โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

แปลกแต่จริงปนงง พลังจากการกอด และเห็นคนกอดกันกลม (เกลียว)


เคยได้ยินมานานแล้ว การกอดบำบัด การสัมผัสเยียวยาจิตใจได้

     ที่บอกว่าแปลกก็เพราะ เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ไปร่วมงาน พบปะชาวบล็อก มา วัฒนธรรมการกอด แสดงออกอย่างเด่นชัดมาก เหมือนกับกลุ่มที่ไปสัมมนา dialog กัน แต่ตัวเองก็ยังไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่

    คืนนั้น กลับมาเขียนบันทึก และมีผู้ร่วมงานด้วยกันนำรูปมาแสดง มีแต่รูปคนกอดกัน

    วันรุ่งขึ้นมีคนนำนิตยสารชีวจิต มาส่งให้ เพราะเป็นสมาชิก อยู่ วางอยู่ครึ่งวัน หยิบมาดู อะไรกันนี่ ตามไปทุกที่เลยยยยง่ะ

     จ่าหัวข้อหน้าปก " 9 วิธีกอดบำบัดโรค" ฉบับวันที่ 1 พ.ย. เผื่อใครสนใจ ลองซื้อมาอ่าน น่าจะยังหาซื้อได้ค่ะ

    ตัวโปรยที่น่าสนใจ ด้านในหนังสือ ว่าไว้ดังนี้ "เมื่อจะต้องกอดใครสักคนเพื่อเยียวยาอาการความผิดปกติต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องมาจากขาดการกอดหรือการสัมผัส ต้องมั่นใจว่าการกอดของเราไม่ทำให้เขารู้สึกอึดอัดหรือเจ็บปวด"

    ผิวหนังของเราถือว่าเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่มีพื้นที่มากที่สุด ประกอบกับเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงทำให้เรารับสัมผัสได้นั้นมีจำนวนนับล้านล้านเส้น การสัมผัส หรือ การกอดจึงเป็นการสื่อสารกันได้ ยิ่งผู้ที่สัมผัสกันมีพลังความรัก ความเมตตา ห่วงใยมอบให้ ผู้รับก็จะรับได้ เปรียบเหมือนการฟังและได้ยินเสียงภายในตัวตน จิตใจของอีกฝ่ายหนึ่ง

    ผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ที่แสดงความรักด้วยการกอด ก็จะสามารถเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรักให้ผู้อื่นได้ด้วยการกอดเช่นกัน ตรงข้ามเด็กที่เติบโตมาแบบ พ่อแม่ไม่เคยกอด หรือเด็กที่โตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ก็ต้องใช้เวลาเหมือนกันถ้าจะต้องให้กอดคนอื่น

    เวลาไปเลี้ยงเด็กที่ถูกทอดทิ้ง จะเห็นว่าพวกเขาโหยหาสิ่งเหล่านี้มาก บางคนจะมารุมทึ้งเรียกให้คนที่ไปเยี่ยมพวกเขาช่วยกอดเขาหน่อย การที่น้อง หนู เหล่านี้ได้รับตุ๊กตาหมีเป็นของเล่น นี่ก็อาจจะช่วยชดเชยและให้ความอบอุ่นแก่พวกเขาได้ ในบทความบอกว่า คนที่ไม่ค่อยได้รับการกอด จะชอบกอดตุ๊กตา หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง

    ในแวดวงชาวบล็อกที่พบกันวันนั้น ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ดี เพราะในนิตยสารชีวจิตเล่มนี้ยังบอกว่า

 "การกอดเป็นของขวัญชิ้นเยี่ยม เหมาะสำหรับทุกโอกาส มอบให้บุคคลพิเศษเพื่อแสดงความห่วงใย...."

แสดงว่าทุกท่านเป็นบุคคลพิเศษซึ่งกันและกันจริงๆ  จากท่าที่เห็นมากที่สุด คือ กอดแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ เขาบอกว่า อันนี้เป็นการถ่ายทอดความเอื้ออาทรให้กันและกันค่ะ  ส่วนท่าที่จะช่วยถ่ายทอดพลังให้แก่กันและกัน เรียกว่า Bear Hug หรือกอดแบบหมี แต่ต้องใช้เวลาประมาณครั้งละ 5-10 วินาทีค่ะ

    ยังไงเสีย พบกันครั้งหน้า จะตั้งใจ ตั้งท่า ให้ดีกว่านี้ เพื่อให้การกอดบุคคลพิเศษของเรา มีความหมายมากยิ่งขึ้นค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 222035เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

โอ้โห ครูโย่ง นี่ไวมาก เป็นตัวจับจองพื้นที่ได้รวดเร็วก่อนใคร ระวังต้องจ่ายเงินดาวน์เยอะนะคะ ยังไงพี่ก็ขอขอบคุณนะคะ ดีเหมือนกันค่ะ กอดกันทาง electronic

แบบนี้เรียก e-hug 555...

โห

อีฮัก

เวิร์ค

ศัพท์นี้

โอเคเลย

ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีค่ะ แวะมากอดร่วมกับครูโย่งค่ะ ขอให้มีความสุขมาก ๆ น่ะค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ P  สุนันทา


ขอบพระคุณหลายๆ ค่ะพี่สาวคนสวย รู้สึกอบอุ่นมากค่ะ ตอนนี้ลมหนาวมาเยือนแล้ว รักษาสุขภาพด้วยนะคะพี่นัน

ทุกคนกอดด้วยใจ  จึงง่ายต่อการกอดไง

กอดดดดดดดดดดดดดดดดด ด้วยคนค่ะ อิอิ

                                  ...one of best hugs I've ever got...

สวัสดีค่ะ คุณลุงเอก น้องจิ และน้องครูปู

แวะมากอดกันใหญ่ รูป พี่รุ่งกับน้องปู เห็นแล้วอบอุ่นมากค่ะ อย่างงี้เรียกว่ากอดด้วยใจ แบบที่ลุงเอกว่าเลย ใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะ พี่ส้ม..อิอิ...กอดๆๆๆๆ มีรูปกอดมาฝากเจ้าค่ะ พี่คิดถึงๆๆๆค่ะ

 

 

  • ธุค่ะ..

ต้อมเองก็ไม่คุ้นกับวัฒนธรรมการกอดค่ะ   คงเพราะโลกส่วนตัวสูงลิบลิ่วด้วย  ^^  แต่เป็นคนที่เชื่อในเรื่องของ "สัมผัสบำบัด" นะคะ     เจอกอดครั้งแรกจากพี่ใน g2k  ยังบอกเธอไปเลยว่า.. "มือต้อมเย็นเฉียบเลย  ไม่เชื่อจับดูสิคะ  ขนลุกด้วย.."  อิอิ  ก็ขี้อายนี่นา

แต่กอด  ก๊อด..ด..ด ผ่านตัวหนังสือนี่..ถนัดค่ะ ^^ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท