อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

วิจัยในชั้นเรียน ควรเริ่มปลูกฝังแต่ครั้งเมื่อเป็นนักศึกษาครู


จึงอยากจะเรียกร้องให้ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยในชั้นเรียน ได้ช่วยกันให้ความรู้ ความเข้าใจกันให้มากๆเถิด เพราะในชั้นเรียนมีปัญหามากมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ

วันนี้... 18  พฤศจิกายน  คณะกรรมการสถานวิจัย  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงใหม่นัดประชุมเพื่อพิจารณา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของสถานวิจัยและ

พิจารณาโครงการที่จะดำเนินงานในปีงบประมาณ 2552

มีเรื่องหนึ่งที่ชวนคิดและอดนำมาเล่าสู่กันฟังไม่ได้  เรื่องนั้นคือ  การอบรมให้ความรู้เรื่องการวิจัย

ในชั้นเรียน ให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ นักศึกษาครุศาสตร์นับเป็นเรื่องที่ควรส่งเสริม สนับสนุนกันอย่าง

จริงจัง  ที่จะให้ว่าที่คุณครูพันธุ์ใหม่  มีความรู้และประสบการณ์  ในการทำวิจัยในชั้นเรียน ทั้ง

ด้านทฤษฎีและลองปฏิบัติ อย่างน้อยก็ฝึกหัดในระดับมินิ มินิเรื่องวิจัยในชั้นเรียน ได้กำหนดเป็น

ภาระงานของครูทุกคนในยุคปฏิรูป  ที่จะต้องดำเนินการอย่างน้อยปีละ  1  เรื่อง

และเมื่อครูทำวิจัยในชั้นเรียนมากๆ  ประโยชน์ที่เห็นชัดเจน คือ ปัญหาของนักเรียนได้รับการ

แก้ไขหรือพัฒนาอย่างเป็นระบบ อานิสงค์ของการพัฒนา ช่วยให้ครูเชี่ยวชาญหรือชำนาญการ

พิเศษ เป็นผู้รู้จริงแต่...ความจริงวันนี้ เราพบว่าครูจำนวนไม่น้อยยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง

การวิจัยในชั้นเรียนที่ถ่องแท้

การเข้ารับอบรมในระยะเวลาสั้น ๆ อาจจะไม่เพียงพอ ยิ่งได้รับ  Concept ที่ไม่ชัดเจนตามหลัก

วิชาการยิ่งทำให้ไขว้เขว  และนำไปขยาย บอกต่อ ๆ กัน ยิ่งน่าเป็นห่วง

ดังนั้น  สถาบันที่ผลิตครุศาสตรบัณฑิต หรือบัณพิตทางครู  หากให้ความสนใจ ให้ความสำคัญ

ของการสอนวิจัยในชั้นเรียน ในขณะที่ยังเรียนในระดับปริญญาตรี ระดับ ป.บัณฑิต คงจะช่วยให้

การทำวิจัยในชั้นเรียนแพร่หลาย และไม่ใช่เรื่องยากเป็นยาขมหม้อใหญ่  ที่ใครๆ ก็บ่นว่ายาก

เหมือนทุกวันนี้

และพอเห็นคำว่า "วิจัย" เริ่มท้อ  คิดว่าเป็นเรื่องยาก หรือรู้ได้เฉพาะกลุ่มคนที่เรียนวิชาเอก

วิชาโทด้านวิจัยเกิดเจตคติทางลบ  คิดจะทำผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ 

 เรื่องวิจัยในชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องยากยิ่งสิ่งเดียวสำหรับครูเสียจริงๆ

จึงอยากจะเรียกร้องให้ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยในชั้นเรียน  ได้ช่วยกันให้ความรู้ ความเข้าใจกัน

ให้มากๆเถิด

เพราะในชั้นเรียนมีปัญหามากมายที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข  อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 223966เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ศุภชัย ปานเกษม 50221143 กป50.ค5.01

สวัสดีครับอาจารย์อนงค์ศิริ อาจารย์ผู้ใจดี

    ผม นายศุภชัย ปานเกษม นักศึกษาภาคพิเศษ เสาร์ อาทิตย์ รหัส 50221143 การประถมศึกษา อาจารย์ได้ให้งานคือการอ่านบทความเรื่องอะไรก็ได้แล้วแสดงความคิดเห็น ผมไม่รู้ว่าเรื่องนี้คือหนึ่งในหลายๆ บทความหรือปล่าว

    เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ควรเริ่มปลูกฝังแต่ครั้งเมื่อเป็นนักศึกษาครู ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้ครูรู้และเข้าใจปัญหาของนักเรียนและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด การวิจัยในชั้นเรียนปัจจุบันครูเริ่มมีการเบื่อหน่ายในเรื่องการวิจัยมาก เพราะทั้งงานภาระด้านการสอน งานพิเศษที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งจะให้ครูมาทำวิจัยอีก ครูหลายคนคงมีความคิดที่เบื่อหน่ายและเหนือยล้า แต่การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และเป็นรูปธรรมที่สุด ครูควรทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง สำหรับการปลูกฝังให้นักศึกษาครูหัดทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยปกติที่ผมบได้เห็นรุ่นพี่ปี 4 เขาได้อบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนกัน ก่อนที่จะลงฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา แต่ผมคิดว่าควรจะฝึกให้กับนักศึกษาตั้งแต่ระดับปีที่ 3 เป็นต้นไป เพราะการทำวิจัยบ่อยๆ ครั้ง จะทำให้นักศึกษาเชี่ยวชาญ และคุ้นเคย เสาะหาปัญหาใหม่ที่จะวิจัย ดีกว่าไปเริ่มต้นตอนปีที่ 4 ผมว่ามันช้าไปนะครับ ทางที่ดีตั้งแต่ปี 3 เลยจะดีที่สุด

เรียนอาจารย์อนงค์ศิริ

ดิฉันนักศึกษาป.บัณฑิต sec.04 รหัส52741434

ดิฉันเห็นด้วยคะกับการที่จะปลูกฝังการวิจัยในชั้นเรียนให้กับนักศึกษาครูเพราะปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าครูที่ได้ทำการวิจัยครูนั้นไม่มีความรู้ด้านการทำวิจัย เมื่อเห็นคำว่าวิจัยจึงคิดว่าเป็นเรื่องที่ยาก และบางทีทำให้ประเด็นในการวิจัยต่างๆไขว้เขว ก่อให้เกิดผลเสียกับเด็กหรือในการทำวิจัยนั้นไม่ได้ก่อประโยชน์ให้นักเรียนเท่าที่ควร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท