ทุกข์ของคนต้นน้ำ กรณีบ้านสะจุก - สะเกี้ยง


การพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างพอเพียงมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อม

ทุกข์ของคนต้นน้ำ กรณีบ้านสะจุก - สะเกี้ยง

 

ว่างเว้นไปเป็นปีอยากจะเก็บสิ่งดีๆมาฝากเพื่อนพ้องน้องพี่ชาว GO TO KNOW ด้วยเรื่องโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เป็นโครงการที่เกิดจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป้าหมายหลักของโครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน  เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพป่าต้นน้ำลำธารให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน  เน้นการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างพอเพียงมีความสมดุลกับสิ่งแวดล้อมและเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรและชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และมีความสามารถในการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร  การจัดการทรัพยากรการผลิต การบริหารการจัดการทุนขององค์กรเกษตรกรให้เกิดความเหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน  มีการประกอบอาชีพการเกษตรอย่างถูกวิธี โดยอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาตามปรัชญา  เศรษฐกิจพอเพียง  พึ่งพาตนเองได้ อย่างมั่นคง สามารถอยู่กับป่าได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืนส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาครอบครัวเกษตรกรให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อร่วมมือกันในด้านการประกอบอาชีพและการบริหารจัดการตลอดจนสนับสนุนให้เกิดผู้นำเกษตรกรที่มีความสามารถเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มได้ โดยมีวัตถุประสงค์

v ส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคเพียงพอและมีคุณค่าด้านโภชนาการ

v เพื่อพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

v ส่งเสริมให้แม่บ้านมีการรวมกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและมีรายได้

จังหวัดน่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ดำเนินโครงการนี้ที่หมู่บ้านสะจุก- สะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และมีหมู่บ้านบริวารอื่นๆ ในตำบลขุนน่าน    อีก 12 หมู่บ้าน

                หมู่บ้านสะจุก - สะเกี้ยง สมัยเมื่อมีความขัดแย้งทางความคิด ประมาณปี 2510-2526 เป็นพื้นที่

สีแดงที่มีการต่อสู้แย่งชิงมวลชน ผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้เป็นพี่น้องชาวไทยเผ่าลัวะ แน่นอนว่าเมื่อครั้งอดีตยังมีความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า คนอาศัยอยู่กับป่าอย่างมีความสุข ป่าเปรียบเสมือนซุปเปอร์

มาเก็ตของคนที่นี่ และพื้นที่เหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน้อยใหญ่หลายสาย โดยเฉพาะแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของแม่น้ำ 4 สาย ทั้งสองหมู่บ้านนี้อยู่ในระดับความสูงประมาณ 1,300-1,700 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่ปัจจุบันคงเหลือเพียงแต่คำเล่าขานจากผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน เนื่องป่าไม้ถูกทำลายเพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำกิน ส่วนใหญ่ของคนที่นี่ปลูกข้าวไร่เพื่อการบริโภคในครอบครัว

                ถึงแม้ว่าป่าจะถูกทำลาย ภูเขาลูกแล้ว ลูกเล่ามีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น แต่สิ่งหนึ่งที่คนภายนอกอย่างเราๆมองเห็นคือ ความอดทน ต่อความเป็นอยู่ที่ยากจน แร้นแค้น ถึงหน้าหนาวหนาวจัด หน้าร้อนจัด หน้าฝนการติดต่อกับโลกภายนอกค่อนข้างลำบากเนื่องจากเส้นทางคมนาคมที่คดเคี้ยวและสูงชัน ทำให้ชาวบ้านที่นี่ มีทางเลือกไม่มากนัก ต้องยกนิ้วให้ถึงความอดทนและต่อสู้เพื่อจะอยู่ให้ได้ในโลกใบนี้ และด้วยความช่วยเหลือของสถานีพัฒนาเกษตรที่สูงสะจุก-สะเกี้ยง ตามพระราชดำริ ที่มีหลายหน่วยงานเข้ามามีส่วนร่วมการทำงาน และมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านทำนาแบบขั้นไดตามซอกหิน เท่าสังเกตเห็นมีน้ำค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ก็เกรงว่าถ้าฝนตกหนักมากๆการไหลบ่าของน้ำจะรุนแรง เพราะมีความลาดชันสูง  ส่วนการทำนาแบบขั้นบันไดตามซอกหิน เห็นแล้วก็น่าทึ่งกับความพยายามของชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สามารถชักชวนให้ชาวบ้านคล้อยตามทั้งๆที่วัฒนธรรมของพี่น้องชาวไทยเผ่าลัวะไม่เคยทำนา เพราะข้อจำกัดของสภาพภูมิประเทศ  

จากคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าการทำนาลักษณะนี้ให้ผลผลิตสูงกว่าการทำไร่ทั่วๆไป แต่ต้องใช้เวลาในการขุด ซึ่งชาวบ้านบอกว่าขณะที่มีความพยายามจะใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ต้องใช้เวลา แต่พวกเขายังมีคนในครอบครัวอีกหลายคนยังรอความช่วยเหลือ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องทำไร่ในสภาพที่เห็น คือต้องตัดไม้และเผาป่า บนภูเขาเป็นลูกๆ เพื่อให้มีข้าวพอกินตลอดทั้งปี นี่คือความจริงที่เจ็บปวดและเป็นทุกข์ของคนต้นน้ำ  ในขณะเดียวกันคนที่นี่กลับถูกเรียกร้องให้หยุดการเผาป่า หยุดทำไร่เลื่อนลอย ทางกลับกัน คนกลางน้ำ ปลายน้ำ กลับทำนาได้ 2 ปี 5 ครั้ง มีการผลิตข้าวเพื่อการค้าและหาวิธีการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงสุด ความแตกต่างที่เกิดขึ้นไม่รู้จะโทษใครนอกจากโชคชะตา 

ในฐานะคนทำงานพื้นที่ รู้  เห็น และเข้าใจ กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามอย่างเต็มที่ที่จะประสานการทำงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าพี่น้องชาวบ้านและหน่วยงานที่จะไปช่วยสนับสนุนในพื้นที่ สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตและควรกระทำอย่างยิ่ง ก็คือ การสร้างความเข้าใจกับพี่น้องชาวบ้าน ให้เขาได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนและไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องยอมรับรับการตัดสินใจของชุมชน จึงจะทำให้การทำงานบังเกิดผลเป็นรูปธรรม ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาทุกหน่วยงานต่างมุ่งหวังที่จะให้ความเป็นอยู่ของพี่น้องชาวบ้านที่นี่ดีขึ้น แต่ลืมนึกถึงความเป็นจริงว่า คนเหล่านี้ต้องทำมากิน 

ดังนั้นการทำงานเชิงบูรณาการและการคิดอย่างเป็นระบบ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับการทำงานในโครงการพระราชดำริเพื่อตอบสนองเบื้องพระยุคลบาท และเพื่อความอยู่ดีกินดีของพี่น้องชาวไทยพื้นที่สูง

 

                                                                                                               

               

               

 

 

หมายเลขบันทึก: 220691เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2008 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีครับ
  • ยินดีต้อนรับการกลับมาอีกครั้งครับ
  • อิอิ....สบายดีนะครับ

สวัสดีครับ

  • หน้าฝน รถขึ้นไปได้หรือยัง ครับ หรือยังต้องใช้ 2 ล้อ ของเรา เหมือนเดิม ครับ

เป็นคนนึงที่ทำงานอยู่ในพื้นที่..ก็จะพยายามทำให้ดีที่สุดครับ

เด็กฝึกงานราชมงคล

ผมอยากรู้ว่าถ้าเราไปลงหน้าโรงเรียนบ่อเกลือที่หน้าจุดขึ้น-ลงรถแล้วเราจะทำยังไงขึ้นไปหรือครับ

จะได้เดินขึ้นไปหรือว่าพวกพี่ๆๆจะลงมารับครับ

ขอบคุณคะที่เปิดหาข้อมูลสะจุกสะเกี้ยงแล้วเจอป้าในหน้านี้ กระตุ๊กต่อมงานเขียนให้สำเร็จแล้ว

ติดต่อขอกล้าหญ้าแฝกจากโครงการเกษตรที่สูงสะจุก - สะเกี้ยง ได้อย่างไรคะ ไม่ทราบว่าต้องเขียนโครงการขอด้วยตัวเองหรือเปล่า พอดีหนูอยู่บ้านสะเกี้ยง มีความต้องการที่จะขอกล้าหญ้าแฝก เพื่อที่จะนำมาปลูกที่ต้นน้ำแถวบ้าน แต่ไม่รู้จะขอได้ที่ไหน ขอให้ท่านช่วยติดต่อหากล้าให้ด้วยได้ไหมคะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าด้วยนะคะ

เจนจิรา บัวเหล็ก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท