การตัดเลือกผลงานดีเด่น


ผลงานดีเด่น โรงเรียนในโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ระดับปฐมวัย ช่วงชั้นที่ 1 - 2 ช่วงชั้นที่ 3-4

     ผมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการคัดเลือกผลงานดีเด่นระดับจังหวัดตามโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาประเภทที่ 1 รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2551 โดยมี รอง ผอ.สพท.
ผู้บริหารโรงเรียน ในสถานศึกษาประเภท 1 รุ่น 1 ศึกษานิเทศก์ เป็นกรรมการคัดเลือก ในการคัดเลือกได้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้คือ ประเภทสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน ส่วนของครูจำแนกเป็นระดับปฐมวัย ส่วนของครูที่สอนในช่วงชั้นที่ 1 - 4 จำแนกตามกลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผุ้เรียน คัดเลือกให้เหลือประเภทละ 1 ผลงาน เพื่อนำไปนำเสนอในระดับเขตตรวจราชการและในเสนอในงานวันครูที่ สพฐ. จะจัดขึ้นในงานวันครูโลกในโอกาสต่อไป การคัดเลือกได้กำหนดให้ผู้นำเสนอจัดทำ Presentation พร้อมเอกสารประกอบการคัดเลือก ซึ่งประกอบด้วย 5 หัวข้อ 18 ตัวชี้วัดประกอบด้วย ความเป็นมา 2 ข้อ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 6 ข้อ ผลการดำเนินงาน ผลสำเร็จ/ความภาคภูมิใจ 4 ข้อ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 3 ข้อและบทเรียนที่ได้รับ/การถอดรหัส 3 ข้อ
            ผลจากการที่ได้ร่วมเป็นกรรมการครั้งนี้มีข้อสังเกตบางประการคือ
            1. การจัดทำ Presentation และเอกสารประกอบการประเมิน มีผู้นำสนอหลาย ๆ ท่าน ไม่ได้จัดทำเกณฑ์หรือตัวชี้วัดที่กำหนด แต่จะนำผลงานที่มีอยู่เดิมมาปัดฝ่นแล้วนำมาเสนอโดยไม่มีการปรับปรงให้สอดคล้องกับเกณฑ์และตัวชี้วัดที่กำหนด มีผลทำให้การประเมินไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินบางครั้งต้องใช้ประสบการณ์จากการนิเทศยืนยันความดีเด่นในผลงานของโรงเรียนนั้น ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องไปปรับเอกสาร Presentation และการนำเสนอใหม่ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ขึ้น และมอบให้ศึกษานิเทศก์ในเขตพื้นที่การศึกษานั้นไปให้ตวามช่วยเหลือ

            2. ในกรณีที่โรงเรียนหรือผู้นำเสนอมีผลการปฏิบัติงานใกล้เคียงกัน กรรมการในแต่ละเขตพื้นที่ต้องใช้พลังอย่างมากที่จะพูดชักจูง นำสนอให้คณะกรรมการท่านอื่นมีความเห็นคล้อยตามเพื่อที่จะให้โรงเรียนในเขตพื้นที่ของตนได้รับการคัดเลือก ซึ่งเมื่อหันกลับมาดูตัวเองก็พบว่าตัวเราเองเกิดความลำเอียงเข้าข้างผู้นำเสนอในเขตพื้นที่ของตนนเองเหมือนกันนะนี่ (นิดหน่อยน่ะครับ) แต่ผู้นำเสนอก็มีผลงานจริง ๆ นะ

            3. การแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะกรรมการที่มีมาปฏิบัติหน้าที่มีจำนวนไม่เท่ากัน ทำให้ความคิดเห็นเอนเอียงได้ แต่อย่างไรก็ตามในการคัดเลือกนี้คณะกรรมการก็ได้ใช้เหตุ ใช้ผล และประสบการณ์มาสนับสนุนเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด สำหรับการเป็นผู้แทนจังหวัดไปเข้ารับการคัดเลือกในระดับท่สูงขึ้นต่อไป เป็นเรื่องของส่วนรวมจริง ๆ

            ดังนั้น ในการประเมิน การคัดเลือกต่าง ขณะนี้ส่วนใหญ่ ผู้จัดจะกำหนดและแจ้งเกณฑ์การประเมินให้ผู้ส่งผลงานได้ทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว ผู้นำเสนอน่าจะได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยอย่างมาก หากคณะกรรมการได้พิจารณาตามเกณฑ์กันอย่างเคร่งครัดแล้วก็จะทำให้โรงเรียนหรือผู้นำเสนอมีผลงานดีเด่นพลาดโอกาสให้แก่โรงเรียนหรือผู้นำเสนอที่มีผลงานดีเด่นแต่ยังไม่ถึงระดับ ได้รับโอกาสไปป็นผู้แทนจังหวัดไปเข้ารับการคัดเลือกในระดับที่สูงขึ้น ก็จะไปสู้ผู้แทนจังหวัดของจังหวัดอื่นในเขตตรวจราชการไม่ได้ ก็จะเป็นผลเสียกับจังหวัด  คงต้องฝากโรงเรียน ผู้บริหารและคุณครูด้วยครับ

            ขอให้ผู้ได้รับการคัดเลือกปรับ Presentation และเอกสารประกอบการประเมินให้มีความสมบูรณ์ที่สุดเพื่อชื่อเสียงของพวกเราชาวนครปฐมครับ

            ดูภาพกิจกรรมการัดเลือกได้ที่  http://www.kasinthara.multiply.com

 

 

หมายเลขบันทึก: 218305เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คิดว่าลงุคงไม่ลำเอี่ยงหรอกในเรื่องงานลุง สุดๆ อยู่แล้ว เชื่อมั่นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท