คำพ้อง ไทย-มลายู (๑๐) กอปี-กาแฟ , กุญแจ-กอจี


วันนี้พอมาถึงที่ทำงานรู้สึกหิวเลยขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าสำนักงานคณะฯให้เอาน้ำร้อนชงกาแฟดื่นให้หายกระหายหน่อย ก็นึกถึงคำๆนี้ กาแฟ กอปี หรือภาษาอื่นๆ จะใช้คล้ายกันมาก

กาแฟ ๑ น. ชื่อเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ทํามาจากเมล็ดต้นกาแฟ.

กาแฟ ๒ น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน

(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ )

ทางภาคใต้บ้านเราโดยเฉพาะสามจังหวัดตอนล่างสุดจะเรียกกาแฟว่า กอปี ถ้าเป็นกาแฟใส่นมเรียกว่า การแฟซูซู (ซูซู:นม) ถ้าถ้าใส่น้ำตาลเฉยๆ จะเรียกว่า กอปีออ  

คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ อาหรับ: قهوةแล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะกลายเป็น คอฟฟี ในภาษาอังกฤษ และกาแฟ ในภาษาไทย (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F)

 พูดถึงการแฟอาหรับแล้วนึกถึงสมัยเป็นนักศึกษา ป.ตรี ผมพักอยู่กับ น.ศ.อาหรับ และปกติวันหยุด น.ศ.อาหรับเขาจะทำการแฟดื่มกินกัน และผมได้ดื่มกินกับเขาด้วย ครั้งแรกที่ดื่มกาแฟนั้น รู้สึกข่มมาก และทำให้ผมนอนไม่หลับทั้งคืน (ปกติชากาแฟจะไม่มีผลใดๆกับการนอนของผม) บอกตรงๆว่าไม่อร่อยเลย แต่วันหลังผมดื่มและกินลูกอินตผาลัมไปพร้อมๆกัน รู้สึกอร่อยและติดใจ ทุกวันนี้ก็ยังนึกอยากกินกาแฟอาหรับในลักษณะนี้มากๆ ไม่รู้จะไปหาที่ไหน 

การแฟอาหรับจะใช่กาแฟอารอบิกาหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่เขาจะเรียกว่า เกาะหฺวะหฺอะรอบียฺยะหฺ قهوة عربية เขาจะปรุงเฉพาะโดยผมกับเครื่องเทศ มีผล ฮีล(هيل) หรือลูกกระวาน บางคนเรียกว่ากระวานฟรั่ง เป็นหลัก ส่วนจะผสมอะไรอีกนั้นผมก็ทราบเหมือนกัน 

ตั้งบนไฟผสมลูกกระวาน(รูปขวามือ) ดื่มร้อนไม่ใส่น้ำตาล อร่อยมากครับ

ดร.คอนโดลิสซ่า ไรซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ  ซดกาแฟอาหรับก่อนจะพูดในที่ประชุมนักข่าวกับ ฟ้าชายไฟซอล รัฐมนตรีตางประเทศซาอุฯ

ผู้นำโซเวียด ซดกาแฟอาหรับแล้ว บอกว่าอร่อยมาก

-----------

คำพ้องที่สองที่นึกได้ในวันนี้คือ กุญแจ

กุญแจ น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกาว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี). (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ )

พจนานุกรมก็บอกแล้วเทียบกับภาษามลายูว่ กุญจี แต่จะต่างนิดหน่อยตรงที่พวกเราใช้กัน

กุญแจ จะมาในรูปคำนาม แต่คำว่า กุญจี หรือ กอจี จะมาลักษณะคำกริยา ถ้าบอกว่า กอจีปีตู (ปีตู:ประตู) หมายถึงล็อกประตูด้วยกุญแจ

แต่ถ้าเป็นกุญแจจริงๆ พวกเราจะเรียกว่า อีบูกอจี (อีบู:แม่) และลูกกุญแจ จะรียกว่า อาเนาะกอจี (อาเนาะ:ลูก)

 

(พบกันใหม่ในหมดว ข )

 

 

หมายเลขบันทึก: 224276เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรื่องเล่านี้สนุกมากครับ เลยอดแวะมาเขียนแสดงความคิดเห็นไม่ได้

ผมว่า กอปีนี้เหมือนกันหลายภาษาครับ ไทย มาเลย์ อังกฤษ และอาหรับ (เอาว่าคล้ายกัน กะวะห์ เพี้ยนๆ เป็น กะฟะห์ กาแฟในที่สุด)

ดังนั้นไปประเทศไหนๆ ถึงพูดภาษานั่นๆ ไม่ได้ก็สั่งกาแฟถูกเสมอ

แวะมาดื่มการแฟซูซู ด้วยคนนะคะ

จริงๆแล้วเป็นคนไม่กินกาแฟ..โอวัลตินซูซูแทนได้ไหมคะ

ขอบคุณมากครับ ท่าน ศน.add

ดีใจมากที่ ศน.ได้ใช้ภาษาท้องถิ่นของพวกเราทางใต้ แสดงให้รู้ว่าตอนนี้ได้รู้ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย

การที่ได้รู้ภาษามีแต่กำไรกับกำไร .. เสียดายกับนโยบายของคนบางคนพยายามต่อต้านการเรียนรู้ภาษาอื่นนอกจากภาษาไทย..และไปกระทบกับความรู้สึกของคนในพื้นที่ไม่น้อยเลย

พูดถึงคำว่า ซูซู นึกถึงวงดนตรีไทยวงหนึ่งชื่อว่า ซูซู ไม่ทราบว่าจะแปลว่านมด้วยหรือเปล่า

อีกวงหนึ่งแปลว่านมเหมือนกัน แต่จะใช้คำภาษาอาหรับ คือ ลาบานูน สำหรับผมแล้ว ลาบันหรือลาบานูน นี้ผมจะนึกถึง นมเปรี้ยว เพราะปกติผมจะเรียกนมเปรี้ยวว่าลาบัน โยเกิรตจะเรียกว่า ลาบันซูบาดี

ส่วนนมในภาษาอาหรับแล้ว ผมจะเรียกว่า ฮะลีบ ครับ

ขอบคุณ อ.จรุวัจน์ รู้ว่า ชอบชอบปี ถ้าได้ชิม เกาะหฺวะหฺวะรอบียะหฺเมื่อไรมาบอกด้วยก็แล้วกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท