the_first_domino(9)-The Road Map


เป็นmutual-inductionระหว่างกลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาล กับหน่วยราชการ

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

---------------------------------------------------------------------------------

          Road mapที่ผมมองเห็น มีลักษณะเป็นmutual-inductionระหว่างกลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาล กับหน่วยราชการ โดยเนื้องานแล้ว นักเรียนจะเป็นทั้งคนออกแบบ คนก่อสร้าง คนบริหาร และสมาชิก ขณะที่ฝ่ายราชการจะเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดนักเรียนที่จะมาทำหน้าที่ต่างๆให้เข้าร่วม ทำให้โครงการเป็น “โครงการระดับชาติ” แทนที่จะเป็น “โครงการเด็กๆ” ของนักเรียนไม่กี่คน
          ขั้นที่ศูนย์(ดำเนินการแล้ว) คือ ระยะกำเนิดแนวคิด เริ่มจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันของนักเรียนทุนในวงแคบๆ การเขียนบทความ(เช่นที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้)เพื่อสะท้อนความสำคัญ วัตถุประสงค์ และแนวทางกว้างๆในการก่อสร้าง
          ขั้นที่หนึ่ง จดหมายกึ่งทางการ จากกลุ่มนักเรียนเจ้าของไอเดียถึงหน่วยราชการ หน่วยแรกสุดก็คือสำนักผู้ดูแลนักเรียนทุนรัฐบาล ซึ่งอย่างน้อยตอนนี้เรามีแนวคิดตรงกันเรื่องการสร้างฐานข้อมูลกลางแล้ว จดหมายจะชี้ให้เห็นประโยชน์ของการก่อสร้าง เน้นย้ำว่านี่เป็นโครงการของนักเรียน ดังนั้นเราจะไม่โยนภาระให้หน่วยราชการมากมาย เราเพียงแต่ต้องการให้ทางราชการช่วยเหลือเล็กน้อยในขั้นที่สอง
          ขั้นที่สอง จดหมายจากสำนักผู้ดูแล ถึงนักเรียนทุนทั้งหมด เป็นแบบสอบถามสั้นๆ ในประเด็นต่อไปนี้
           -ท่านเห็นว่าการก่อสร้างเว็บไซต์เพื่อเป็นเครือข่ายด้านความรู้และงานวิจัยของนักเรียนทุนรัฐบาล(+อธิบายแนวคิดคร่าวๆอย่างที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น)เป็นประโยชน์หรือไม่
           -ท่านสนใจจะเข้าร่วมแค่ไหน
           -ท่านมีแนวคิดเพิ่มเติมอย่างไร เกี่ยวกับโครงสร้างและการจัดการเว็บ
ในจดหมายควรเน้นด้วยว่า ความคิดเห็นของท่านจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณา ก่อสร้างหรือไม่ก่อสร้าง
                  ความสำคัญอย่างหนึ่งของจดหมายฉบับนี้ คือเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการในขั้นต้น ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่รู้ว่ากำลังจะมี “โครงการใหญ่” อะไรเกิดขึ้น ทำให้ชื่อโครงการ “ติดปาก”กลุ่มเป้าหมาย ตรงนี้ขอเน้นนะครับ เราไม่ต้องการให้นักเรียนอ่านผ่านๆว่า”อ้อ.. เหรอ..แล้วไง” เราต้องการให้คนอ่านคิดถึง พูดถึง อภิปรายถึงมัน ภาษาในจดหมายควรจะต้องหนักการตลาด มากกว่าจดหมายราชการทั่วๆไป  จดหมายจะถูกโพส(เด่นๆ)บนเว็บoeadc, ส่งตรงถึงemail addressนักเรียนแต่ละคน, และโพสลงบนเว็บนักเรียนแต่ละรุ่น …ข้อสุดท้ายนี้สำคัญมาก เพราะว่าเว็บรุ่นเป็นเหมือนกับสภากาแฟของนักเรียนแต่ละชั้นปี การสื่อสารผ่านเว็บรุ่นจึงเปิดโอกาสให้”กลุ่มนักเรียน”อ่านแล้วสนทนาโต้ตอบกัน แทนที่จะอ่านผ่านๆรอบเดียวจบ
ความสำคัญอีกอย่างของจดหมายคือfeedbackที่กลับมาจะช่วยยืนยันกับหน่วยราชการว่า กลุ่มนักเรียนตื่นตัวแค่ไหน เอาจริงแค่ไหน ซึ่งนั่นหมายถึง โอกาสที่โครงการจะบรรลุเป้าหมายมีมากแค่ไหนด้วย
            ขั้นที่สาม feedbackที่ได้จะช่วยให้กลุ่มนักเรียนเจ้าของไอเดียวาดภาพโครงการให้ชัดยิ่งขึ้นไปอีก แผนผังโครงการชุดที่สองจะถูกนำเสนอต่อสำนักผู้ดูแลนักเรียน เพื่อเผยแพร่ในขั้นที่สี่
             ขั้นที่สี่ จดหมายจากสำนักผู้ดูแล ถึงนักเรียนทุนทั้งหมด(ระลอกสอง) ประกอบด้วยรายละเอียดโครงการ และประกาศรับสมัครทีมงานออกแบบ งานของทีมออกแบบก็คือทำแผนผังโครงการให้กลายไปเป็นproposalที่เป็นทางการพอจะนำเสนอหน่วยราชการอื่นๆได้ ผมมองว่าทีมออกแบบจริงๆควรจะรวมตัวกันในขั้นที่สี่นี้แทนที่จะเป็นขั้นที่ศูนย์ หรือประกาศออกไปทีเดียวตั้งแต่ขั้นที่สอง ก็เพราะว่านักออกแบบนักจัดการมือฉมังจำนวนไม่น้อยจะยังไม่กระโดดเข้ามาร่วมจนกว่าจะเห็นผังโครงการเป็นรูปเป็นร่างและมีคนยอมรับพอสมควรเสียก่อน(ได้จากfeedbackในขั้นที่สาม)
              ขั้นที่ห้า นำเสนอproposalต่อหน่วยราชการผู้ชำนาญ ที่ผมมองไว้ตอนนี้คือ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส) กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว)  proposalจะถูกนำเสนอในนามของ “นักเรียนทุนรัฐบาลร่วมกับสำนักผู้ดูแล” เราจะต้องโน้มน้าวให้สองหน่วยงานเชื่อได้ว่า มีหน่วยราชการและภาคประชาชน(นักเรียน)กำลังร่วมมือกันทำโครงการใหญ่ที่จะเป็นประโยชน์มหาศาล เป้าหมายหลักของproposalคือต้องการให้ สคส หรือ สกว ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษา ถึงจุดนี้โครงการก็จะกลายเป็นของการใหญ่ระดับชาติจริงๆ
              ขั้นที่หก จดหมายจากส่วนราชการ(สำนักผู้ดูแล+สกว+คณะนักเรียน)ถึงนักเรียนทุนทั้งหมด เป็นประกาศรับสมัครทีมก่อสร้าง ทำเป็นinternshipเลยได้จะดีมาก มาถึงบรรทัดนี้หลายคนอาจจะว่าผมเว่อร์แล้ว เพ้อฝันไปแล้ว ท่านผู้อ่านลองอ่านเเล้วคิดตามประเด็นข้างล่างนี่ดูนะครับ
              -การจัดการความรู้ และการสร้างสังคมการวิจัยอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วจะก่อประโยชน์มหาศาล
              -เราต่างเชื่อว่าสุดยอดแห่งการบริหารและจัดการความรู้ชุมชน คือให้ชุมชนจัดการตัวเอง ดูเเลตัวเอง
 โดยภาครัฐยืนดูอยู่ห่างๆ และสนับสนุนตามสมควร
              -เราถือได้ว่าการสร้างเว็บดังกล่าวเป็นการทำงานให้กับทางราชการ การตั้งองค์กรจัดการความรู้โเพื่อการวิจัยโดยภาคประชาชนสอดคล้องกับนโยบายหลักของทั้ง สคส และ สกว (ไปอ่านตัวนโยบายกันเอาเองนะครับ)
               -งบจ้างนักเรียนไม่กี่คนจะซักเท่าไหรกันเชียว :P
ประเด็นเหล่านี้แหละที่เราจะต้องนำเสนอให้ชัด และมีพลัง ตั้งแต่ในproposalที่นำเสนอไป ตำแหน่งทีมการก่อสร้างที่ทำเป็นinternshipจะ ไม่เพียงแต่จะดึงดูดนักก่อสร้างเก่งๆเข้ามาด้วยค่าตอบแทนเท่านั้น แต่ยังมีผลสำคัญในแง่จิตวิทยา คือความรู้สึกที่ว่า ”คุณกำลังทำงานสำคัญของประเทศ” แทนที่จะเป็นการ “เข้าไปช่วยๆกัน” ธรรมดาอย่างคนรู้จัก
การก่อสร้างควรกำหนดกรอบเวลาให้ชัด ภายในช่วงซัมเม่อโครงสร้างส่วนใหญ่ของเว็บควรจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้ หากทีมงานเห็นว่าควรจะต่อเวลาไปถึงวินเท่อเบรกจริงๆก็ควรจะเป็นส่วนเสริมจากโครงหลักที่พอใช้การได้
               ขั้นที่เจ็ด การประชาสัมพันธ์เว็บเปิดใหม่ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำบางประการ
-ก่อนเปิดซักเดือนหนึ่ง(ทีมก่อสร้างยืนยันว่าใกล้เสร็จแล้ว) เริ่มประกาศวันเปิดออกไป(ผ่านทางเมล,เว็บoeadc,เว็บรุ่น) ประกาศจะมีทั้งส่วนที่เป็นจมราชการ และส่วนที่เป็นโฆษณาที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บ ลูกเล่นต่างๆ สิทธิประโยชน์ของสมาชิก
-ประกาศต้องย้ำชัดว่านี่เป็นโครงการร่วมโครงการแรก ระหว่างส่วนราชการ(สำนักผู้ดูแล สคส สกว) และกลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลเอง ย้ำเป้าหมายของโครงการและความคาดหวังให้ชัดอีกครั้ง
-อย่ามองข้ามการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก อาศัยจุดเด่นที่ว่าทีมงานอกแบบ ทีมงานก่อสร้าง ก็ต่างเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล เป็นพี่ๆน้องๆเพื่อนๆกับกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น การหมั่นพูดถึง หมั่นเปิดประเด็น ในกลุ่มจะช่วยให้คนคุ้นเคยกับโครงการมากขึ้น ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่จะเห็นด้วยอย่างเต็มตัวและพร้อมจะบอกต่อ
                ขั้นที่แปด การดูแลเว็บ
-ทีมผู้ดูแล อาจจะเป็นกลุ่มเดียวกันทีมผู้สร้าง คือทำหน้าที่เป็นwebmaster
-ทีมผู้ดูและพบปะกับที่ปรึกษาจากส่วนราชการเป็นระยะ อาจจะเป็นสามเดือน ห้าเดือนก็ตามแต่ การพบปะอาจจะเป็นในรูปของการรายงานผลความคืบหน้า และการให้คำแนะนำโต้ตอบการทางอีเมลโดยไม่ต้องมานั่งประชุมกันจริงๆ
-ต้องกำหนดวาระการทำงานของผู้ดูแล และระบบการสืบทอดให้ชัดเจน เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เมื่อเรียนสูงขึ้นไปถึงจุดหนึ่งจะยุ่งจนไม่มีเวลาให้กับงานนี้
                ขั้นที่เก้า การขยายเครือข่าย เมื่อกลุ่มสังคมบนเว็บเติบโตแข็งแรงดีแล้ว ดูจากจำนวนสมาชิก ความหลากหลายของชุมชนบล็อก ความactiveของบล็อก อันนี้แล้วแต่ทีมดูและที่ปรึกษาจะกำหนด เราจะขยายเครือข่ายเข้าไปตามหน่วยงานในไทย—มหาวิทยาลัย, สถาบันวิจัย,หน่วยงานด้านวิชาการอย่าง สสวท—โดยอาศัยเครือข่ายของนักเรียนทุนรัฐบาลที่กระจายอยู่ทั่ว อย่างที่ผมกล่าวไว้ในตอนที่หก ร่วมกับความช่วยเหลือของ สคส และ สกว ในการประชาสัมพันธ์แบบเป็นทางการ ผ่านหน่วยราชการ ในขั้นนี้เราตั้งเป้าว่ากลุ่มสังคมจะไม่ได้จำกัดเเคบอยู่ในกลุ่ม “นักเรียนผู้ศึกษาอยู่ต่างประเทศ”เท่านั้น แต่รวมไปถึงใครก็ตามที่อยากเข้าร่วม ใครก็ตามที่กำลังสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ

คำสำคัญ (Tags): #คุณอำนวย
หมายเลขบันทึก: 21418เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท