เทคนิคการทำกลุ่มจิคสังคมบำบัด


จากรู้จำ เข้าใจ ตกผลึกเป็นการประยุกต์ใช้

หลังจากการเรียนรู้ ผ่านมาระยะหนึ่งจากรู้จำ เข้าใจ ความรู้ค่อย ๆ ตกผลึกเป็นการประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ ความรู้ด้านการทำกลุ่มจิตสังคมบำบัดได้มาจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทีมงานศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยนอก

1. การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของแต่ละบทเรียน

2. การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์สถานที่ในการทำกลุ่ม

3. การเตรียมความพร้อมด้านตัวผู้ป่วย

กรณีแรงจูงใจอยู่ในระยะก่อนตั้งใจ (Pre-comtempodion) ควรได้รับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ (Motivation Interviewing) และหใกรปรึกษารายบุคคล ผู้ป่วย และครอบครัว จนกว่าจะประเมินแรงจูงใจซ้ำ และมีแรงจูงใจเพิ่มขึ้น (อยู่ในระยะตั้งใจ Comtempatency) เป็นอย่างต่ำ

     * ผู้ป่วยควรหยุดยาได้ต่อเนื่อง

     * ผู้ป่วยสามารถสื่อสารเข้ากลุ่มได้

     * กรณีมีอาการทางจิตเวช ควรได้รับการดูแลเฉพาะทางและผ่านการประเมินโดยแพทย์ นักจิตวิทยา และนักบำบัด ผู้ดูแลว่าสามารถเข้ากลุ่มบำบัดได้

     * กรณีผู้ป่วยมีอาการทางยาเสพติด ควรได้รับการบำบัดด้วยยาก่อน ตามสภาพของแต่ละคน และชนิดของยาเสพติด

3. การดึงสถานการณ์และบทเรียนให้มีความเกี่ยวพันกัน เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นภาพของการปฏิบัติตัวทั้งด้านทักษะเลิกยาระยะต้น และการป้องกันการกลับไปใช้ยาซ้ำ ได้ชัดเจนขึ้น เช่น ผู้ป่วยมีตัวกระตุ้นภายใน คือ ทางด้านอารมณ์ ในส่วนของการป้องกันการติดซ้ำ การได้ประเมินความเครียด และวิธีการจัดการกับความเครียด จะส่งผลต่อการนำทักษะไปใช้

5. การเล่าเรื่องหรือยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกี่ยวพันกับบทเรียนนั้น ๆ หรือการให้ผู้ช่วยเหลือกลุ่ม ซึ่งเคยเป็นผู้ผ่านประสบการณ์ การฟื้นฟูมาก่อน ร่วมเสนอประสบการณ์ในกลุ่มเพื่อให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจ และสามารถประเมินตนเอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ร่วมกับการรับถ่ายทอดความรู้ใหม่ จะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายความรู้และเกิดกระบวนการสร้างความรู้ทักษะใหม่ ๆ ขึ้น

6. การสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

     * ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการฟื้นฟู

     * ให้การปรึกษากรณีมีปัญหา หรือความทุกข์ไม่สบายใจ

     * วิธีการให้การสนับสนุน และปัจจัยที่เอื้อระหว่างการบำบัด

     * การวางแผนร่วมกันระหว่างนักบำบัด ผู้รับการบำบัดและครอบครัว

7. ผู้ป่วยที่มีปัญหาตรงกับบทเรียนใดของทักษะเลิกยาระยะต้นหรือป้องกันการกลับไปติดซ้ำ นักบำบัดสามารถให้บทเรียนนั้นในทันที เพื่อให้สามารถนำทักษะไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ และผู้รับการบำบัดสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ชัดเจนขึ้น การดูแลผู้ติดยาเสพติดควรได้รับการดูแลครอบคลุมทั้งด้าน ชีววิทยา จิตใจ อารมณ์ ความคิด พฤติกรรม สังคม วัฒนธรรม อาชีพและจิตวิญญาณ เนื่องจากภาวะการติดยาเสพติดเป็นโรคที่เกลับเป็นซ้ำเรื้อรัง (Chronic relaphing disease) การดูแลแบบองค์รวมจึงเป็นสิ่งสำคัญ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การรวมพลังของเราจะส่งผลต่อการดูแลผู้ป่วยและครอบคัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ทีมงานฟื้นฟูผู้ป่วยนอก

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21761เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอชื่นชมในความพยายามของคุณที่ค่อยๆสะสมเป็นความรู้เช่นนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท