โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง : COPD : ผมขอกลับบ้าน


อาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จึงมักมีอารมณ์ก้าวร้าว กลัว กระวนกระวาย ท้อแท้ หรือซึมเศร้า นอกนั้น ยังมีอาการเบื่ออาหาร หย่อนสมรรถภาพทางกาย เพราะไม่ได้ออกกำลัง

วันนี้ฉันขึ้นรับเวรด้วยอารมณ์แจ่มใส โผล่หน้าเข้าไปในตึก ผู้ป่วยก็ส่งยิ้มหวานให้อย่างเอาใจ

"อ้าว....สบายดีแล้วเหรอ" ฉันทักทายอย่างเป็นกันเอง

"ครับผม" คนไข้ยิ้มกว้างแทบจะโชว์ฟันทั้งสามสิบสองซี่

"ขอกลับบ้านนะครับ"

 

คนไข้รายนี้ เข้ารักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยหอบ แพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดลมอุดกั้น(COPD) คนไข้เหนื่อยมากจนหายใจไม่ไหว คุณหมอจึงใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยใจ

คนไข้นอนให้เครื่องช่วยหายใจอยู่สามวัน พร้อมกับการพ่นยาขยายหลอดลม และในวันนี้คนไข้ลุกขึ้นมานั่งขอกลับบ้านหลังจากที่หายใจได้เองไม่มีหอบเหนื่อย

น้องเล่าให้ฟังว่า เมื่อวานนี้หลังจากหย่าเครื่องและสามารถเอาท่อช่วยหายใจออกได้ คนไข้ก็ขอกลับบ้าน มีติดสินบนด้วยข้าวเม่า หากได้กลับบ้านจะเอามาฝากซัก 4 กิโล

 

ฉันคุยกับคนไข้ถามเรื่องที่ต้องดูแลตนเองที่บ้าน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

คนไข้บอกว่า

-ต้องหลีกเลี่ยงสื่งที่จะมากระตุ้น เช่น ควันพิษ ฝุ่นละออง และใส่มาร์คปิดจมูกเมื่อจนฝุ่น

-บ้านช่องที่อยู่หลับนอนต้องสะอาดไม่มีฝุ่น

-เมื่อมีอาการหอบจะยาพ่น ขณะพ่นต้องสูดหายใจเข้าลึกๆ

-กินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่งให้

-เมื่อมีอาการหนักหายใจไม่ออกให้รีบมาโรงพยาบาล

 

คนไข้ตอบได้ดีทีเดียวเนื่องจากว่า คนไข้ได้รับการแนะนำจากแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และกายภาพบำบัด จากการมารับการรักษาครั้งก่อน

คนไข้บอกฉันว่า เลิกสูบบุหรี่มานานแล้วตั้งแต่เริ่มมีอาการไอ และเห็นว่า ตัวเองอายุยังน้อยแถมต้องเลี้ยงหลาน จึงคิดเลิกสูบบุหรี่และหันมาดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น กระนั้นก็ยังต้องกลับมาใส่ท่อช่วยหายใจและเครื่องอยู่ตั้งหลายวัน

 

คนไข้ได้รับการอนุญาตออกจากไอซียู แต่ต้องไปพักในตึกสามัญเพื่อดูอาการต่อ น้องตามไปเยี่ยมในตอนบ่ายบอกว่าคนไข้นอนหลับอยู่เลยไม่รบกวน

ก่อนออกจากไอซียู ฉันขอประเมินความพึงพอใจ ได้รับคะแนนเต็ม 5 ทุกข้อ ในเรื่องของการใส่บริการและความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่รู้ว่าคนไข้เอาใจหรือเปล่า และต้องรอข้าวเม่าตามสัญญา หวังว่าคงไม่เป็นแม่สายบัว เปล่าเห็นแก่ได้ แต่อยากรู้ว่าอร่อยจริงตามคำบอกเล่าหรือเปล่า อิอิอิ

 

 

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) หมายถึง การอักเสบของหลอดลม และของปอด (ถุงลม) เป็นผลที่เราหายใจ เอาสารที่เป็นพิษ ในอากาศเข้าไปในปอด ทำให้เกิดมีการอักเสบ และมีการทำลายหลอดลมและเนื้อปอดขึ้น

 

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) และโรคถุงลมปอดโป่งพอง (Pulmonary Emphysema) เกือบทั้งหมดเป็นผลจากการ ที่เราหายใจเอามลภาวะ ที่เป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปก๊าซ หรือฝุ่นเข้าไป ทำให้มีการอักเสบ และมีการทำลาย ระบบทางเดินหายใจคือ หลอดลมและปอด โรคนี้เกือบทั้งหมดจะเกิดร่วมกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีหลอดลมอักเสบมากกว่า แต่บางรายอาจมีถุงลมปอดโป่งพองมากกว่า น้อยรายที่จะเกิดเพียงอย่างเดียว ทางการแพทย์จึงมักเรียกรวมกันว่า โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD) โรคนี้พบบ่อยมาก

อาการ

เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก จึงมักมีอารมณ์ก้าวร้าว กลัว กระวนกระวาย ท้อแท้ หรือซึมเศร้า นอกนั้น ยังมีอาการเบื่ออาหาร หย่อนสมรรถภาพทางกาย เพราะไม่ได้ออกกำลัง 

การรักษาทางการผ่าตัด

การผ่าตัด เป็นการบรรเทาอาการของโรค และยังทำกันน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มีอยู่ ในผู้ป่วยที่มีถุงลมปอดโป่งพอง เป็นถุงใหญ่ และเนื้อปอดรอบๆ ที่ยังพอทำงานได้ดี  การตัดเอาถุงลมนั้นออกไป จะทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยน้อยลงได้ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคระยะท้ายๆ การผ่าตัดอาจช่วยได้แต่ต้องเลือกผู้ป่วยให้เหมาะสม  และมีผู้ป่วยเป็นส่วนน้อย ที่ได้ผลดีจากการผ่าตัด ได้แก่ผู้ป่วยที่โรคส่วนใหญ่ อยู่ในส่วนบนของปอดกลีบบน และโรคกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ยังมีเนื้อปอดที่ดีเหลืออยู่บ้าง การตัดปอดบางส่วนที่เสียออกไป เพื่อลดปริมาตรปอด (Lung Volume Reduction Surgery หรือ LVRS) อาจทำให้กล้ามเนื้อช่วยการหายใจ โดยเฉพาะกระบังลมทำงานได้ดีขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนปอด (Lung Transplantation) ก็มีผู้ทำกัน แต่ควรทำในที่ๆ มีความชำนาญเท่านั้น

การรักษาที่ไม่ใช่ทางยา

อาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบากของผู้ป่วย อาจไม่ได้มาจากโรคปอดทั้งหมด ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ที่อาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบากทำงานไม่ได้ เพราะเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อทั่วไปและ/หรือกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนกำลังลง (Peripheral and Respiratory Muscle Dysfunction) จากการที่ผู้ป่วย ไม่ได้ออกกำลัง ดังนั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยที่เหมาะสม จึงเป็นหน้าที่หลักอย่างหนึ่ง ของหน่วยกายภาพบำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (Pulmonary Physical Therapy and Rehabilitation) ที่ต้องทำไม่ว่าขณะที่ผู้ป่วยมีอาการตามปกติ มีการกำเริบของโรค หรือหลังรื้อฟื้นจากการเจ็บป่วย นอกเหนือจากการแนะนำ การหายใจที่ถูกวิธี การออกกำลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของกล้ามเนื้อหายใจ การระบายเสมหะ ยิ่งกว่านั้นยังมีความจำเป็นที่ต้องประเมินถึง

  • โภชนาการและน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
  • นอกจากช่วยเหลือทางด้านจิตใจ ต้องให้กำลังใจ พยายามให้ผู้ป่วยช่วยตัวเองได้มากขึ้นและ เข้าสังคมดีขึ้น
  • การสอนผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจถึง โรค อาการและยาที่ใช้ เพื่อประโยชน์ในการดูแลตัวเอง
  • การติดตามผู้ป่วยที่บ้าน อาจเป็นในรูปโทรศัพท์ หรือไปเยี่ยมถึงที่บ้าน และมีความจำเป็นที่ บุคลากรการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลผู้ป่วยทุกคน ต้องทราบข้อมูล และนำมาประเมินร่วมกัน

การป้องกัน ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงแหล่งสารพิษ พบว่า 80-90% ของคนไข้เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bangkokhospital.com/tha/emphysema.aspx

 

 

 

ท่านที่สูบบุหรี่ เห็นที่ต้องงดหรือไม่ก็สูบให้น้อยลง ไม่อย่างนั้นเราคงเจอกันบ่อยๆๆในไอซียู

 

หมายเลขบันทึก: 214503เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2008 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เยี่ยมค่ะ
  • การพบผู้ป่วยก่อนกลับบ้านแบบนี้..ทำทั้ง OPD และ IPD ใช่ไหมคะ
  • การให้ผู้ป่วยได้ทบทวนก่อนกลับบ้าน ช่วยได้มากค่ะ เพราะตอนอยู่โรงพยาบาลบางครั้งนึกไม่ออกว่าต้องทำไรบ้าง
  • สัปดาห์ก่อนคุณแม่ไปโรงพยาบาลกลับมาก็กลับมางง ว่าเอ..ครั้งต่อไปหมอนัดให้ไปเจอที่ไหนยังไงค่ะ ..แบบว่าท่านตื่นเต้นที่ไปโรงพยาบาลน่ะค่ะ อิอิ

+ อ่านแล้วขำไป..ประทับใจไปค่ะป้าแดง...

+ ก็ไม่ให้ขำได้ไง...ดูสิ.." ก่อนออกจากไอซียู ฉันขอประเมินความพึงพอใจ ได้รับคะแนนเต็ม 5 ทุกข้อ ในเรื่องของการใส่บริการและความยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่รู้ว่าคนไข้เอาใจหรือเปล่า และต้องรอข้าวเม่าตามสัญญา หวังว่าคงไม่เป็นแม่สายบัว เปล่าเห็นแก่ได้ แต่อยากรู้ว่าอร่อยจริงตามคำบอกเล่าหรือเปล่า อิอิอิ"

+ แต่ที่ทำให้อ๋อยประทับม๊าก มาก เห็นจะเป็น.." ไมตรี...ปรีดา...และป้าแดงค่ะ..."

+ ดีจังเลยค่ะป้าแดงที่มีการทำแบบนี้...ถ้าอ๋อยเป็นผู้ป่วยอ๋อยจะรู้สึกว่าหายวันหายคืนเลยค่ะ...เพื่อไม่ให้คนอย่างป้าแดงต้องเหนื่อยมาก...

+ ฟอด..ฟอด..ชื่นใจค่ะ..

หวัดดีค่ะป้า

  • ครูแอนหายไปนาน  คิดถึงๆๆ ป้าแดงค่ะ
  • เห็นภาพเลยค่ะป้า แถมมีติดสินบนด้วยข้าวเม่าอีกต่างหาก  คนไข้ของป้าเนี่ย  แต่น่ารักดีนะคะ คิคิคิ 
  • กลับไปแล้วอย่าลืมให้น้องพยาบาลตามทวงข้าวเม่านะคะ 555
  • ป้าคะ...ครูแอนคุยกับเด็กๆ ผู้ชายบ่อยเลยค่ะ  แต่เยอะนะคะ  หรืว่าบุหรี่ราคาถูกไป  ทำไมมันซื้หากันมาได้อีกนะเนี่ย  ทั้งที่มีกฎหมายห้ามขายเด็กนะคะป้าขา  เฮ้อ...ประเทศไทย
  • แต่ไงๆ ก็จะคอยพูดและก็พูดต่อไปล่ะค่ะ  หน้าที่สอนนี่คะป้า  จะได้ช่วยป้าอีกแรงเนาะป้าเนาะ
  • คิดถึงนะคะ  ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ

ป้าแดงครับ copd มีทุกคืน เวรดึก er ยิ่งอากาศหนาว ฝนตกยิ่งมาก

คืนนี้มี 2 รายแล้ว ป้าแดงมาช่วยหน่อยครับ

ชื่นชมคนดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจค่ะ ป้าแดง...แต่ทำอย่างไรให้เขากลับไปบ้านแล้วไม่มาอีกบ่อยๆ ซึ่งทีมก็พยายามอยู่แล้วเน๊อะ บางครั้งอาการกำเริบขึ้นมาก็น่ากลัว.. การมีอาชีพทำนา ฝุ่นจากเมล็ดข้าวเปลือกก็อาจเป็นตัวกระตุ้นได้ไหมคะ ป้าแดง

น่าสงสารนะครับ อือม์ นับถือเลยครับ คนดูแลผู้ป่วยเนี่ย

วิธีที่รักษาที่ดีที่สุดตอนนี้ คงต้องใช้ใจเข้าช่วยนะครับ

ฟังจากอาการแล้ว น่าเป็นห่วงคนที่เป็นโรคประเภทนี้

นี่ล่ะครับ ผมชอบคำที่สามหนุ่มสามมุมเคยบอกไว้จังเลย

"อยากจะเท่ห์อย่างมีท่า ไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่"

สวัสดีอีกครั้งครับ ป้าแดง

อยากทราบว่าโรงบาลอยู่แถวไหนคับ อยากไปรักษาคับเป็นมานานแล้วหมอแถวนี้ไม่ได้เรื่องเลยคับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท