ถอดบทเรียนโครงการเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน : กรณีชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


เป็นที่โชคดีศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มมส. สำหรับโครงการบริการวิชาการ จำนวน 50,000 บาท เราเสนอโครงการชื่อ เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการศึกษาที่ยั่งยืน : กรณีชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้รับผิดชอบโครงการใส่ชื่อของทุกๆคนภายในศูนย์ฯ (ผอ. รองผอ. พี่อิ๋ว น้องหนึ่ง น้องไหม น้องเต้ และผม ตามสัดส่วน) เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดความเป็นเจ้าของ และโดยเฉพาะผลงานได้ร่วมกัน


กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ ผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนมัธยมสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 20 โรงๆละ 5 คน รวมประมาณ 100 คน


        ในขั้นแรกทีมศูนย์ฯได้ขอเข้าพบนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ (นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ติดภารกิจ มอบให้รองนายกฯหารือแทน) เพื่อชี้แจงและหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน (กองการศึกษา อบจ.มค. ร่วมกับ ศูนย์ประกันฯ มมส.) สรุปได้ว่า

  • งบประมาณทุกอย่างทางศูนย์ฯจะออกค่าใช้จ่าย

  • สถานที่ ณ ศูนย์แสดงสินค้า OTOP ของ อบจ.มค.

  • จัดกิจกรรมครั้งแรกวันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม 2551

  • กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนสังกัดจำนวน 20 โรงๆละ 5 คน รวมประมาณ 100 คน

  • ประเด็นหลักในการพูดคุยคือ ความเชื่อมโยงมาตรฐานการศึกษาระดับพื้นฐาน กับ อุดมศึกษา

  • เชิญท่านอาจารย์แม่ รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ มาให้ข้อคิดในช่วงบ่ายในเรื่อง การเรียนรู้พื้นฐานสานต่อสู่สังคมอุดมปัญญา


งานนี้ท่านรองฯหนุ่ม ผศ.ดร.ณัฐพล ภูมิสะอาด เจ้าของงานตัวจริงงานนี้ ดำเนินการเองเกือบทุกอย่าง ทั้งจัดทำแบบวัดทัศนคติ จัดเอกสารเข้าแฟ้ม หายืมเครื่องฉายแผ่นทึบ และเป็นผู้ดำเนินรายการ


กิจกรรมที่เกิดขึ้น

  1. เริ่มต้นตามกำหนดการ 9.00 น. ผู้เข้าร่วมมาเกือบครบร้อย อ.หนุ่ม กล่าวรายงาน และให้เกียรติ รองนายก อบจ.มค. กล่าวเปิด (นายก อบจ.มค. ติดภารกิจ ณ ต่างประเทศ)

  2. เป็นทำเนียมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของศูนย์ฯของ ต้องมีการทบทวนเจ้าของก่อนเริ่มกิจกรรมก่อน ด้วย BAR

  3. ต่อจากนั้น ท่านอาจารย์จิตเจริญก็เริ่มด้วยการเปิดประเด็นถือ ความเชื่อมโยงมาตรฐานการศึกษาระดับพื้นฐาน กับ อุดมศึกษา และเปิดคลิป คิดได้ ได้คิดอะไร” 2 เรื่อง คือ final score และ ครูสมพรสอนลิง

  4. หลังจากนั้น ท่านอาจารย์จิตเจริญ รับอาสาไปรับท่านอาจารย์แม่ ณ สนามบินขอนแก่น และท่าน รองหนุ่มได้ดำเนินการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 10 กลุ่ม ตามหมายเลขเอกสารที่ติดอยู่หน้าแฟ้ม ไม่ต้องเสียเวลานับแบ่งกลุ่ม ประเด็น โจทย์ คือ 1) ได้เรียนรู้อะไรจากหนังสองเรื่อง และ 2) ท่านคิดว่าจะทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างอาจารย์โรงเรียนกับบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาอย่างไร และ การที่นักเรียนก้าวไปสู่การเป็นนิสิตนักศึกษา

  5. เวลา 11.45 น. พักรับประทานอาจารย์กลางวัน โดย อบจ.มค.ได้เตรียมข้าวกล่องซึ่งหลากหลายอย่างให้เลือก พร้อมผลไม้ นำเข้ามาท่านในห้อง ผมก็ทำหน้าที่เปิดคลิปหนังและโฆษณาหลายเรื่องเพื่อเจริญอาหาร กินไป ดูไป คิดตาม

  6. เวลา 12.45 น. เริ่มนำเสนอผลกลุ่มจากโจทย์ 2 ข้อ ในระหว่างนำเสนอนั้น ท่านอาจารย์จิตเจริญก็โทรเข้ามาแจ้งเป็นระยะว่ากำลังเดินทางถึงไหน เพื่อให้ทางเราเตรียมการ และสามารถปรับกระบวนการได้ทัน

  7. เวลา 14.00 น. ตรงนำเสนอได้ยังไม่หมดทั้ง 10  ท่านอาจารย์แม่ก็เดินทางเข้ามาถึงห้องประชุม (จากนั้นท่านอาจารย์จิตเจริญ เกิดอาการ Vertigo คลิ๊ก ขอไปนอนพักที่ศูนย์บริการทางการแพทย์ รอเวลารับอาจารย์แม่ไปส่งสนามบินกลับ) และเริ่มบรรยายแบบเป็นธรรมชาติ กันเอง โดยไม่รีรอ จนถึง 17.00 น.


จากการสรุปบทเรียนของกิจกรรมนี้โดยส่วนตัวทั้งจากการสังเกต จาก แบบBAR,AAR แบบสำรวจทัศนคติ และแบบประเมินโครงการ พอสรุปได้ คือ

  1. โรงเรียนในสังกัด อบจ.มค. ทั้ง 20 โรง ไม่ค่อยได้มีโอกาสเข้ามาพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนกัน อาจจะเป็นเพราะระยะทางที่อยู่ตามแนวตะเข็บของจังหวัด

  2. โรงเรียนอย่างให้มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยในการบริการวิชาการด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาทักษะความรู้ของครู เป็นต้น

  3. โรงเรียนอยากเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรต่างๆของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่น

  4. ถ้าเป็นไปได้ในครั้งต่อไป (ถ้ามี) อยากให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วย


อีกประมาณ 1 เดือน ทางศูนย์ฯคงดำเนินการเช่นเดิม คือ การติดตามผลกระทบ/ผลลัพธ์จากผู้เข้าร่วมในครั้งนี้ ว่าได้มีการพัฒนา หรือ เปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในการทำงาน




<p> </p><hr><p></p>




หมายเลขบันทึก: 216745เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2008 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แซว...ขอคิดค่าลิขสิทธิ์ภาพนี้ได้ไหม

สวัสดีครับ

ขออนุญาตยืมรูปจากไฟล์อัลบั้ม น้องผึ่งนะครับ

เรียนท่าน Jack กัมปนาท

  • เป็นแบบอย่าง การทำ AAR ที่ "ททท" ที่น่าเป็นแบบอย่างของชาวศูนย์ประกันฯ มมส ครับ

เรียน ท่านอาจารย์จิตเจริญ

สุขภาพคงดีขึ้นแล้วนะครับ อาการ Vertigo คงหายขาด

การถอดบทเรียนเจ้าของสำหรับผม ถือเป็นการสรุปความคิดของตัวเอง ถ้าบ่อยไว้นาน มันจะลืมครับ

อีกประการก็ถือว่า เป็นการสะสมงานทางอินเทอร์ บนบล็อก ของตัวเอง

และที่สำคัญอาจเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน คือ งานพัฒนา ครับ

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาศึกษาวิธีการถอดบทเรียนที่ดีค่ะ
  • คุณแจ๊คสบายดีนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท