60 ล้านความดี เริ่มที่เยาวชน (ตอนที่ 2)


เราจะต้องสร้างความพร้อมและความเข้าใจให้เด็กเป็นอย่างมาก รวมทั้งสถาบันครอบครัวที่เป็นปึกแผ่นและแฝงไว้ด้วยจริยธรรม การมีศีลธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจของเด็ก
         ซึ่งในงานวันที่ 19 มีนาคม  ช่วงบ่าย  ได้ตั้งโจทย์ว่า “ทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ปี’ 49” และระดมความคิดในเรื่องตัวชี้วัด และแนวทางปฏิบัติที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ และสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งข้อสรุปจากแต่ละกลุ่มในเรื่อตัวชี้วัด  มี 6 เรื่องได้แก่
  1. สื่อ
  2. พื้นที่
  3. กิจกรรมสร้างสรรค์
  4. กลุ่มศึกษาทักษะชีวิต
  5.  พฤติกรรมดี
  6. สร้างสรรค์ครอบครัว ชุมชน

สื่อ สื่อมวลชนเพื่อเด็ก (ทีวี วิทยุ เว็ปไซด์)
จะต้องมีสื่อต้นแบบ การมีจำนวนสื่อดี (สื่อสร้างสรรค์) เพิ่มมากขึ้น สื่อรุนแรง สื่อลามกลดลง
 มีการเฝ้าระวังสื่อ และรายงานต่อสังคม 3-4 ครั้งต่อปี และเยาวชนมีบทบาทเกี่ยวข้องในกลไกการสื่อสารสาธารณะของสังคม

พื้นที่  สัดส่วนพื้นที่สร้างสรรค์ต่อพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น ทั้งใน Setting โรงเรียน ชุมชน ศาสนสถาน การมีพื้นที่สีขาว (พื้นที่สาธารณะ ลานกีฬา บริเวณการเรียนรู้ อุทยานธรรมชาติ)  เพิ่มขึ้น เกิดพื้นที่ตัวอย่างสร้างสรรค์ที่เยาวชนเป็นกลไกการพัฒนา เกิดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเยาวชนเพิ่มมากขึ้น  กลไกของชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมศักยภาพของเยาวชน และการเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนให้มีความสามารถด้าน Human skill

 กิจกรรมสร้างสรรค์  การเพิ่มขึ้นของเครือข่ายเยาวชนและแกนนำ ทุนสำหรับเยาวชน สถานภาพบทบาท  ตัวอย่างเยาวชนต้นแบบเพิ่มขึ้น เด็กและเยาวชนรับรู้และเกิดทัศนคติที่ดีต่อการลงมือทำความดี เกิดกลุ่มเด็กทำดีในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย จังหวัด ปริมาณอาสาสมัครของเยาวชนในโครงการสาธารณะ วัฒนธรรม และสังคมเพิ่มขึ้น  และจัดการให้เกิดชุดองค์คงวามรู้ในการพัฒนากระบวนการสร้างจิตสาธารณะสำหรับเด็กและเรื่องจิตอาสา ก่อให้เกิดกิจกรรม 60 ล้านความดีที่ทำโดยเยาวชนอย่างยั่งยืน 60 ตัวอย่าง

กลุ่มศึกษาทักษะชีวิต  เกิดโรงเรียนตัวอย่าง กิจกรรมต้นแบบเพื่อการเรียนรู้นอกโรงเรียน มีหลักสูตรที่พัฒนาเด็กรอบด้านมากขึ้น/ จำนวนชั่วโมงเพิ่มมากขึ้น  มีหลักสูตรที่เกี่ยวกับทักษะชีวิตและครอบครัวศึกษา มีโรงเรียนสอนศาสนาวันอาทิตย์เพิ่มขึ้น เพิ่มการเรียนการสอนหลักธรรมทางศาสนาให้อยู่ในวิถีชีวิตอย่างน้อยภูมิภาคละ 5 โรงเรียน และเพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ในโรงเรียนหลังเลิกเรียน มีการบูรณาการเรื่องจริยะธรรมในทุกวิชา

พฤติกรรมดี  เด็กไทยมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น (ปลอดอาหารขยะ น้ำอัดลม) เด็กไทยกินนมแม่และอาหารที่เหมาะสมตามวัยเพิ่มขึ้น อัตราการป่วยและตายของเด็กลดลง เยาวชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ ปริมาณการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนลดลง/ไม่เพิ่มขึ้น สุขภาพจิตดีขึ้น อัตราเรื่อง: อาชญากรรม การใช้ความรุนแรง การฆ่าตัวตาย เด็กเร่ร่อน ถูกทอดทิ้งลดลง

 สร้างสรรค์ครอบครัว ชุมชน
เกิดกิจกรรมสำหรับครอบครัวเพื่อสร้างสรรค์การเรียนรู้ได้อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง  มีการรณรงค์แนวคิด ค่านิยม เศรษฐกิจพอเพียงเพิ่มขึ้น อัตราครอบครัวแตกแยกลดลง  ปริมาณความรุนแรงในครอบครัวลดลง มีคู่มือครอบครัวเข้มแข็ง เกิดครอบครัวต้นแบบ มีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
         จากการรวมกลุ่มและเป็นข้อสรุปข้างต้นทำให้ ดิฉันรู้สึกว่ามีการทำงานเพื่อเด็กในหลายกิจกรรม และมีเป้าหมายมากขึ้น  โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ารากฐานที่สำคัญของการพัฒนาของเด็กในบ้านคือพ่อแม่ ในโรงเรียนคือครู เราจะต้องสร้างความพร้อมและความเข้าใจให้เด็กเป็นอย่างมาก รวมทั้งสถาบันครอบครัวที่เป็นปึกแผ่นและแฝงไว้ด้วยจริยธรรม การมีศีลธรรมเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจของเด็ก


หมายเลขบันทึก: 21943เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท