คำพ้อง ไทย-มลายู (๘) กำบัง-กึมบัง : บาน แผ่ขยาย


ก่อนจะพูดถึงคำว่า กำบังหรือกึมบัง ขอพูดสิ่งที่เกิดในชีวิตผมทุกวันนี้ก่อน

ผมยังต้องนั่งนอนอยู่ จะลุกไปไหนมาไหนยังไม่ได้ เวลาจะทานข้าวแน่นอนจะต้องล้างมือก่อน แต่ผมเดินไปล้างมือไม่ได้ ก็ต้องบอกลูกๆให้ช่วยล้างมือ และหยิบกือโตเป็นภาชนะรองน้ำล้างมือมาด้วย

ปกติแล้วลูกๆเวลาเรียกสิ่งของด้วยภาษามลายูบางครั้งต้องอธิบายหรือไม่ก็ต้องแปลไทย (บางคนตอนนี้กำลังมีปัญหาถนัดภาษาไทยมากจนลืมภาษาแม่) แต่พอพูดคำว่า กือโต เขาจะเข้าใจทันที อาจจะเป็นเพราะสิ่งทีใช้เป็นประจำ..หรือว่า เพราะมันไปพ้องกับภาษาไทย

กือโต ถ้าจะเขียนด้วยภาษามาเลย์แล้วน่าจะเป็น ketor และผมหาคำนี้ใน kamus(พจนานุกรมมาเลเซีย) ไม่เจอ ก็เลยคิดว่าภาคใต้บ้านเราน่าจะเรียกชื่อภาชนะนี้เป็นภาษาไทยแต่เพี้ยนด้วยสำเนียงท้องถิ่น กือโต ก็คือ กระโถน

กระโถน น. ภาชนะสําหรับบ้วนหรือทิ้งของต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการ.(เทียบ ข. กนฺโถรฺ).

หรือว่า กือโต มาจากคำว่า Kotor (โกโตร์) แปลว่าสกปรก

บางคนเขาว่า มาจากภาษา ฮินดู อินเดีย กโฏรา แปลว่า ชาม ถ้วย

(ส่วนคนมาเลย์ อินโดนีเวีย เขาเรียกกระโถนนี้ว่าอย่างไรนั้น ผมยังไม่ได้ถามคนที่เคยอยู่มาเลย์หรืออินโด)

 

ขอพูดถึงคำที่ตั้งเป็นหัวข้อในวันนี้

กำบัง ตามพจนานุกรม มี ๓ ความหมาย

      - ก. บัง เช่น หาที่กําบังฝน,

- น. ช่อดอกไม้. (ช.).

- น. ชื่อว่านต้นดั่งกระชาย

kemban บาน เช่น การบานของดอกไม้

ตามบ้านเราในสามจังหวัดปกติแล้วจะเรียกตามสำเนียงบ้านๆว่า กือแม อะไรที่บานออกก็จะเรียกว่ากือแม ฟองน้ำที่ดูดซับน้ำจนพองก็จะเรียกว่ากือแม การแผ่ขยายออกไปก็ กือแม  

 

คำสำคัญ (Tags): #กำบัง#บัง#บาน
หมายเลขบันทึก: 223257เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาเรียนภาษาค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

ตามมาเรียนภาษามลายู

ชอบมาก

ขอบคุณนะคะ..ขอให้หายเร็วๆ

Ketur ไม่ใช่ ketorใน Kamus Dewan Bahasa Melayu ให้ความหมายว่า tempat ludah หรือถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือภาชนะหรือที่สำหรับถ่มน้ำลายใน Kamus Besar Bahasa Indonesia Edisi Lima ให้ความหมายว่า tempat ludah (ketika makan sirih dan sebagainya); peludahan; tempolong. ก็ความหมายเดียวกันครับแค่อธิบายยาวหน่อยสรุปครับ คำว่ากือโต คนบ้านเราไม่ได้เรียกตามภาษาไทยครับ และเวลาหาข้อมูลอยากให้สะกดคำให้ถูกก่อนหาถึงจะเจอง่ายครับ การออกเสียงของคนบ้านเราอาจจะทำให้เราหลงทางได้ครับ แต่ถ้าเอาจริงๆแล้วก็มีกฎของการเปลี่ยนแปลง ถ้าสังเกตุดีๆ สามารถเขียนมาเป็นเล่มเลยครับ

คำว่า “บาน” ที่หมายความว่าแผ่ ขยาย คนบ้านเราเรียก “กือแม” (คำนี้ออกเสียงค่อนข้างที่จะยากสำหรับไม่ใช่เจ้าของภาษา เพราะพยางค์ที่ 2 ออกเสียงกึ่งระหว่าง ม กับ บ คือออกคล้ายๆ ม แต่ไม่ขึ้นนาสิก ถ้าออกเสียง “กือแม” ตรงๆ หมายความว่าต้นไมยราบ (keman) และถ้าออกเสียง “กือแบ” หมายความว่า อม (kebam)) มาเลย์และอินโดเขียนว่า kembang อ่านว่า กึมบัง. ข้อมูลด้านบนสะกดผิดอยู่ครับ ลงท้ายด้วย ng คือเทียบได้กับเสียง ง ในภาษาไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท