เภสัชกรยิปซี : ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์


เธอถูกถามทันทีว่า เราจะได้อะไร จากการช่วยเหลือครั้งนี้ เธอตอบว่า ไม่ได้อะไรเลย เป็นเรื่องมนุษยธรรม เพียงช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เธอแปลกใจว่า คำตอบดังกล่าว ไม่ได้ทำให้คนเหล่านั้นเข้าใจเลยว่า เวลาจะทำอะไร ทำไมต้องหวังผลจากการกระทำ ทำไมต้องคิดว่าจะเสียอะไร หรือจะได้อะไร

(ภาพ : ปกหนังสือ)

เมื่อคืน รายการทีวีช่อง 7 นำเสนอเรื่องราวของเภสัชกรยิปซี ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ผมเคยอ่าน และได้บันทึกไว้ ใน"ทำงานเอาหน้ากับตัวอย่างดีๆจากหนังสือ 2 เล่ม" ชอบและประทับใจชีวิตเธอมาก ที่สำคัญ น่าจะเป็นตัวอย่างการทำงานที่ดี ให้กับหลายคนได้ รวมทั้งตัวผมเอง

“เภสัชกรยิปซี” เป็นบันทึกชีวิตจริงของ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ หญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งนอกจาก จะเป็นคนเก่งแล้ว ยังเป็นคนดีอีกด้วย เธอเป็นผู้เสียสละ เพื่อมวลมนุษยชาติอย่างใหญ่หลวง จนเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ รวมถึงมีผู้นำชีวิตของเธอ ไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ อย่างที่ผู้หญิงน้อยคนนัก จะได้รับการยอมรับจากสังคมโลก

เธอเกิดที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียนจบปริญญาตรีทางด้านเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยสแตรทไคล(Strathclyde) และปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยบาธ(Bath) สหราชอาณาจักร  เธอเล่าว่า เธอเรียนเพื่อรู้ ไม่ได้คิดถึงปริญญา เธอจึงไม่เคยไปรับปริญญาอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะตรี โท หรือ เอก ทุกปริญญาบัตรส่งมาทางไปรษณีย์ แต่ในที่สุด เธอก็ต้องกลับไปรับปริญญา จากทุกสถาบันที่เคยเรียนมาจนได้ เพราะต่างมอบปริญญากิตติมศักดิ์ให้

เธอสละความสุข และผลประโยชน์ส่วนตัว ออกเดินทางไปช่วยเหลือ ผู้ซึ่งประสบกับโรคร้ายแรง ไม่มีกำลังที่จะรักษาตัว เธอร่วมคิดค้นยาต้านเอดส์ ทำให้ผู้ป่วยมียารักษา คุณภาพดี ราคาถูกกว่าท้องตลาดมากถึง 5-20 เท่า นอกจากนั้น เธอยังได้เดินทางไปถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตยาต้านเอดส์และมาลาเรีย ให้กับประเทศกำลังพัฒนา และด้อยพัฒนาทั้งหลาย โดยเฉพาะในแถบทวีปแอฟริกา

ตอนเป็นเด็กเธอชอบฟังคุณยายสั่งสอน เล่านิทานให้ฟัง ประโยคหนึ่งซึ่งไม่เคยลืมเราต้องรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าเรามีโอกาส ในโลกนี้ยังมีคนจน คนด้อยโอกาสอยู่เยอะ หากวันใด ลูกอยู่ในสถานะที่จะช่วยเขาได้ อย่าปล่อยให้โอกาสนั้นสูญเสียไป”

เธอทำงานครั้งแรก ในตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพียง 2 ปี ก็ลาออกมาเข้าทำงานที่องค์การเภสัชกรรม แล้วก็ทำให้ประเทศไทย เป็นประเทศแรกของโลก ที่สามารถผลิตยาต้านเอดส์ตัวแรก คือ ซิโดวูดีน(Zidovudine) หรือ เอแซดที(AZT) ได้ในปี พ.ศ.2538  ต่อจากนั้น(พ.ศ. 2545)เธอก็สามารถผลิตยาต้านเอดส์ ออกสู่ท้องตลาดได้อีกตัวหนึ่ง เป็นสูตรผสมของยา 3 ตัวในเม็ดเดียวกันชื่อ จีพีโอเวียร์(GPO-VIR) ทำให้องค์การเภสัชกรรมของประเทศไทย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เพราะเป็นประเทศแรก ที่ค้นพบสูตรยาดังกล่าว

เธอมีความคิด อยากไปถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการผลิตยาต้านเอดส์ ให้ประเทศอื่นบ้าง โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ซึ่งมีผู้ป่วยเอดส์มากกว่า 90 % จึงเขียนโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาต้านเอดส์ให้กับ 5 ประเทศ ได้แก่ ไนจีเรีย แคเมอรูน กานา ซิมบับเว และยูกันดา และด้วยการประสานงานกับเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกภาคพื้นแอฟริกา(AFRO) จึงได้รับเชิญไปที่สำนักงาน ขณะนั้นตั้งอยู่ที่ประเทศซิมบับเว เพื่อให้ไปดูว่า เธอสามารถช่วยเหลือประเทศไหนได้บ้าง

ช่วงเวลาเดียวกัน อดีตรัฐมนตรีสาธารณสุขของไทย ได้กล่าวในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ประเทศไทยยินดีจะช่วยเหลือ 5 ประเทศในทวีปแอฟริกาในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาต้านเอดส์ พอเรื่องนี้แพร่กระจายออกไป ทั่วโลกต่างชื่นชมว่าประเทศไทยใจดีมาก 

แต่พอรัฐมนตรีกลับถึงประเทศไทย ได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้อง เธอถูกถามทันทีว่า  เราจะได้อะไร จากการช่วยเหลือครั้งนี้ เธอตอบว่า ไม่ได้อะไรเลย เป็นเรื่องมนุษยธรรม เพียงช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เธอแปลกใจว่า คำตอบดังกล่าว ไม่ได้ทำให้คนเหล่านั้นเข้าใจเลยว่า เวลาจะทำอะไร ทำไมต้องหวังผลจากการกระทำ ทำไมต้องคิดว่าจะเสียอะไร หรือจะได้อะไร

เธอไม่เคยคิดว่า “การให้” จะต้องแลกกับ “การได้รับ”

หลังจากนั้น เธอลาออกจากองค์การเภสัชกรรม เพื่อเดินทางไปช่วยเหลือทวีปแอฟริกาอย่างเต็มตัว ไม่มีใครเห็นด้วยกับการตัดสินใจของเธอ รัฐมนตรีเรียกไปพบ แต่ไม่ว่าจะยื่นข้อเสนอให้มาเป็นที่ปรึกษาองค์การเภสัชกรรม นำยาขององค์การเภสัชกรรมไปขายที่แอฟริกา แทนการถ่ายทอดเทคโนโลยี  เธอตอบปฏิเสธทั้งหมด

ในที่สุด...ผลงานของเธอก็ได้รางวัล ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง จากสถาบันต่างๆ ในระดับโลกอย่างมากมาย

(ที่มา : กฤษณา ไกรสินธุ์. เภสัชกรยิปซี. กรุงเทพฯ : ลิปส์ พับลิชชิ่ง, 2550.)

หมายเลขบันทึก: 220030เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2008 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

  • เคยอ่านจากนิตยสารฉบับหนึ่งของคุณดำรง พุฒตาล
  • และเคยดูรายการฯ จากโทรทัศน์ค่ะ
  • น่าทึ่ง  และน่าชื่นชมมากนะคะ
  • "การทำดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน"
  • อ่านแล้วก็ให้นึกถึงวันสัมภาษณ์วันนั้นค่ะเผอิญเปิดเจอแล้วได้ฟังเรื่องราวท่านฯ ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ ที่ถ่ายทอดมาค่ะ
  • ทำให้คิดได้ว่า เออ เราวันนี้ทำดีหรือยัง
  • ทำให้คิดได้ว่า เราทำอะไรเพื่อสังคมบ้างละวันนี้
  • ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณเรื่องราวๆที่ดีของท่านเภสัชกรยิปซี  น่าคิด  ...

เธอไม่เคยคิดว่า “การให้” จะต้องแลกกับ “การได้รับ”

แวะมาอ่านค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มีความสุขในการทำงาน นะคะ

  • มีคนถามผมบ่อยๆว่า เวลาคนอื่นเดือดร้อน แล้วผมไปช่วยเค้าเนี่ย ผมจะได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทน
  • ผมบอกเค้าว่า ความสุขไง
  • เค้าถามสุขยังไง
  • สุขทางใจที่ได้ช่วยไง(ตอบหน้าตาเฉย แล้วเดินหนีไป)
  • ขอบคุณครับ
  • ธรรมสวัสดีโยมคุณครู
  • แวะมาเรียนรู้เรื่องราวดีๆ
  • ตอนนี้สังคมไทยกำลังต้องการมากเลย
  • อนุโมทนาสาธุ
  • ธรรมรักษา
  • จิตใจเธอดี เข้มแข็ง และ มั่นคงมาก
  • ขอบคุณ ครูคิม ครับ
  • เคยอ่านนานแล้ว
  • น่าชื่นชมมากๆๆ
  • ดีใจทีท่านเป็นคนไทย
  • ทำงานเพื่อมนษย์ชาติ
  • โดยไม่หวังผลตอบแทนจริงๆๆ
  • คนดีมีดีอยู่มาก
  • เรามาช่วยกันค้นหาคนทำดีกันดีกว่าครับ
  • อาจารย์สบายดีไหม
  • เปิดเทอมเมื่อไรครับ
  • ให้ต้องแลกกับรับ ด้วยหรือ?
  • หลุดจากตรงนี้ไปได้ งานจะมีคุณภาพขึ้น ชีวิตจะสุขขึ้น สบายใจขึ้น..
  • ขอบคุณ MSU-KM:panatung ครับ
  • อ่านหนังสือ นานมาแล้ว จำได้..
  • เรื่องวินัย ให้ดูฝรั่ง
  • เรื่องขยัน ให้ดูคนจีน
  • เรื่องน้ำใจ ให้ดูคนไทย
  • ไม่ทำก็ได้ ไม่ช่วยก็ได้ แต่ทำ แต่ช่วย=น้ำใจ
  • ขอบคุณ คนพลัดถิ่น ครับ
  • เปิดเทอมจันทร์นี้ 3 พ.ย.
  • เดินทางน่าดูเลยนะครับ..ขยันๆ
  • ขอบคุณ อ.ขจิต ครับ

-ขอบคุณเรื่องราวดีๆ ให้ประทับใจ

-“เภสัชกรยิปซี” เป็นบันทึกชีวิตจริงของ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ หญิงไทยคนหนึ่ง ซึ่งนอกจาก จะเป็นคนเก่งแล้ว ยังเป็นคนดีอีกด้วย เธอเป็นผู้เสียสละ เพื่อมวลมนุษยชาติอย่างใหญ่หลวง จนเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ รวมถึงมีผู้นำชีวิตของเธอ ไปสร้างเป็นละครบรอดเวย์ อย่างที่ผู้หญิงน้อยคนนัก จะได้รับการยอมรับจากสังคมโลก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท