การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์


การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์

การพัฒนาการเรียนการสอน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ ในวิชานี้เกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นเรื่องของการเกิดชีวิตใหม่ ลองมาดูกันนะครับว่า คุณหมอ(อาจารย์พยาบาล) ทำคลอด ในทีมนี้มีใครบ้าง

1. อ. ทิพวรรณ  ลิ้มประไพพงษ์  ผู้นำทีม        2. อ. มาลัย  สำราญจิตต์        3. อ. จันทรมาศ  เสาวรส

4. อ. จรัญญา ดีจะโปะ     5. อ. ขนิษฐา  เมฆกมล      6. อ. อารีรัตน์  วิเชียรประภา  เลขา

ประเด็นความรู้ที่กำหนดไว้คือ

1.       การประเมินและวิเคราะห์ปัญหาของผู้คลอด

2.       การสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานในห้องคลอด

 

สำหรับทีมนี้ ผู้นำทีมก็มุ่งมั่นเต็มที่ มุ่งหน้าจะลุยตั้งแต่วันแรกที่กำหนดประเด็นความรู้แล้วครับ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดนะครับ อย่าแผ้วปลายนะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 217830เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2008 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงานในห้องคลอด

จากการที่ไปนิเทศนักศึกษาปฏิบัติงานนอกสถาบันพบว่า

นศ.มีความมั่นใจในการทำคลอดมากขึ้น สิ่งที่ทำให้นศ. มีความ

มั่นใจมากขึ้น คือ อาจารย์พี่เลี้ยงผู้นิเทศ มีความใจเย็น ให้กำลังใจ

ในระหว่างการทำคลอด รวมทั้งให้นักศึกษาได้ตัดสินใจให้การ

พยาบาลผู้คลอดด้วยตนเอง ประกอบกับมี case ประสบการณ์จำนวน

มาก ทำให้นศ.ได้ฝึกทำคลอดบ่อยๆ จึงทำให้นศ.มั่นใจและกล้าที่จะ

ตัดสินใจในการให้การพยาบาลผู้คลอดเพิ่มมากขึ้น อาจารย์ท่านใด

สนใจลองนำเทคนิคนี้ไปใช้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้นศ.ได้นะคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง คิดว่านักศึกษาก็คงต้องการอาจารย์ที่มีความใจเย็น ให้กำลังใจ รวมถึง

การส่งเสริมการตัดสินใจเช่นกัน

ความรู้ปฏิบัตินี้ สามารถนำไปใช้ได้ในทุกวิชานะครับ

สุปราณี ฉายวิจิตร

ที่ผ่านมาพบว่านศ.กล้าๆกลัวๆที่จะ suction พี่เลยใช้วิธีใส่ถุงมือ เข้าคู่ suction ด้วย เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรก และทำท่าเหมือนจับมือ แตะมือให้นศ. suction ได้ ให้เค้ารู้สึกว่ามีครูอยู่ข้างๆพร้อมที่จะช่วย ไม่ใช่บอกว่าเค้ากำลังทำอะไรผิด พอทำแบบนี้แล้ว เวลาที่ถามว่าใครจะ suction บ้าง ก็จะมีนศ.ยกมือพร้อมที่จะsuctionหลายคนค่ะ

เห็นด้วยครับ การที่อาจารย์เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่นักศึกษารู้สึกไม่ค่อยมั่นใจในการที่จะปฏิบัติการพยาบาล และพร้อมที่จะช่วยเหลือนักศึกษาให้เขาสามารถที่จะปฏิบัติการพยาบาลนั้นผ่านไปได้ด้วยดี และไม่ใช่แค่ในหอผู้ป่วยเท่านั้น ในชุมชนก็เกิดสถานการณ์เช่นนี้เหมือนกัน เมื่อวันก่อนไปนิเทศนักศึกษาในการประชุมหมู่บ้านเพื่อการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา นักศึกษาก็ดำเนินการไปได้ในช่วงแรกๆ แต่พอจะจัดลำดับความสำคัญของปัญหา นักศึกษาคิดไม่ออกแลเห็นไม่ตรงกันในกลุ่ม ตัวเองประเมินได้ว่านักศึกษาหันมามองและต้องการความช่วยเหลือจึงเข้าไปช่วยดำเนินการ ให้ผ่านไปด้วยดี

เมื่องกลับมา Post Conference นักศึกษาก็ให้ข้อมูลย้อนกลับมาว่าเป็นการช่วยนักศึกษาให้สามารถดำเนินการผ่านและได้เรียนรู้อย่างถูกต้องไม่ใช่ทำไปแบบผิดๆ และรู้สึกดีที่อาจารย์ช่วยเหลือ

ทีมจะนัดประชุมกันในเย็นวันพฤหัสที่ 11 ธ.ค. นี้ค่ะ

หลังจากที่นศ.กลุ่มแรกสิ้นสุดการปฏิบัติงาน

ถ้า ลปรร. แล้วสรุปได้ว่าอย่างไร จะมาเล่าให้ฟังค่ะ

อย่าลืมติดตามกันนะคะ

รออยู่นะคะ  อยากฟังสิ่งดีๆด้วยคนหนึ่งค่ะ

หลังจากที่ ลปรร. สรุปจากการฝึกปฏิบัติของนศ.กลุ่มที่ 1 (ระยะเวลา

ฝึกปฏิบัติงาน 2 เดือน) พบว่า วิธีการที่ทำให้นักศึกษามั่นใจในการ

ปฏิบัติงานห้องคลอด  คือ

1. การได้ปฏิบัติกิจกรรมนั้นซ้ำ ๆ ทางทีมจึงได้ให้อาจารย์แต่ละคน

 สังเกตการปฏิบัติงานของนศ.ในการทำประสบการณ์แต่ละชนิด เช่น

การตรวจรก การรับเด็ก การรับใหม่ เป็นต้น โดยหลังจากที่นศ.ทำ

ประสบการณ์ครั้งที่ 1 จะได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำจากอาจารย์

และครั้งที่ 2 จะให้นศ.ช่วยแนะนำเพื่อนในกิจกรรมเหล่านั้น และครั้งที่

3 ให้นศ.ลงมือปฏิบัติเองอีกครั้ง หลังจากนั้นให้อาจารย์ประเมิน

ว่าการที่ปฏิบัติประสบการณ์นั้นซ้ำ ๆ สามารถทำให้นักศึกษาปฏิบัติ

งานได้ดีขึ้น และมีความมั่นใจมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งทางทีมเชื่อว่าการ

ที่นศ.ทำให้มีความคงทนในการเรียนรู้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง

ความมั่นใจค่ะ

2. รูปแบบการนิเทศของอาจารย์  ซึ่งขณะนี้ทางทีมทำแบบสอบ

ถามให้นักศึกษากลุ่มที่ 1ตอบเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศของอาจารย์ใน

ห้องคลอดว่าท่านใดที่สร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษา และมีรูปแบบ

การนิเทศอย่างไรเพื่อที่จะได้ข้อมูลชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

รวมทั้งจะได้ลองนำวิธีการนั้นมาปรับใช้กับนักศึกษากลุ่มที่ 2 ต่อไปค่ะ

พอดีพี่เป็นอาจารย์ค่อนข้างใหม่! ก็เลยสนใจรูปแบบการนิเทศของอาจารย์ค่ะ จะขอโอกาสศึกษาแบบสอบถามบ้าง....จะได้นำมาปรับใช้กับตัวเองค่ะ  ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ตัวอย่างแบบสอบถามที่ให้นักศึกษาตอบค่ะ เป็นคำถามปลายเปิดกว้าง ๆ

แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศของอาจารย์อีกครั้งค่ะ  ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาอยู่ค่ะ  ถ้าได้ข้อมูลมาแล้วจะมานำเสนอให้ดูค่ะ

แบบสอบถามหลังการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด

 

1.   นักศึกษามีวิธีการเตรียมตัวเองอย่างไรที่สามารถช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติงานที่ห้องคลอด

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

2.       ในการฝึกปฏิบัติงานที่ห้องคลอดนักศึกษาคิดว่ารูปแบบการนิเทศของอาจารย์ท่านใดที่สามารถช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติงานในห้องคลอด (โปรดระบุชื่ออาจารย์โดยสามารถตอบได้มากกว่า 1 ท่าน) พร้อมทั้งอธิบาย

รายละเอียดรูปแบบการนิเทศของอาจารย์ด้วย

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ขอบคุณนะคะ สำหรับแบบสอบถาม จะนำไปใช้กับกลุ่มนศ.ดูบ้างนะคะ แล้วจะมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

เมื่อวันก่อนได้คุยกับอาจารย์อารีรัตน์ (น้องกบผู้น่ารัก) น้องกบได้ แชร์ความรู้ต่อยอดจากการ ลปรร. กันเกี่ยวกับการที่จะช่วยส่งเสริมความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลโดยเฉพาะในห้องคลอด ว่า การให้ปฏิบัติซ้ำๆ อย่างเดียวอาจจะไม่พอ ถ้าจะให้ได้ผลดี และช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างแท้จริงด้วย จะต้องมีการสะท้อน(Feedback)ให้กับนักศึกษาด้วย นักศึกษาจะเข้าใจถึงเหตุผล ความรู้ ข้อผิดพลาด และเกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง และช่วยสอนหรือส่งเสริมการเรียนรู้ของเพื่อได้อย่างถูกต้องและมั่นใจด้วย

ได้ ลปรร.กับน้องกบแล้ว ช่วยตอกย้ำตัวเองให้คิดถึงความรู้ความเข้าใจของตนเองอีกด้วยว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญยิ่งในการ Feedback การเรียนรู้ของนักศึกษา ขอบคุณน้องกบ หลายๆ เด้อ ที่ช่วยทำให้พี่ได้คิดและตอกย้ำตัวเองในทางที่ถูกต้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท