อนุรักษ์ป่าชายเลน: นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น


 

  วันนี้ได้ฟังเรื่องเล่า  จากเพื่อนรุ่นพี่   ทำงานที่   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย( สกว.กรุงเทพฯ)  ชื่อ คุณพรทิพย์  ลิ้มประสิทธิ์วงศ์   ชื่อเล่น  พี่อ๋อย  เป็นผู้ประสานงานวิจัยพื้นที่ภาคกลางเครือข่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น   ซึ่งเป็นบุคคลที่เล่าเรื่องราวดี ๆ   อย่างมีความสุขในการบอกเล่า  ชอบถ่ายทอด หลังจากที่รุ่นพี่  ไปเข้าร่วมกิจกรรม หรือทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านมา     เพราะเธอทำงานด้านการพัฒนางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น    จึงเป็นคนที่มีองค์ความรู้และน่าติดตาม   วันนี้ จึงขอนำเรื่องเล่าจากพี่อ๋อย  และคิดว่าเป็นประโยชน์มาก  ในด้านการบริหารจัดการ  และการส่งเสริมทางด้านอาชีพ  

 

ในแต่ละสัปดาห์  ชีวิตของเธอจะหิ้วกระเป๋าเดินทางเพื่อไปร่วมประชุม วางแผน  ติดตามงาน  กับ ชาวบ้าน แต่ละจังหวัดทางภาคใต้   ทุกครั้งที่โทรศัพท์  มาพูดคุยกับผู้บันทึก  บอกว่ามีเรื่องดี  และคิดถึงคุณอนงค์  บางครั้งเป็นมิติทางด้านจิตวิทยาบ้าง   การเดินทางจะไม่ซ้ำจังหวัดกันเลย  เป็นงานที่ให้การพัฒนาทรัพยากรบุคคล  การบริหารจัดการ  วิธีคิดและเพิ่มคุณค่ากับชาวบ้าน   และพี่อ๋อยเล่าให้ฟังว่า  เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 255 1  ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับนักวิจัยท้องถิ่น  คือ การจับปูแสม ที่บ้านคลองท่าปูน อำเภอฉาง   จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อยู่ติดกับอ่าวทะเลบ้านดอน

 นักวิจัยท้องถิ่น ชื่อ นายประสิทธ์  เชื้อเอี่ยม อายุ 53  ปี  เป็นนักวิจัยท้องถิ่น จบชั้นป.4   และเป็นคนที่รักป่าชายเลนเป็นชีวิตจิตใจ   ถึงขนาด ภรรยาให้เลือกว่า จะเลือกใครระหว่างป่าชายเลนกับ  อยู่กับภรรยา    แกยังเลือกที่จะอยู่ในป่าชายเลนทั้งกลางวันและกลางคืน    โดยการปลูกกระท่อมเล็กๆ  พอได้อาศัย เพื่อประกอบอาชีพ ด้านการเพาะพันธุ์ปูแสม  ด้วยความตั้งใจ  และใจรักในป่าชายเลน  

 

ปูแสม” เป็นทรัพยากรประมงที่มีคุณค่า  และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจของคนไทย อย่างหนึ่ง   และคนไทยนิยมนำมาบริโภคในรูปแบบต่างๆ เช่น ดองเค็ม หลน ยำ หรือใช้เป็นส่วนประกอบของส้มตำ เพื่อเพิ่มรสชาดที่เป็นเอกลักษณ์  สร้างรายได้ให้กับนายประสิทธ์  วันละเกือบ 1,000  บาท  ถือว่าเป็นรายได้หลักของครอบครัว  และทำให้ชีวิตครอบครัวดีขึ้น และดำเนินชีวิต อย่างมีความสุข

 

วิธีการจับปูแสม จะจับในเวลากลางคืน  จะจับได้ง่าย   อากาศเย็นสบาย  และขึ้นไปจับปูแสมบนต้นไม้ป่าชายเลน  จะมองเห็นปูแสมเต็มต้นไม้    โดยใช้ไฟไว้ส่อง ทำให้สนุกและมีความสุข   วันหนึ่งจะจับปูแสมได้วันละประมาณ 10  กิโลละ 80 บาท

 

 

นับได้ว่า การเพาะพันธุ์ปูแสม เป็นการสร้างรายได้อย่างมหาศาล ให้กับชาวบ้าน และชุมชน  อีกทั้งเป็นการลงทุนน้อยและคุ้มค่า อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ป่าชายเลนและเพิ่มจำนวนปูแสมในป่าชายเลนได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย 

ถ้าเมืองไทย มีคนอย่างคุณประสิทธิ์  นักพัฒนางานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่เป็นแบบอย่างที่ดี  ในการอนุรักษ์ป่า  อนุรักษ์สัตว์ต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน  ทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นๆ

หมายเลขบันทึก: 217564เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2008 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

ครูคิมชอบมากค่ะงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เคยได้ทุนจาก สกว ภาคมาฉบับหนึ่ง

ผลงานล้มเหลว แต่ได้ชุมชนมาร่วมกับโรงเรียนจนเดี๋ยวนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะครูP krukim

  • เป็นการสนับสนุนให้ชาวบ้าน  มาเป็นนักวิจัยค่ะ
  • ก็ถือว่าประสบความสำเร็จนะค่ะ  ที่ได้ใจชุมชน มาทำงานร่วมกันกับโรงเรียน และเป็นเครื่อข่ายในการให้ความช่วยเหลือโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือชุมชนค่ะ
  • ขอบคุณมาก

 

เดิมทำวิจัยตามทฤษฏี PAR  แต่ NODE ที่นั่นไม่ตรงเวลา กลุ่มชาวบ้านอื่น ๆ ไม่เข้มแข็ง เขาใช้นักศึกษาออกภาคสนาม

ตอนนี้ไม่ทราบยังมี NODE อยู่อีกหรือเปล่านะคะ  ถ้าศึกษางานวิจัยอีกรอบก็คงจะทำคนเดียว

ตอนนี้เก็บข้อสนเทศไปเรื่อย ๆ คงจะออกมาแนวคุณภาพมากกว่าค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

  • ตามคนข้างบนมา
  • และยืมรูปนี้จากพี่คุณครูอุ๊ยคิมด้วย
  • เห็นว่าน่ารักและมีความหมายค่ะ
  • อยากให้เมืองไทยมีคนแบบคุณประสิทธิ์
  • สัก 20%  ก็พอ  นับว่าเป็นบุญของประเทศแล้ว 

ตามคนข้างบนมาอีกทีนึงครับ

เห็นด้วยครับ

อยากให้มีอีกสักหลายๆคน

แต่ถึงจะไม่มี

ผมก็จะเป็นคนหนึ่ง

ด้วยสองมือของผมนี้หละครับที่จะช่วย

แม้จะน้อยนิด

ก็จะทำให้เต็มความสามารถครับ

สวัสดีครับ พี่นงค์

ขอบคุณค่ะP  krukim

  • ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชาวบ้านจะต้องเป็นพระเอก
  • การทำวิจัยแนวคุณภาพ ก็น่าสนใจค่ะ

สวัสดีค่ะคุณP  มนัญญา

  • ขอบคุณมากค่ะ
  • เห็นด้วยค่ะ  อยากให้เมืองไทยมีคนแบบคุณประสิทธิ์ เพิ่มขึ้นมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะP คนพลัดถิ่น

  • ขอบคุณชุมชนคนนักคิด
  • ที่มาเยี่ยมตอนดึก
  • พักผ่อนบ้างนะ
  • อยากให้มีอีกสักหลายๆคน อย่างคุณประสิทธิ์ เยี่ยมยอดมาก

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนนี้ที่โรงเรียน  ชุมชนเข้ามามีบทบาทกันเต็มร้อย มีโครงการร่วมกันหลายโครงการ

ไม่มีปัญหาเรื่องการขาดอำนาจ  เพราะแต่ละคนรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง

มองเห็นเป็นรูปธรรมว่าชุมชนมีบทบาทอย่างจริงจัง และบริบทแวดล้อม แต่ถ้าเรามีกระบวนการช่วยให้เขามีพลวัตรมากขึ้น  ก็จะมีความเข้มแข็งคงทนถาวร

ดิฉันมีความตั้งใจว่าจะรับใช้สังคมบ้างด้วยการฝึกออกสนาม..ค่ะ

สวัสดีค่ะP  krukim

  • แต่ละคนรู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง .....เยี่ยมมากเลยค่ะ
  • ที่สำคัญ ครูคิม  ...มีความตั้งใจว่าจะรับใช้สังคมเกินร้อย
  • ขอบคุณมากที่ร่วม ลปรร 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท