สำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4


สำรวจสุขภาพประชาชน

โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ในปี 2551

 

โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในระดับประเทศที่ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย(สสท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และเครือข่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคซึ่งได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 20 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


         เพื่อให้ทราบสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ความชุกของการเจ็บป่วยที่พบบ่อย ภาวะความพิการและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนในระดับประเทศ ภาค และ เขตการปกครอง ตามเพศ และกลุ่มอายุ
ข้อมูลจากการสำรวจจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศ ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจสุขภาพของประชาชนมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2539 และ ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2547 ซึ่งทำให้ทราบแนวโน้มปัญหาทางสุขภาพของประชาชนได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นเพื่อที่จะทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาวะสุขภาพของประชาชนทั้งในภาพรวมและแยกตามพื้นที่เฉพาะเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจึงมีการเตรียมการสำรวจสภาวะสุขภาพครั้งที่ 4 ขึ้น โดยจะเริ่มสำรวจในช่วงเดือน กค.-พย. 2551
            กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการสำรวจครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและการช่วยเหลือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องนี้ เลือกได้กลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ จำนวน 32,000 คน ในพื้นที่ 4 ภาค ภาคละ 5 จังหวัดและเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะใช้เป็นตัวแทนประชากรทั่วประเทศ ในแต่ละภาค สำหรับภาคกลางมีจังหวัดเพชรบุรีเป็น1ใน5 จังหวัดได้รับการสุ่มเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ใช้หน่วยเลือกตั้งเป็นหน่วยในการสุ่มเลือกตัวอย่าง
จำนวน 1,260 คน ในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ

อำเภอเมืองเพชรบุรี

   เขตเทศบาล

ตำบลท่าราบ:หน่วยเลือกตั้งที่2และ13,

คลองกระแชง:หน่วยเลือกตั้งที่4และ14,

หาดเจ้าสำราญ :หน่วยเลือกตั้งที่ 6

และหัวสะพาน :หน่วยเลือกตั้งที่ 2

  นอกเขตเทศบาล

ตำบลบ้านกุ่ม:หน่วยเลือกตั้งที่ 3 ,

บางจาก:หน่วยเลือกตั้งที่6,

นาวุ้ง:หน่วยเลือกตั้งที่8,

โพไร่หวาน:หน่วยเลือกตั้งที่2,

หนองพลับ:หน่วยเลือกตั้งที่6,

 

 อำเภอบ้านแหลม

   เขตเทศบาล

ตำบลบ้านแหลม:หน่วยเลือกตั้งทึ่7,

บางตะบูนออก:หน่วยเลือกตั้งที่16

   นอกเขตเทศบาล

ตำบลบางขุนไทร:หน่วยเลือกตั้งที่9,

บางตะบูน:หน่วยเลือกตั้งที่8,

ท่าแร้ง:หน่วยเลือกตั้งที่5

 

อำเภอชะอำ

เขตเทศบาล ตำบลชะอำ:หน่วยเลือกตั้งที่ 10,22,33,

ดอนขุนห้วย:หน่วยเลือกตั้งที่ 19,

เขาใหญ่:หน่วยเลือกตั้งที่ 17,

นายาง:หน่วยเลือกตั้งที่ 4

นอกเขตเทศบาล

ตำบลบางเก่า:หน่วยเลือกตั้งที่5

โดยในการสำรวจจะประกอบด้วย การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม , การตรวจร่างกาย ,การตรวจเฉพาะอย่าง เช่น สมรรถภาพปอด ในเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง , การเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะที่แตกต่างในแต่ละกลุ่มอายุ เช่น ในกลุ่มเด็กจะได้การตรวจสุขภาพทั่วไป พัฒนาการทางกายและอารมณ์สติปัญญา การกินอาหาร พฤติกรรม กิจกรรมการดูทีวี เกมส์ เป็นต้น ในกลุ่มวัยแรงงานและผู้สูงอายุ จะได้รับการตรวจพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ดื่มสุรา กิจกรรมทางกาย การใช้ยา การใช้อาหารเสริม โรคเรื้อรัง ประวัติของตนเองและครอบครัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง อ้วน โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง สมรรถภาพปอด หอบหืด โรคไต อนามัยเจริญพันธ์ และอื่นๆ เช่น สถานะสุขภาพ ภาวะโลหิตจาง ภาวะซึมเศร้า ข้ออักเสบ ในกลุ่มผู้สูงอายุ เพิ่มเติมในการตรวจภาวะสมองเสื่อม ภาวะพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเก็บข้อมูลพร้อมการตรวจร่างกายในครั้งนี้ ประโยชน์โดยตรงของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับ คือ ตรวจเช็คร่างกายที่ได้ใช้งานมานานแสนนานแล้วว่าเป็นอย่างไร มีกิจกรรมมากกว่าการตรวจร่างกายประจำปี และเป็นข้อมูลส่วนร่วมในระดับประเทศ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยประจำภาค (เพชรบุรี คือ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ) ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีได้จัดเตรียมและอบรมพนักงานที่จะลงไปสำรวจครั้งนี้ เมื่อวันที่ 26-27 สิงหาคม 2551ในการดำเนินงานภาคสนาม ระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2551

 กลุ่มผู้สำรวจจะเริ่มตั้งแต่การมีบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการสุ่มและเข้าไปให้พี่น้องอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน แจ้งบุคคลที่เป็นเป้าหมายในพื้นที่ตามบัญชี รวมทั้งชี้แจงการปฏิบัติตัวก่อนมารับการตรวจและนัดหมายให้มาตรวจตามวันนัดตามสถานที่นัดซึ่งจะเป็นสถานที่ในชุมชนที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะสามารถเดินทางมาได้สะดวก หลังจากที่ได้รับการสัมภาษณ์และได้รับการตรวจเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ถูกสำรวจจะได้รับทราบผลการตรวจของตนเอง และได้รับกระเป๋าผ้าที่บรรจุชุดยาสามัญประจำบ้าน ในกรณีที่พบความผิดปกติก็จะได้รับคำแนะนำรวมทั้งการส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

.................................................................

คำสำคัญ (Tags): #สำรวจสุขภาพ
หมายเลขบันทึก: 218701เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2008 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท