ท้องถิ่นนิยม :ในบริบทสังคมไทย 2551


ท้องถิ่นนิยม

ท้องถิ่นนิยม :ในบริบทสังคมไทย 2551*

 

ในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) คือเป็นกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคมวัฒนธรรมและการเมือง และเป็นกระบวนการที่ก้าวข้ามอำนาจความเป็นรัฐและพรมแดนของรัฐไปสู่ความผูกพันในขอบเขตทั่วโลก โลกาภิวัตน์ไม่ได้มีเพียงมิติทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่แทรกซึมไปในทุกมิติ และกระบวนการโลกาภิวัตน์ก็ไม่ได้หมายถึงการทำให้เป็นโลกเดียวกันที่เหมือนๆกัน แต่หมายถึง การที่มนุษย์ขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ในทุกๆด้านของตน ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนซื้อขาย การลงทุนกู้ยืมเงิน การติดต่อทางข่าวสาร วัฒนธรรมและการบันเทิงกีฬา ไปในขอบเขตที่กว้างมากขึ้นจนครอบคลุมทั่วทั้งโลก โดยก้าวพ้นไปจากพรมแดนแคบๆของ รัฐชาติตนเอง[1]

ดังนั้น โลกาภิวัตน์จึงมีผลกระทบต่อโลกในหลากหลายมิติ และในอนาคตผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้แก่ ผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน การแย่งชิงทรัพยากรที่นับวันจะหายากมากขึ้นทุกที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมัน การแบ่งแยกทางสังคมเศรษฐกิจและการเบียดขับคนส่วนใหญ่ในโลกให้อยู่ชายขอบมากขึ้น และ การแพร่กระจายเทคโนโลยีทางการทหารเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง[2]

เมื่อกล่าวถึงคำว่า โลกาภิวัตน์ นั้นก็ต้องไม่ลืมคำว่า ท้องถิ่น หรือ ท้องถิ่นนิยม (Localism) เป็นกระแสของชุมชนท้องถิ่นที่มีรากฐานทางทรัพยากร ภูมิปัญญา พัฒนาการและประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของตนเอง ขณะเดียวกันก็เป็นท้องถิ่นที่ไม่หยุดนิ่ง ตายตัว เป็นท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย สลับซับซ้อน นอกจากนี้ ท้องถิ่นยังเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเองทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรมและภูมินิเวศน์ รวมทั้งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับภูมิภาค ชาติ นานาชาติ และโลกอย่างแยกกันไม่ออก เราจึงไม่อาจจะตัดขาดกระแสท้องถิ่นภิวัตน์ออกจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้เลย เพราะทั้งสองกระแสคือ สองด้านของเหรียญเดียวกันที่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด[3]

กระบวนการท้องถิ่นนิยมที่เกิดขึ้นและกำลังเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ซึ่งสามารถมองเห็นปรากฎการณ์ต่างๆ ได้จากงานเขียน งานวิจัย ที่ถูกนำเสนอโดยนักวิชาการ สื่อมวลชน นักคิดและปราชญ์พื้นบ้าน และมองผ่านปรากฎการณ์การเคลื่อนไหวต่อสู้เรียกร้องของชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น ทั้งทางด้านการจัดการทรัพยากรในชุมชน การเคลื่อนไหวของกลุ่มองค์กรชุมชน และภาคประชาสังคมของคนในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ และมองผ่านปรากฎการณ์ที่เชื่อมโยงถึงปรากฎการณ์ทางการเมืองไทยในปัจจุบัน

หากจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นไทยในบางแง่มุมให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    ยุทธศาสตร์ท้องถิ่นนิยมที่น่าสนใจและกำลังเคลื่อนไหวในสังคมไทยปัจจุบัน ได้แก่ การปฏิรูปการเมืองการปกครองไทยเพื่อกระจายอำนาจให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งถือว่า ได้ให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นเป็นอย่างมาก ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ก็คือการปฏิรูปการเมืองโดยมีเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1) ขยายสิทธิ เสรีภาพ และการส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง 2) การเพิ่มการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยประชาชน เพื่อให้เกิดความสุจริตและโปร่งใสในระบอบการเมือง 3) การทำให้ระบบการเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

การมองปรากฎการณ์ผ่านกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ ในรูปแบบต่างๆ เช่น องค์กรภาคประชาชน องค์กรวิชาชีพ องค์กรพัฒนาเอกชน และขบวนการประชาสังคมที่เคลื่อนไหวของภาคพลเมืองเพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหารการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาแนวทางการพัฒนากระแสหลักในสังคมไทยนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวัฒนธรรมสำคัญ 2 ประการคือ อุดมการณ์ทุนนิยม และอุดมการณ์ของรัฐชาติ ซึ่งเป็นลักษณะวัฒนธรรมที่ยึดติดกับรูปแบบตายตัว ทำให้ทิศทางการพัฒนามุ่งไปสู่ความทันสมัยเพียงทางเดียว และจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจทุนนิยม การส่งเสริมระบบกรรมสิทธิ์เอกชน การพัฒนาอำนาจรัฐและกฎหมาย[4]

ปัจจุบัน ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ขึ้นมาและได้มีกลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ได้แก่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (People's Alliance for Democracy: PAD) เกิดจากการรวมตัวกันของหลายองค์กร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรอิสระภาคประชาชน จุดประสงค์หลักของการรวมตัวเพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจส่วนตัวประพฤติผิดอีกหลาย ๆ อย่างอันไม่สมควรในการเป็นผู้บริหารประเทศ

และอีกกลุ่มหนึ่งก็คือ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือเดิม แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เป็นการรวมตัวของกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และกลุ่มผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย สมาชิกบางส่วนประกอบด้วย กลุ่มพีทีวี และแนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.) เป็นต้น

ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีเป้าหมายในการชุมชนเรียกร้องที่แตกต่างกัน และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมไทยโดยรวมอย่างแน่นอน ในเรื่องความขัดแย้งของขั้วความคิดทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นชนวนที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคมได้

ดังนั้น กระแสท้องถิ่นนิยมในสังคมไทยในปัจจุบันได้มีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งในบริบทสังคมไทยท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง และภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ และปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งภาวะวิกฤติทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบมาจากปรากฎการณ์ภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก

การพิจารณาท้องถิ่นนิยมควบคู่ไปกับโลกาภิวัตน์อาจช่วยให้เราได้มองเห็นว่า ท้องถิ่นนิยมโดยเนื้อแท้แล้วก็คือ อุดมการณ์ความคิด ความรู้หรือปฏิบัติการทั้งในระดับวาทกรรมและระดับปรากฎการณ์ เพื่อตอบโต้อำนาจและการครอบงำของรัฐ ตอบโต้การพัฒนาที่ยึดเอาศูนย์กลางอำนาจรัฐ เมืองและภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง ขณะเดียวกัน ท้องถิ่นนิยมยังเป็นการตอบโต้อำนาจและการครอบงำของกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรากฏในนามขององค์กร บรรษัทข้ามชาติและตัวแทนของทุนนิยมในระดับต่างๆ[5]

ผลจากการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น ในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่น สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง นอกจากนั้นยังมีความเป็นอิสระในการมีอำนาจในการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้ในระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่งด้วย กระแสชุมชนท้องถิ่นนิยมเป็นอีกกระแสหนึ่งที่ส่งผลให้การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

 

เอกสารอ้างอิง<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;">คริส แอ็บบอต,พอล โรเจอร์สและจอห์น สโลโบดา. เผชิญภัยคุกคามโลก: ศตวรรษที่ 21 กับความ</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify;">มั่นคงที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ,2550.</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;">ธีรยุทธ บุญมี.ชาตินิยมและหลังชาตินิยม(Nationalism and Post Nationalism).กรุงเทพฯ:</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify;">สำนักพิมพ์สายธาร,2546.</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;">พัฒนา กิติอาษา.ท้องถิ่นนิยม(Localism). กรุงเทพฯ:กองทุนอินทร์- สมเพื่อการวิจัยทาง</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify;">มานุษยวิทยา,2546.</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;">อานันท์ กาญจนพันธุ์. วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการ</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt; text-align: justify;">พัฒนา.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2544.</p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"> </p><p class="MsoNormal" style="text-justify: inter-cluster; margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify;"> </p><p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><div style="mso-element: footnote-list;">
<hr width="33%" size="1">

* บุญยิ่ง ประทุม. ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

[1] ธีรยุทธ บุญมี.ชาตินิยมและหลังชาตินิยม(Nationalism and Post Nationalism).กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สายธาร,2546.หน้า 123

[2] คริส แอ็บบอต,พอล โรเจอร์สและจอห์น สโลโบดา. เผชิญภัยคุกคามโลก: ศตวรรษที่ 21 กับความมั่นคงที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ,2550. หน้า 85.

[3] พัฒนา กิติอาษา.ท้องถิ่นนิยม(Localism). กรุงเทพฯ:กองทุนอินทร์- สมเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยา,2546. หน้า 43

[4] อานันท์ กาญจนพันธุ์. วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน: พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา.กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2544. หน้า 206.

[5] พัฒนา กิติอาษา.ท้องถิ่นนิยม(Localism). กรุงเทพฯ:กองทุนอินทร์- สมเพื่อการวิจัยทางมานุษยวิทยา,2546.หน้า 28.

</div>

หมายเลขบันทึก: 218690เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2019 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท