หน้าที่ของมหาวิทยาลัย


หน้าที่วิจัยและสร้างบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมันพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดยั้ง    ค่ำวันที่ ๒๗ ต.ค. ๕๑ ในวงอาหารค่ำที่ศูนย์ประชุมของมูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเล่อร์ ที่ เบลลาจิโอ   เราคุยกันเรื่อง สุขภาพโลก” (Global Health)    โยงออกไปถึงการที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา รับทุน ไปดำเนินการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศยากจน (ส่วนใหญ่ในอัฟริกา)

 

เกิดคำถามว่าเป็นการทำหน้าที่ด้านไหน   งานนี้เป็นงานวิจัยแบบ action research หรือเปล่า   หรือเป็นงานชนิดที่เรียกว่า consultancy จากแหล่งทุน   ซึ่งตอนนี้ฟู่ฟ่ามากจาก Gates Foundation ที่ใช้คำว่า Global Health   จึงมีการตั้งสถาบันใน มหาวิทยาลัยต่างๆ ใน สรอ. ในชื่อที่มีคำว่า Global Health   เช่น Duke Global Health Institute   เพื่อให้ตรงกับแหล่งทุน วงการวิชาการด้านสาธารณสุขหายใจเป็น Global Health

 

มหาวิทยาลัยทำงานตอบสนองแหล่งทุน   แหล่งทุนให้ทุนวิจัย ก็รับทำงานวิจัย    แหล่งทุนให้ทุนไปทำงานพัฒนาประเทศยากจน ก็รับทำงานพัฒนา    โดยที่ตัวมหาวิทยา ลัยเองก็ต้องมีเกณฑ์ประเมินการทำหน้าที่ของอาจารย์    จึงเกิดคำถามขึ้น ว่าจะวัดการทำหน้าที่พัฒนาประเทศยากจนอย่างไร

 

คำตอบของผมง่าย   มหาวิทยาลัยไม่ให้คุณค่าการทำงานแบบใช้กล้ามเนื้อ (brawl)   แต่ให้คุณค่าการทำงานแบบใช้สมอง (brain)   ดังนั้น ไม่ว่าไปทำงานอะไร อาจารย์ต้องพิสูจน์ให้ได้ ว่าตนเรียนรู้อะไรเพิ่มขึ้น และได้นำเอาความรู้นั้นมาเผยแพร่ต่อยอดองค์ความรู้สากลในด้านนั้นๆ อย่างไร

การทำงานพัฒนาก็ต้องใช้สมอง   และสามารถวัดหรือบันทึกข้อมูลต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เพื่อเอามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นความรู้ใหม่ ได้

 

วิจารณ์ พานิช

๓๑ ต.ค. ๕๑

เบลลาจิโอ

หมายเลขบันทึก: 222563เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท