รมว.ศธ.ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๔/๒๕๕๑


รมว.ศธ.ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๔/๒๕๕๑

รมว.ศธ.ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ ๔/๒๕๕๑

        การแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่งและวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ๑๙ คน (โดยมีนายพลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง เป็นประธานอนุกรรมการ) และได้มีการเสนอรายชื่อผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้ง

 รมว.ศธ.กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาถึงหลักเกณฑ์การคัดเลือกอนุกรรมการชุดนี้ ซึ่งได้มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องความเหมาะสมและการมอบหมายผู้แทนว่าไม่ควรจะมี เนื่องจากควรเป็นระดับสูง เช่น รองเลขาธิการ ที่เลขาธิการมอบหมาย แต่ในหลักการที่ประชุมเห็นชอบแล้ว จะมีการปรับปรุงเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ และการใช้ถ้อยคำ ซึ่งได้มอบให้นายบุญปลูก ชายเกตุ และรองเลขาธิการ ก.พ. รวมทั้ง ปลัด ศธ. ไปดูแลปรับปรุง และเมื่อปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเสนอ รมว.ศธ. ลงนามในประกาศ ก.ค.ศ. ได้เลย

การปรับปรุงแก้ไขกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา  

ตามที่ ศธ.ได้มีการอนุมัติให้เพิ่มเขตพื้นที่อีก ๗ เขตใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ อ.ก.ค.ศ. เดิมทำหน้าที่ไปก่อน กรณีจำเป็นเร่งด่วน จนกว่าจะตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาแล้วเสร็จ

การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา สังกัด กศน. (เพื่อเข้าสู่มาตรฐานตำแหน่ง) เนื่องจาก ผอ.กศน. และรอง ผอ.กศน. เดิมตำแหน่งจะเป็นผู้บริหารการศึกษา แต่เมื่อมีกฎหมายใหม่ ได้เปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการหน่วยงานการศึกษา จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและวิธีประเมิน เพื่อคัดเลือกผู้บริหาร กศน.ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการ ดังนี้

- คุณสมบัติ ประกอบด้วย ต้องเป็น ผอ.กศน.จังหวัด และ กทม., รองผอ.กศน.จังหวัด และ กทม., เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา โดยจะรับเฉพาะผู้บริหาร กศน. เท่านั้น

คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนด

การประเมินจะต้องประเมินหลายด้าน และมีการจัดทำบัญชีผู้ผ่านการประเมิน แต่ถ้าไม่ผ่านการประเมินในรอบแรก ศธ. ก็ให้โอกาสในการประเมินอีกครั้ง และเมื่อประเมินแล้วยังไม่ผ่าน ก็จะเปิดโอกาสให้กับข้าราชการ กศน. ที่มีความประสงค์จะรับการประเมิน ได้เข้าสู่การประเมิน

เมื่อมีผู้ผ่านการประเมิน ก็อยู่ที่ผู้บริหารตัดสินใจ ในการแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปอยู่ในจังหวัดใด

หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ 

จะต้องมีการพัฒนาในหลายด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม  ซึ่งจะต้องพัฒนาด้วยวิธีการที่หลากหลาย และหลักสูตรในการพัฒนา ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ การเสริมสร้างสมรรถนะของศึกษานิเทศก์ การฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา และการจัดทำและนำเสนอแผนงานนิเทศในหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยมีระยะเวลาการพัฒนากำหนดไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน

กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารับเงินเดือนในอัตราทดแทน พ.ศ.๒๕๕๑

ที่ประชุมได้รับทราบกฎ ก.ค.ศ.ดังกล่าว ซึ่งได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๑ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

- ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือ ผอ.สพท.อาจขออนุมัติกำหนดอัตรากำลังทดแทนต่อ ก.ค.ศ.ในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นและไม่เกินกำหนดระยะเวลา กรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งได้รับอนุญาตให้ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเทศ หรือได้รับทุนไปศึกษาอบรมต่างประเทศ สามารถขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต

ส่วนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมีวิทยฐานะชำนาญการหรือระดับ ๗ ขึ้นไปที่มีระยะเวลารับราชการเหลืออยู่ไม่เกิน ๖ เดือน หรือผู้ที่ต้องไปพัฒนาเพื่อรองรับการปรับบทบาท ภารกิจ โครงสร้าง หรือปรับระบบงานใหม่ รวมทั้งผู้ที่ไม่อาจปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิผลได้ตามเป้าหมายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือไม่สามารถปฏิบัติงานให้สัมฤทธิผลได้ตามมติ ครม. นโยบายรัฐบาล หรือกระทรวงต้นสังกัด กรณีนี้สามารถขอกำหนดอัตรากำลังทดแทนได้ไม่เกินกำหนดระยะเวลา ๖ เดือน และขยายได้อีกไม่เกิน ๖ เดือน

- ต้องแสดงรายละเอียด คือ คำชี้แจง เหตุผลความจำเป็น กำหนดระยะเวลา รวมทั้งหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะมอบหมาย

- เมื่อ ก.ค.ศ.อนุมัติให้กำหนดอัตรากำลังทดแทนแล้ว ให้สั่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และขาดจากอัตราเงินเดือนในตำแหน่งเดิม

- เมื่อมีเหตุผลความจำเป็นจะขออนุมัติขยายเวลาการสั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษารับเงินเดือนในอัตราทดแทนได้อีกครั้งละไม่เกิน ๑ ปี

- กรณีจะนำตำแหน่งและอัตราเงินเดือนว่างมาเป็นอัตรากำลังทดแทน ให้ขออนุมัติ ก.ค.ศ.หรือให้หัวหน้าส่วนราชการ หรือ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้อนุมัติ แล้วให้รายงาน ก.ค.ศ.ภายใน ๗ วัน

- เมื่อหมดความจำเป็นหรือครบกำหนดระยะเวลา ให้ผู้มีอำนาจสั่งให้พ้นจากการรับเงินเดือนในอัตรากำลังทดแทน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมหรือในตำแหน่งระดับเดียวกัน

- การพ้นจากตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การดำเนินการทางวินัยและออกจากราชการ ให้ถือเสมือนว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ถูกสั่งนั้นดำรงตำแหน่งเดิม

พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับแก้ไข (เพิ่มเติม) พ.ศ.๒๕๔๗

ได้ยกเลิกมาตรา ๕๙ และให้ใช้มาตรา ๑๓ ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ฉบับแก้ไข (เพิ่มเติม) พ.ศ.๒๕๕๑ แทน คือ การโยกย้ายข้าราชการครู ทั้งที่อยู่ที่ สพท. และสถานศึกษา ซึ่งในกฎหมายใหม่ระบุว่า การพิจารณาโยกย้ายข้าราชการครูในสถานศึกษาจะต้องให้คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้เสนอความคิดเห็น ที่ประชุมได้เสนอให้จัดทำแนวทางการแผนปฏิบัติของมาตรา ๑๓ ว่า สามารถเสนอความคิดเห็นในลักษณะใด และเมื่อเสนอความคิดเห็นแล้ว จำเป็นจะต้องรับฟังหรือไม่ อย่างไร.

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท