เกณฑ์การประเมิน


เกณฑ์การประเมิน

                                       เกณฑ์การประเมิน
เกณฑ์การประเมินของดัชนีในระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ สามารถประมวลไว้เป็น 3 รูปแบบ
ดังนี้

แบบที่ 1 กำหนดค่า Benchmark
        ระบบนี้เป็นการกำหนดค่าที่ยอมรับได้ไว้ที่ระดับหนึ่งซึ่งอาจเป็นค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดก็ได้ (Benchmark) ทั้งนี้เพื่อใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินการว่าได้ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หรือมีการพัฒนาอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับค่าสูงสุดที่กำหนดไว้ เช่น
                  -  จำนวนนิสิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในเวลา 4 ปี
                  -  สัดส่วนของอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกต่ออาจารย์ทั้งหมด
                  -  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อจำนวนนิสิต
                  -  จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการทบทวนปรับปรุงในรอบ 5 ปี
         ระบบนี้เหมาะสำหรับการติดตามดูผลการดำเนินงานของดัชนีที่กำหนดให้มีเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ที่ระดับหนึ่ง หรือเพื่อใช้ติดตามผลการปรับปรุงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ตั้งไว้

กำหนดค่า Benchmark        ระบบนี้เป็นการกำหนดค่าที่ยอมรับได้ไว้ที่ระดับหนึ่งซึ่งอาจเป็นค่าสูงสุดหรือค่าต่ำสุดก็ได้ (Benchmark) ทั้งนี้เพื่อใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินการว่าได้ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หรือมีการพัฒนาอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับค่าสูงสุดที่กำหนดไว้ เช่น                   -  จำนวนนิสิตที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในเวลา 4 ปี                  -  สัดส่วนของอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกต่ออาจารย์ทั้งหมด                  -  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่อจำนวนนิสิต                  -  จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการทบทวนปรับปรุงในรอบ 5 ปี         ระบบนี้เหมาะสำหรับการติดตามดูผลการดำเนินงานของดัชนีที่กำหนดให้มีเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ที่ระดับหนึ่ง หรือเพื่อใช้ติดตามผลการปรับปรุงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าที่ได้ตั้งไว้

 

แบบที่ 2 ระบบ Point system
          ระบบนี้เป็นการกำหนดระดับคะแนนไว้เป็นแต้มหรือเป็นช่วง เพื่อกำกับการประเมิน  เช่น

ระบบ Point system          ระบบนี้เป็นการกำหนดระดับคะแนนไว้เป็นแต้มหรือเป็นช่วง เพื่อกำกับการประเมิน  เช่น

คะแนน 1 – 4
                               1 = ควรปรับปรุง
                               2 = พอใช้
                               3 = ดี
                               4 = ดีมาก

 

คะแนน A , B , C
                               A = Excellent หรือ ดีเยี่ยม
                               B = Average หรือ พอใช้
                               C = Poor หรือ ต้องปรับปรุง
            การกำหนดระดับคะแนนอาจอาศัยการประมวลผลจากข้อมูลในอดีต หรือใช้การตกลงภายในกลุ่มผู้ทำการประเมินก็ได้ ทั้งนี้ดัชนีตรวจสอบทั้งหลายที่สถาบันต่างๆได้ดำเนินการอยู่สามารถแปลงมาเป็นดัชนีประเมินโดยอาศัยเกณฑ์การประเมินของระบบ Point system นี้ได้

แนวทางในการกำหนดเกณฑ์กำกับการให้คะแนนในระดับต่าง ๆ โดยทั่วไปอาจเป็นดังนี้

ระดับคะแนน

ความหมาย

1

 

การดำเนินการไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้กำหนด มีความด้อยประสิทธิภาพมาก ต้องปรับปรุงแก้ไข

2

 

การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายบางส่วน แต่ยังต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3

 

การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายครบถ้วน แต่ยังมีโอกาสในการปรับปรุงให้ดีกว่านี้ได้

4

 

การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างครบถ้วนและดีเยี่ยม

        ในขณะเดียวกันระบบนี้เมื่อใช้กับดัชนีเชิงปริมาณที่ต้องการการประเมินผลหรือการลงความคิดเห็นกำกับดัชนีที่อาจกำหนดเกณฑ์กำกับระดับผลการดำเนินการที่แตกต่างกัน ได้
         ดัชนี ร้อยละของวิชาที่มีการรายงานผลตรงตามกำหนดเวลา อาจกำหนดเกณฑ์ไว้ดังนี้

                              ต่ำกว่า ร้อยละ 80 - ควรปรับปรุง (= 1 คะแนน)
                              มากกว่าร้อยละ 80 - พอใช้ (= 2 คะแนน)
                              มากกว่าร้อยละ 90 - ดี (= 3 คะแนน)
                              เต็ม 100 % - ดีมาก (= 4 คะแนน)

 

แบบที่ 3 ระบบ Weight adjustment
               ระบบนี้จะมีการกำหนดค่าน้ำหนักกำกับดัชนีต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเน้นความสำคัญในดัชนีแต่ละตัวแตกต่างกัน เช่น
                ดัชนีในองค์ประกอบของการเรียนการสอนอาจประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยอีก 3 ข้อ ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องการเน้นความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบต่างกันดังนี้

ระบบ Weight adjustment   ระบบนี้จะมีการกำหนดค่าน้ำหนักกำกับดัชนีต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเน้นความสำคัญในดัชนีแต่ละตัวแตกต่างกัน เช่น  ดัชนีในองค์ประกอบของการเรียนการสอนอาจประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยอีก 3 ข้อ ซึ่งสถาบันการศึกษาต้องการเน้นความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบต่างกันดังนี้

องค์ประกอบย่อยที่

 

น้ำหนัก

1

ร้อยละของวิชาที่มีแผนการสอน

15 %

2

ร้อยละของนิสิตที่สอบผ่านชั้นปีที่ 1

50 %

3

สัดส่วนของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาต่อนิสิตที่รับเข้าในชั้นปีนั้น

35 %

 

            ระบบนี้อาจใช้เพื่อกำกับการลงความเห็นในภาพรวมขององค์ประกอบย่อยหรือองค์ประกอบใหญ่ของแต่ละคณะวิชา โดยใช้ควบคู่ไปกับระบบการให้คะแนนในแบบที่สอง อย่างไรก็ตามระบบการให้น้ำหนักกับดัชนีย่อยนี้ควรพิจารณาใช้เฉพาะดัชนีที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับความสัมฤทธิผลของดัชนีรวมนั้นๆเท่านั้น มิเช่นนั้นอาจทำให้ผลการสรุปบิดเบือนไปได้
 ตัวอย่างเช่น คณะวิชาหนึ่งอาจมีผลการดำเนินการตามดัชนีในองค์ประกอบของการเรียนการสอนดังนี้

องค์ประกอบย่อยที่

ผลการดำเนินการตามดัชนี

น้ำหนัก

1

ดีมาก (= 4 คะแนน)

15 %

2

พอใช้ (= 2 คะแนน)

50 %

3

ดี (= 3 คะแนน)

35 %

สรุปผลการดำเนินการตามดัชนีในองค์ประกอบนี้จะสามารถคำนวณได้ดังนี้

                             = 4 x 0.15 + 2 x 0.5 + 3 x 0.35

                             = 2.65

ซึ่งอาจสรุปในภาพรวมขององค์ประกอบนี้ได้ว่าอยู่ในระดับพอใช้จนถึงค่อนข้างดี เป็นต้น
       ข้อแนะนำในการกำหนดเกณฑ์การประเมินสำหรับการประกันคุณภาพภายในของสถาบันการศึกษาต่างๆดังนี้
             1.  ทำการสำรวจและรวบรวมเบื้องต้นจากการดำเนินการของคณะวิชาต่างๆเพื่อหาค่า สูงสุด-ต่ำสุดและค่าเฉลี่ย โดยอาจประมวลข้อมูลแยกตามกลุ่มคณะวิชาเป็น กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์ประยุกต์ กลุ่มสังคมศาสตร์ เป็นต้น
             2. ประมวลความคิดเห็นในแต่ละสาขาเพื่อกำหนดเกณฑ์กำกับดัชนีและกำกับองค์ประกอบของการประเมินผลระบบคุณภาพภายใน
             3.  ดำเนินการระบบการประเมินและติดตามปรับปรุงเกณฑ์ต่างๆให้เหมาะสม

หมายเลขบันทึก: 21685เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2006 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
บางสำนัก บางคน ใช้คะแนนเต็ม 4 คะแนนบ้าง เต็ม 5 คะแนนบ้าง มีหลักการเช่นไรในการกำหนด หรือแม้กระทั่งแบบสอบถามความคิดเห็น เต็ม 3, เต็ม 4 , เต็ม 5 ก็มี และเมื่อนำผลสุดท้ายของแต่ละแบบมาเทียบกันจะได้หรือไม่
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท