พบกันทุกวันอังคารกับเลขาธิการ กพฐ. : Lifelong Learning for All : How long to get there


สังคมได้เคลื่อนจากสังคมที่มีการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารที่ทำให้มีการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง เป็น Information Society "สังคมข่าวสารข้อมูล" ไปสู่สังคมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ หรือ Knowledge Societies มากยิ่งขึ้นในสังคม ซึ่งเป็น "สังคมอุดมปัญญา" การศึกษาจะต้องไม่จำกัดอยู่เฉพาะเด็กในโรงเรียน แต่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือทำให้เกิด Learning Societies "สังคมแห่งการเรียนรู้" การเรียนในโรงเรียนเองก็จะต้องปรับเปลี่ยนจาก การเน้นเนื้อหาสาระไปสู่การเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn)

          อดไม่ได้ที่จะต้องเก็บตกบทความจากคอลัมภ์ "พบกันวันอังคาร" ของ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาเล่าสู่กันฟังอีก ... ก็อ่านจากที่ท่านสรุปมันเห็นภาพชั้ด ชัด จนอดที่จะเอามาบอกต่อไม่ได้ (กลัวว่าท่านจะลืมที่เข้าไปอ่านเองที่ http://www.obec.go.th/new/kasama/ )

          เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ท่านเขียนขึ้นจากการที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมอภิปรายเรื่อง "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งท่านว่า "ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ประเทศในกลุ่ม OECD หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะทุกประเทศในยุโรปได้พยายามหาวิธีการให้เยาวชนช่วงอายุ 16-18 ปี หรือในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เรียนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่การทำงาน น่าจะมีรูปแบบดีๆ สำหรับการศึกษาในช่วงชั้นที่ 4 ของเรา"  และท่านได้สรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการร่วมอภิปรายในครั้งให้พวกเรา (บุคลากรในสังกัด สพฐ.) ได้เรียนรู้ ดังนี้

          การเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นได้มีการพูดถึงมาช้านานไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ หรือระดับโลก แต่ยังไม่ค่อยปรากฏผลเป็นรูปธรรมในการประชุมที่องค์การ UNESCO ครั้งนี้ถึงกับตั้งหัวข้อว่า Lifelong Learning for All : How long to get there ? ผู้ร่วมอภิปรายได้ชี้ให้เห็นว่า สังคมได้เคลื่อนจากสังคมที่มีการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมและการสื่อสารที่ทำให้มีการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลกันอย่างกว้างขวาง เป็น Information Society "สังคมข่าวสารข้อมูล" ไปสู่สังคมที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ หรือ Knowledge Societies มากยิ่งขึ้นในสังคม ซึ่งเป็น "สังคมอุดมปัญญา" ตามภาษาที่สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติใช้  การศึกษาจะต้องไม่จำกัดอยู่เฉพาะเด็กในโรงเรียน แต่จะต้องส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือทำให้เกิด Learning Societies "สังคมแห่งการเรียนรู้" การเรียนในโรงเรียนเองก็จะต้องปรับเปลี่ยนจาก การเน้นเนื้อหาสาระไปสู่การเรียนรู้วิธีเรียน (Learning How to Learn)

          ผู้อภิปรายที่น่าสนใจท่านหนึ่งมาจากกลุ่มประเทศในยุโรป  ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก เพราะคาดหวังว่าจะมีการสร้างงานที่ใช้ความรู้ความสามารถระดับสูงเกิดขึ้นในยุโรป และการลดงานประเภทงานประจำที่ใช้แรงงานระดับล่างหรือกลางลงมาตามลำดับ  ประเทศในกลุ่ม EU จึงกำหนดเป็นนโยบายที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และส่งเสริมการเคลื่อนย้ายของแรงงาน  เร่งรัดยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ ส่งเสริมความเสมอภาค และการเป็นพลเมืองดี และถือเป็นพันธมิตรที่จะส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์  ผู้อภิปรายได้แสดงข้อมูลเพื่อปลุกเร้าให้ประเทศในยุโรปให้ความสำคัญในเรื่องนี้ เช่น เปรียบเทียบว่า เยาวชน 1 ใน 5 ยังอ่านหนังสือในระดับที่ใช้การในสังคมสมัยใหม่ไม่ได้ดี หรือ เยาวชน 1 ใน 7 ที่อายุ 18-24 ปี จบเพียงแค่ ม.ปลาย และเพียงร้อยละ 60 ที่เข้าอุดมศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ได้เรียนถึงร้อยละ 80 อีกทั้งประเทศจีนยังผลิตบัณฑิตด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มากกว่ายุโรป ถึง 2 เท่า

          ประเทศยุโรปจึงเน้นการวางพื้นฐานที่โรงเรียนให้มีคุณภาพและมั่นคงตั้งแต่อนุบาลขึ้นไป แก้ปัญหาการออกกลางคันให้ได้ เขาถึงกับเสนอตัวเลขว่า ถ้าเด็กทุกคนอยู่จนจบ ม.ปลาย ประสิทธิภาพในการผลิตจะเพิ่มถึงร้อยละ 1.4 นอกจากนี้ ยังมีนโยบายปรับอุดมศึกษาให้เปิดประตูที่กว้างขวางขึ้นสำหรับนักศึกษาหลากหลายกลุ่มอายุที่จะกลับเข้าไปเรียน แก้ปัญหาการตกในปีที่หนึ่ง การอุดมศึกษาต้องเป็นส่วนสำคัญของโซ่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          ที่น่าสนใจยิ่ง คือ การที่กลุ่มประเทศยุโรปได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานวิชาชีพเพื่อประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียน ไม่ว่าจะเรียนด้วยรูปแบบใด ซึ่งจะช่วยให้การเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้รับการยอมรับ และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังกำหนดคุณลักษณะอื่น ๆ ที่พึงประสงค์ ทั้งทักษะทางด้านเทคนิคที่ใช้วัดโดยมาตรฐานดังกล่าว คือ ความสามารถในการเรียนรู้ ความสามารถในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งถือว่า เป็นหัวใจสำคัญของประชาชนในกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งความสามารถของการสื่อสารและภาษา ในการส่งเสริม "สังคมอุดมปัญญา" หรือ Knowledge Societies ได้มีข้อเสนอดังนี้

          1. จะต้องมีการลงทุนทั้งโดยรัฐบาลและผ่านความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาองค์ความรู้ วางระบบที่จะประกันคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การจัดโอกาสในการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นหลากหลาย

          2. จะต้องเพิ่มแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงองค์ความรู้อย่างทั่วถึงมากขึ้น

          3. จะต้องขยายเนื้อหาสาระขององค์ความรู้ ให้ประชาชนเข้าถึงอย่างหลากหลายและกว้างขวาง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัย  สถาบันการวิจัย  พิพิธภัณฑ์  และแหล่งผลิตความรู้อื่น ๆ

          4. จะต้องส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และต่อยอดองค์ความรู้

          5. จะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นหลักประกันของการพัฒนาที่ยั่งยืน

          6. สังคมอุดมปัญญา  จะต้องให้ความสำคัญแก่ความหลากหลายทางภาษา ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาที่หลากหลายในโรงเรียน ในชุมชน พยายามดูแลรักษาท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านภาษาที่หลากหลาย

          7. ควรมีการวางมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพของเนื้อหาสาระที่เผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความมั่นใจในความน่าเชื่อถือ

          8. เชื่อมเครือข่ายระหว่างองค์กร ควรใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกัน และเชื่อมต่อกัน

          9. ส่งเสริมให้ผู้หญิงได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา

         10. พิจารณากำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ ของสังคมอุดมปัญญา

          สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้อตกลงที่กรุงดาร์กา (DAKAR) ประเทศเซเนกัล ได้กำหนดเป้าหมายของการศึกษาเพื่อปวงชน (DAKAR : The Six Goals For EFA) ไว้ 6 ข้อ ได้แก่

          1. ต้องจัดการเลี้ยงดูและการศึกษาปฐมวัย

          2. ต้องจัดการประถมศึกษาให้ทั่วถึง

          3. ต้องจัดการศึกษาสำหรับเยาวชนนอกโรงเรียนและผู้ใหญ่

          4. ต้องจัดให้อ่านออกเขียนได้

          5. ให้ความเสมอภาคระหว่างเพศ ชาย - หญิง

          6. ต้องจัดให้มีคุณภาพ

           อ่านมาถึงตรงนี้ ก็พอจะใจชื้นว่า สพฐ. เราก็พัฒนาการศึกษามาถูกทางแล้ว เราทำกันอยู่ในทุกเรื่องที่ประเทศอื่น ๆ ทำ เพียงแต่ว่า องค์กรของเรา "ใหญ๋เหลือเกิน" งบประมาณที่ได้เพื่อการพัฒนาการจัดการ การให้บริหารทางการศึกษา ซึ่งมักจะถูกหาว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับงบประมาณมากเป็นอันดับต้น ๆ ของกระทรวงอื่น ๆ เมื่อแบ่งปันมาถึง สพฐ. แล้ว ก็นับว่าน้อยนิด เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ถูกใช้จ่ายเป็นเงินเดือนของบุคลากรในสังกัด (ขนาดนี้  สพฐ. ก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนครู)  งบพัฒนาคุณภาพ งบค่าที่ดินสิ่งก่อสร้าง ... ไม่ต้องพูดถึง ... ยังต้องเข้าคิวรอกันย้าวยาวสำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลนห้องเรียน ... ดังนั้น ... สิ่งที่เราชาว สพฐ. พอจะทำได้ ก็คือ "ช่วยกัน ช่วยกัน พัฒนาให้เด็กไทย มีคุณภาพ ยิ่ง ๆ ขึ้น " เพื่อที่ในอนาคตพวกเข้าจะช่วยสานฝันให้ประเทศไทยของเรา เป็น "สังคมอุดมปัญญา" ที่มีคุณภาพ คนในชาติรักใคร่ปรองดองกัน (กว่านี้)

 

หมายเลขบันทึก: 223894เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ตั้งใจแวะมารับความรู้เต็มๆ

ใช่แล้วทุกคนควรร่วมใจพัฒนา ตั้งใจพัฒนาเพื่อเด็กไทยจะได้มีคุณภาพทัดเทียมประเทศอื่นๆ

สู้...สู้...

ศึกษานิเทศก์รับปากก็เบาใจ...คุณครูล่ะคะ สู้มั้ย...

สงสัยจังว่าการจัดการศึกษาที่ โน่น เค้าลืม เรื่องการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมหรือ เปล่า รึว่าคน ในประ เทศของ เค้า เต็ม เปี่ยม ใน เรื่องนี้อยู่ แล้ว เลย ไม่ต้อง เน้น

ก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกันตั้งแต่เรียนมาก็หลายระบบอยู่ไทยก็แล้วยุโรปก็ผ่านจนเห็นว่าระบบการเรียนของยุโรปตอนนี้ก็จะเอาระบบเอเซียนมาใช้ที่ว่าคือระบบเก็บค่าเล่าเรียนเพราะว่าเรียนกันตลอดชีพรัฐคงจะต้องรัดเข็มขัดการแบกภาระที่จะแข่งบ้านเราก็คงจะไม่ได้คือเรามีวัดเป็นที่กินนอนเรียนรู้กันตลอดชีพไม่มีกฏข้อบังคับนอกจากสิ่งที่ออกมาจากใจที่เขาเรียกกันว่าน้ำใจ??????????????

หายไปนานมากๆ

สบายดีไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท