การประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน


ถ้ากำหนดปฏิทินการประชุมเป็นรายปี อย่างแน่นอน ปีละ 4-6 ครั้ง โดยกำหนดวันที่แน่นอนตั้งแต่ต้นปี ผมเชื่อว่า คณะกรรมการจะมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโรงเรียนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างแน่นอน

        เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ได้มีโอกาสไปบรรยายเกี่ยวกับ "การบริหารงานในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา" ให้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 ณ หอประชุม โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี  ได้เสนอแนวคิดในการทำงานหลายลักษณะ ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเสนอให้คณะกรรมการสถานศึกษาจัดให้มีการประชุมประจำปี เพื่อกำกับติดตามและส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ซึ่งในอดีต แต่ละสถานศึกษามักจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ในที่นี้เห็นว่า สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับคณะกรรมการชุดนี้ โดยในแต่ละปี ควรจัดให้มีการประชุม ปีละ 4-6 ครั้ง เช่น

ครั้งที่ 1  ร่วมวิเคราะห์ปัญหา-ความต้องการจำเป็นในการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่

ครั้งที่ 2  ร่วมกำหนดนโยบาย/ทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรรวมนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลด้วย(นำมาจากนโยบาย/จุดเน้นที่กำหนดโดย คณะกรรมการ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา)

ครั้งที่ 3  ร่วมรับรองแผนพัฒนางานประจำปีของสถานศึกษา

ครั้งที่ 4-5  รับทราบความก้าวหน้าในการพัฒนางานตามแผน  ตามนโยบาย  การดำเนินการประกันคุณภาพภายใน

ครั้งที่ 6  ร่วมสรุป ประเมินผลงานในรอบปีของสถานศึกษา และเตรียมการเพื่อการวางแผนพัฒนาในปีถัดไป

ถ้ากำหนดวันเวลา และปฏิทินการประชุมเป็นรายปี  ปีละ 4-6 ครั้ง เช่นนี้  โดยกำหนดวันประชุมที่แน่นอนตั้งแต่ต้นปี ผมเชื่อว่า คณะกรรมการจะมีบทบาทในการให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาโรงเรียนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างแน่นอน และจะมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา ได้เป็นอย่างดี

ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องตกลงกันว่า ในปีนี้ จะมีการประชุมอย่างน้อยกี่ครั้ง วันที่เท่าไร และในการประชุมแต่ละครั้ง จะต้องมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการหารือที่เป็นรูปธรรม เป็นที่รับทราบล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี

หมายเลขบันทึก: 216371เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2008 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แวะมาทักทายค่ะ เข้ามาเจออาจารย์พอดี

การนอนดึก ๆ เสียสุขภาพนะคะ

คนเราควรนอน 22-24 น.

เพื่อให้ร่างกายหลั่ง เมลาโทนิน ร่างกายจะพักผ่อนอย่างเต็มที่

  • ขอบคุณมากครับ คุณจิด้า ที่เตือนเรื่องสุขภาพ จะยายามนะครับ(แต่ติดนิสัยเสียแล้ว) ไม่ทราบว่าจะทำได้หรือเปล่า
  • ปัจจุบัน ต้องใช้วิธี อม "เมลาโตนิน" ชนิดเม็ด ไว้ใต้ลิ้น แทน เพราะนอนดึกจนเคยชิน

เดิมโรงเรียนของดิฉัน คณกรรมการและชุมชน ไม่อยากเข้ามามีส่วนร่วม เพราะยังไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ที่มีต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภายหลังที่มีการเปลี่ยนผู้บริหารฯ พวกเราได้ร่วมมือกันสร้างปัจจัยภายใน (ผลที่เกิดกับนักเรียน) การพบปะ ประชาสัมพันธ์ และโรงเรียนเกิดเหตุไฟไหม้ จึงได้โอกาสอย่างดี  ทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเกิดโครงการ 2 โครงการคือ

1.โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วม

2.โครงการจิตสาธารณะสู่กระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วม (โรงเรียนต้นแบบคุณธรรมชั้นนำ)

ทั้ง 2 โครงการยังไม่มีการประเมินเป็นรูปแบบ ระเบียบวิธีการวิจัย

ดิฉันมีความสนใจที่จะทำวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการสร้างพลวัตรให้กับคนในชุมชนค่ะ

เรียน krukim

  • ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยน
  • ทั้งสองโครงการของโรงเรียนท่าน น่าสนใจยิ่ง
  • ถ้าแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีความพร้อมในระดับมาก จะช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี อย่างแน่นอน
  • "กระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนมีส่วนร่วม" เพื่อสร้างจิตสาธารณะให้แก่นักเรียน น่าจะเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ในยุคต่อจากนี้ไป  ถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ อยากให้เขียนรายงานการประเมินโครงการ  หรือเขียนรายงานในลักษณะ "R&D" ก็ได้นะครับ  จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป

ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงยิ่งค่ะอาจารย์

การประเมินโครงการ เคยทำวิทยานิพนธ์ ป.โท มาแต่ดูๆ เหมือนยังไม่แน่น

วันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2551 ตั้งว่าจะไปร่วมเรียนรู้ใหม่หลักสูตรสัมมนา ของอาจารย์สมคิด พรมจุ้ยค่ะ

งานวิจัยแหล่งเรียนรู้ เค้าโครงเป็นลักษณะ PAR  ค่ะ

ส่วนกระบวนการเรียนรู้จิตสาธารณะ  เป็นโครงการโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำของ 1 ใน 11 โรงเรียนของจังหวัดพิษณุโลกค่ะ

R&D ก็น่าสนใจ  แต่อาจจะไม่เหมาะกับบริบทของโรงเรียนค่ะ เรามีกำลังพัฒนาน้อยมาก  สอนกันสัปดาห์ละ 24-25 ชั่วโมงนะคะ

อันแรกจะลองเขียนโครงร่างดูก่อนค่ะ

ปีนี้ยังไม่ทราบข่าวการนำเสนองานวิจัยของโรงเรียนหอวัง แต่อย่างใดค่ะอาจารย์

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นพวรรณ พงษ์เจริญ

เป็นแนวทางที่ดีมากครับ ผมเห็นด้วยกับความคิดของอาจารย์ เพราะที่โรงเรียนก็ประชุมอย่างน้อยปีละ 3-4 ครั้งและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณะกรรมการสถานศึกษาฯในการเข้าร่วมประชุมและร่วมวางแผนนอกจากนี้ในเทอมที่มายังได้นำคณะกรรมการไปศึกษาดูงานการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดเทียนถวาย ปทุมธานี ซึ่งคณะกรรมการที่โรงเรียนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนและทำให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดเทียนถวายเจริญก้าวหน้าคณะกรรมการที่โรงเรียนดูแล้วยังชื่นชมและนำความคิดและการปฏิบัติมาคิดปรับใช้ในโรงเรียนในโอกาสต่อไป

เรียน krukim

  • คาดว่าช่วงสัมมนา 9-12 พ.ย.51 คงจะได้เจอกันนะครับ
  • การนำเสนองานวิจัยของหอวัง ผมยังไม่มีข้อมูลเหมือนกันว่า ปีนี้จะจัดหรือไม่  มีโอกาส จะสอบถามอีกครั้งครับ

คุณ kaytay

  • ดีใจครับที่ ผอ.เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ผมคิดว่าถ้าทุกโรงเรียน จริงจังกับบทบาทการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายผู้ปกครอง น่าจะเป็นทางเลือกสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา

กราบขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

ตอนนี้ได้หาตำราของของ มสธ. เกี่ยวกับการประเมินโครงการที่คณะลงทะเบียน ป.โท ภาคเรียนนี้มาศึกษาเพิ่มเติม

คาดว่าถ้าโรงเรียนไม่ขัดข้องจะได้พบกับอาจารย์ในภาคสัมมนาค่ะ

ด้วยความเคารพค่ะ

นพวรรณ พงษ์เจริญ

- ดีใจมากครับที่อาจารย์กลับมาให้ความรู้ประสบการณ์ในบล๊อคอีกครั้ง

- ประเด็นในเรื่องคณะกรรมการสถานศึกษานี้สำหรับโรงเรียนขนาดกลาง-เล็กส่วนมาก(ที่ได้มีประบการณ์)จะตั้งไว้ให้เพื่อมีตามระเบียบเท่านั้นเองครับ บางทีเจ้าตัวเองยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนนี้(เพราะโรงเรียนเอาชื่อไปใส่เพื่อส่งหน่วยงานต้นสังกัดโดยไม่ได้ประสานหรือแจ้ง)

- ภาพพจน์เดิมๆที่มักเกิดขึ้นก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา(อาจจะ)กังวลว่าหากคณะกรรมการสถานศึกษาทำหน้าที่ตนเองอย่างเข็มแข็งจริงๆจังๆแล้ว บทบาทและหน้าที่(อำนาจบางอย่าง)อาจถูกลดลงไป ประเด็นนี้ผมพบมาจริงๆครับ

- เรียนถามอาจารย์เรื่อง หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ฉบับใหม่นี้ครับ เพราะเข้าใจ(เอง)ว่าจะเริ่มใช้ให้ทันในปีการศึกษาหน้านี้ นอกจากเรื่องระดับการเรียนที่กลับมาใช้ 3 แบบเหมือนเดิมแล้ว รายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆน้อยๆเช่น ม.ต้นกลับมาใช้การประเมินเป็นรายภาค มีเรื่องสำคัญหรือประเด็นหลักในหลักสูตรใหม่นี้อะไรบ้างไหมครับ

ขอบคุณอาจารย์ที่อ่านข้อความครับ

ต้องการแบบฟอร์มปฏิทินการปฏิบัตงานของคณะกรรมการขั้นพื้นฐานของโรงเรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท