หลายคนเพราะข้างบ้านมีโรงงานอิฐแดงมีคนงานพม่ามากผมขายของครราวนี้ได้ใช้ภาษาพม่าไม่มากก็ยังดีขอขอบคุณมากครับผมอยู่ยะลา

อยากถามว่า คำว่า วิศวกร ภาษาพม่า เรียกว่าอะไร

สวัสดีค่ะคุณหมอ พบกันอีก แสดงว่ายังวนเวียนอยู่ในวัฎฎะอยู่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท