ปลูกพืชชนิดใดจึงจะดี ณ เวลานี้


ข้อคิดในการให้คำแนะนำการปลูกพืช

รถเข็นในสวนทุเรียนขณะนี้

 สวนทุเรียนที่มียางพาราแซมอยู่เมื่อฤดูเก็บเกี่ยวกรกฎาคม  2551  ที่ตำบลต้นยวน  อำเภอพนม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 เก็บเกี่ยวปี 51

 ปีหน้าจะเป็นสวนทุเรียนเหมือนปีนี้ หรือเปล่ารอดูสถานการณ์

                หลังจากเหตุการณ์  7  ตุลาคม  2551  ที่ประเทศไทยมีสถานการณ์ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับรัฐ  สถานการณ์เศรษฐกิจวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์  (Hamburger  Crisis)  ทั้งสถานการณ์ภายในประเทศ และของโลก ดังกล่าว       มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทุกระดับจนถึงระดับรากหญ้า  ในภาคการเกษตรเองก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่ราคาน้ำมันลดลง   ราคายางพาราก็ถดถอย  ต่อเนื่องทุกวัน  เหลือกิโลกรัมละ 48 49  บาท  ราคาผลปาล์มทะลายสด  ต่อกิโลกรัม  ลดเหลือ 2.70 2.80  บาท  (ณ  วันที่  16  ตุลาคม  2551)  ราคาผลไม้ฤดูกาลผลิต ปี 2551  ค่อนข้างทรงตัว  ส่งผลต่อการตัดสินใจที่จะเลือกปลูกและโค่นพืชบางชนิดเพื่อปลูกพืชชนิดหนึ่งชนิดใดทดแทน  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาประมาณ  ปี  พ.ศ.  2540  ราคากาแฟกิโลกรัมละเกือบ 100  บาท  เกษตรกรที่เคยโค่นกาแฟเมื่อปี  2537 2540  ก็หันมาปลูกกาแฟเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ส่งผลทำให้ราคากาแฟ  ตั้งแต่ ปี  2544  จนถึงปัจจุบันตกต่ำ  เหตุการณ์ที่ผ่านมาน่าจะเป็นบทเรียนให้เกษตรกรและนักส่งเสริมการเกษตรได้นำมาเป็นข้อคิดในการให้คำแนะนำการปลูกพืชได้ในวันนี้

                เกษตรกรหลายท่านในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  กำลังสับสนกับการเลือกปลูกพืช  ทั้งปลูกใหม่  และปลูกทดแทนพืชชนิดเดิม  บางรายปลูกทุเรียน  กำลังให้ผลผลิตที่ดี  เข้าโครงการระบบจัดการคุณภาพพืช GAP     ของจังหวัดสุราษฎ์ธานี  มีรายได้ดีกับผลผลิตทุเรียนมาหลายปี  แต่เนื่องจากราคายางพารา  มีเสถียรภาพมากตั้งแต่  ปี  พ.ศ.  2547  จนถึง  กันยายน  2551  ทำให้เกษตรกรรายนี้ปลูกยางพาราแซมในสวนทุเรียน  แต่   วันนี้ราคายางพารา  มีแนวโน้มลดลงทุกวัน  ตามสถานการณ์เศรษฐกิจจึงเกิดความลังเล  ในการเปลี่ยนสวนทุเรียนเป็นสวนยางพารา  แปลงนี้    บางรายปลูกปาล์มน้ำมันแซมสวนผลไม้ (เงาะ,  มังคุด, ลองกอง)  บางรายโค่นมังคุด  นำต้นมาทำเป็นเสาบ้าน  ก็มาจากปัญหาด้านราคา

            แนวทางการส่งเสริมการปลูกพืช  เพื่อความยั่งยืนขณะนี้  จึงขอให้เน้นหลักศักยภาพของพื้นที่  ตามเขตการปลูกพืช  (Zoning)   หากพื้นที่ใดมีความเหมาะสมกับหลายชนิดพืช  ก็พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น  การใช้แรงงาน    การปฏิบัติดูแลรักษา  การเก็บเกี่ยว  แต่ศักยภาพด้านการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ   เช่นกัน  ที่ผ่านมาการตลาดก็มีความผันผวนตามสถานการณ์โลก  อย่างเช่นเหตุการณ์ขณะนี้  เกษตรกรก็คงต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านการตลาดไว้ด้วย  บทเรียนที่ผ่านมาบอกได้ว่าไม่มีพืชนิดใดที่ราคามีเสถียรภาพอย่างแท้จริง

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 216987เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2008 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • เป็นคนชอบปลูกต้นไม้มากค่ะ
  • หมดเงินไปเยอะและต้นไม้ก็ตายไปเยอะเหมือนกันค่ะ

  • จะปลูกอะไรดี  ต้องตัดสินใจให้แน่แล้วจริงใจกับมัน ห้ามโลเล
  • เรียนถูกโต่นเรียน  ยางถูกโค่นยาง
  • ตายกับตาย
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับคุณใจทิพย์
  • ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาแบ่งปัน
  • ผมว่าการพัฒนาการเกษตรณ.ปัจจุบัน ควรจะปลูกพืชแบบผสมผสานแล้วละครับ
  • แต่ต้องยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนะครับ

-ขอบคุณที่แวะมาคุยกัน

-พอเพียงและยั่งยืนน่าจะคู่กันน่ะ

เป็นของธรรมดาที่สินค้าล้นตลาดแล้วราคาก็ต้องตกเป็นธรรมดา ต้องทำใจล่ะครับ ในราคา แต่ถ้าลดต้นทุนได้เยอะล่ะจะดีมากๆ ล่ะครับ และเราก็ต้องหาตลาดใหม่ๆ คู่ไปด้วย และหาวิธีที่จะแปรรูปของที่เรามีอยู่ไว้ด้วย ก็จะได้เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งจะดีมากๆ เช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท