สิทธ
นาย สิทธิชัย สิทธ ช่วยสงค์

ยุวเกษตรกรในโรงเรียน ปี 52


ยุวเกษตรกรตำบลท่าอุแท

การร่วมกันวางแผนจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการ

โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  (ศูนย์โรงเรียนทดแทนศูนย์หลัก)ปี 2552

วันที่  19  พฤศจิกายน  2551  เวลา 13.00 น.

  โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201  ม.6  ต. ท่าอุแท  อ.กาญจนดิษฐ์  จ.สุราษฏร์ธานี

.........................................................

 

                จังหวัดสุราษฏร์ธานี  โดยคณะกรรมการบูรณาการแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระดับจังหวัด  ได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัด และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2551  ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน (ศูนย์หลัก) และศูนย์โรงเรียนทดแทนศูนย์หลัก ในปีงบประมาณ 2552 อำเภอละ 1 แห่ง  ซึ่งในจังหวัดสุราษฏร์ธานี มีทั้งหมด 13  อำเภอ  โดยอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้แก่ โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201  ม.6 ต.ท่าอุแท                 โดยมีจำนวนนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ  จำนวน50 คน  งบประมาณ 50,000  บาท

                สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ร่วมกับ ปศุสัตว์อำเภอกาญจนดิษฐ์  ประมงอำเภอกาญจนดิษฐ์ และ โรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201  ได้ร่วมกันวางแผนจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  ปี2552

                นายสุริยา  จันทร์สงค์  ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองนามิตรภาพที่ 201   ให้เกียรติเป็นประธานเข้าร่วมการทำแผนจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการ  พร้อมกล่าวต้อนรับ คณะผู้เข้าร่วมจัดทำแผน ดังกล่าว ด้วยความยินดี และได้แนะนำคณะครูที่รับผิดชอบโครงการ ดังกล่าว คือ อาจารย์บุญจันทร์  รุ่งฟ้า  และอาจารย์วาสนา  ชุมทอง

ตลอดจนแนะนำโรงเรียน ดังกล่าวด้วย

                นางกุหลาบ  ภัทรพงศ์ลิดก  สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้แนะนำผู้เข้าร่วมทำแผนจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการ  จากอำเภอกาญจนดิษฐ์ ได้แก่

1. นายสุทิน  เพชรพรหม                   ปศุสัตว์อำเภอกาญจนดิษฐ์

                2. นายศิวะ    ธนาพล                          ผู้ช่วยประมงอำเภอกาญจนดิษฐ์

                3. นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์                    สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

                4. นายธเรศ  ไข่มุกข์                            สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

                5. นายวีระ  พร้อมมูล                          สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

                6. นายธนาคม  พรหมเพ็ญ                สำนักงานเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์

และได้แนะนำแนวทางปฏิบัติในการจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  ปี 2552 และรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ปี 2552

อาจารย์บุญจันทร์  รุ่งฟ้า  ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ได้นำเสนอกิจกรรมที่จะดำเนินการ ได้แก่ การเพาะเห็ดนางฟ้าแบบถุงพลาสติก, การปลูกพืชผัก, การเลี้ยงกบคอนโด, การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์, การทำปุ๋ยหมัก และการปรับปรุงโรงเพาะเห็ด เป็นต้น

นายสุทิน  เพชรพรหม       ปศุสัตว์อำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้นำเสนอการเลี้ยงไก่เนื้อ, ไก่พื้นบ้าน และเป็ดเทศ

การเลี้ยงหมูหลุม  สำหรับการเลี้ยงไก่เนื้อ จะต้องใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 35-50 วัน แต่มีผลเสียคือ ต้นทุนการผลิตสูง

โดยทางผอ. สุริยา  จันทร์สงค์  ให้ความเห็นว่า ก่อนหน้านี้มีทางบริษัท จะมาสร้างโรงเรือน เพื่อเลี้ยงไก่เนื้อ บริเวณใกล้กับโรงเรียน และได้มีการทำประชาพิจารณ์ จากชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านไม่เห็นด้วย  หากจะมีการเลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรียนจะไม่เหมาะสม  ซึ่งทางปศุสัตว์อำเภอกาญจนดิษฐ์   ได้นำเสนอให้เลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยให้นักเรียนนำไปเลี้ยงที่บ้าน โดยมีการจัดหาโรงเรือน โดยไม่ต้องแพงมากนัก มีหลังคา และตาข่ายคลุม เช่น เลี้ยงโดยใช้ตัวผู้ 1 ตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัว  หรือ ตัวผู้ 2 ตัว ต่อตัวเมีย 10 ตัว  เป็นต้น

                 นายศิวะ  ธนาพล                ผู้ช่วยประมงอำเภอกาญจนดิษฐ์  ได้นำเสนอการเลี้ยงปลาดุก ในบ่อพลาสติก ขนาด 2x6 เมตร  เลี้ยงได้ประมาณ 1,000  ตัว  ค่าใช้จ่ายประมาณ  2,000  บาท  ใช้ระยะเวลาในเลี้ยงประมาณ  4 – 5 เดือน  จึงสามารถทยอยจับส่งตลาดได้

สรุปผลการจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  ดังนี้

พื้นที่ดำเนินการ  ประมาณ 4 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา

ด้านพืช

                1. การเพาะเห็ดนางฟ้าแบบถุงพลาสติก         จำนวน 3,000 ถุง  โรงเรือนกว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร

                2. การปลูกพืชผัก เช่น ปลูกพริก  มะเขือ

ด้านปศุสัตว์

1.       เลี้ยงไก่พื้นเมือง

ด้านประมง

                1. การเลี้ยงกบคอนโด         จำนวน 500 ตัว

                2. การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก                   จำนวน 1,000 ตัว  ขนาดบ่อ 2x6 เมตร

ด้านอื่นๆ

                1. การทำปุ๋ยหมัก                  ประมาณ 2,000  กิโลกรัม

และสุดท้าย ท่านผอ. สุริยา จันทร์สงค์  ได้นำผู้เข้าร่วมกันวางแผนจัดทำคำของบประมาณแบบบูรณาการ     เยี่ยมชม

กิจกรรมการเกษตรต่างๆ   ในโรงเรียนที่ได้ดำเนินการอยู่ เช่น  การเพาะเห็ด .  การเลี้ยงปลากินพืช , การทำปุ๋ยหมัก,การปลูกหญ้าแฝก เป็นต้น 

 

                                               

                                                                                                นายสิทธิชัย  ช่วยสงค์

                                                                                      นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4

 

 

หมายเลขบันทึก: 224270เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

หวัดดีครับ

  • บรรยากาศ เริ่มต้นดีมาก
  • น่าจะทำเป็นงานวิจัยด้วยนะ อาจจะได้ข้อมูลดีๆ

รู้สึกว่าคณะที่ทำงานทีมนี้จะขยันมาก ฝนตกน้ำท่วมก็ยังอุตส่าห์ทำเพื่อเกษตรกรคลื่นลูกใหม่ของเครือข่ายเกษตรเรา

รูปแบบที่ลงครั้งนี้ดูดีมาก เปิดดูแล้วดึงดูดความน่าสนใจได้เยอะ มีผู้ช่วยดีๆรึเปล่า ถึงออกมาOK

เพิ่งประชุมมานี่นา ลงเร็วจังเลย ถึงว่าได้รับคำชมมิขาด

บังเอิญเข้ามาเจอคะ ก็เลยได้ข่าวเพื่อนเก่า ท่านผอ.สุริยา จันทร์สงค์ ไม่ทราบว่าสบายดีหรือเปล่าคะท่าน

ฝากความคิดถึงไปยังอาจารย์บุปผา จันทร์สงค์ ด้วยนะคะ ว่างๆ แวะเข้ามาคุยกันบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท