การจัดการความรู้กับการผลิตพืชปลอดภัย


ผลการจัดการความรู้ทำให้เกิดการตื่นตัวและมีการทำงานเป็นทีมในระดับอำเภอมากขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานในองค์กรดีขึ้นไปด้วย

         วันที่ 27 มีนาคม 2549 ได้ไปร่วมการสัมมนาเชิงปฎิบัติการการจัดการความรู้ตามโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน  จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหาร      ผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วย     หัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย เกษตรอำเภอและนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร   จำนวน 55 คน  เริ่มจากเกษตรจังหวัด(นายสมศักดิ์  วงษ์เสถียร)  ได้ให้นโยบายให้ความสำคัญในการจัดการความรู้

        จากนั้นคุณบุญเริง พลายแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว แกนหลักในการจัดการความรู้ได้ดำเนินรายการโดยได้แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มเพื่ออภิปรายการดำเนินงานตามขั้นตอนการเก็บข้อมูลเพื่อจำแนกพื้นที่เพื่อทราบระดับความปลอดภัยในการผลิตพืช

         ประเด็นการอภิปรายคือ   1.คาดว่าจะเป็นอย่างไร   2.ดำเนินงานจริงเป็นอย่างไร 3.ทำไมผลจึงแตกต่างกัน 4.ได้เรียนรู้อะไรจากการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ ผลการอภิปรายมีดังนี้ 

 

   คาดว่าจะเป็นอย่างไร คาดว่าจะมีข้อมูลด้านพืช ปศุสัตว์และประมง จะเก็บได้ทันเวลาคือเดือนมกราคม ผู้เก็บข้อมูลเข้าใจแบบและสามารถสัมภาษณ์ได้ การเก็บข้อมูลอาจมีข้อมูลไม่จริงด้วย ไม่สามารถเก็บได้ทุกครัวเรือนเพราะเกษตรกรบางรายอาจไม่อยู่บ้าน รู้กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรเป็นอย่างไร ใช้สารเคมีหรือไม่ใช้

  ดำเนินการจริงแล้วเป็นอย่างไร  ทราบข้อมูลทั้ง 3 ด้าน มีความปลอดภัยเกือบ 100%   ข้อมูลพื้นที่ปลูกน้อยกว่าเป้าหมาย  การเก็บไม่ทันเวลาเพราะระยะเวลาที่กำหนดสั้นเกินไป ข้อมูลที่เกษตรกรบางรายให้ไม่เป็นจริง ทราบข้อมูลกลุ่มผู้ผลิตมีกี่รายกี่ไร่ ผู้จัดเก็บมีความรู้ความเข้าใจตามแบบสัมภาษณ์  งบประมาณไม่เป็นไปตามที่ชี้แจง

  ทำไมผลจึงแตกต่างกัน เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาและสภาพพื้นที่ มีงานอื่นเข้ามาแทรก มีครัวเรือนเกษตรกรทำงานในพื้นที่เดียวกัน ต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนงบประมาณ

  ได้เรียนรู้อะไรบ้าง 1.ได้เรียนรู้การบริหารเวลาเก็บข้อมูล 2.การวางแผนปฏิบัติงาน การมอบหมายให้ผู้เก็บข้อมูลมีความหลากหลาย  เช่นกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เก็บข้อมูล ฯลฯ 3.การบริหารงบประมาณเพื่อความสะดวกของผู้จัดเก็บ  4.การจำแนกพื้นที่และวิเคราะห์ความปลอดภัยมีพื้นที่ 90%มีความปลอดภัย 5.เกษตรกรให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย  6.ได้เรียนรู้การบริหารจัดการเรื่องการบันทึกข้อมูลและการรายงานผลให้ทันกำหนดโดยการว่าจ้างบริษัทเข้ามาดำเนินการ สามารถทำได้ภายในเวลา 2 สัปดาห์

  ภาคบ่าย ได้มีการบรรยายแนวคิด หลักการ แนวทางการจัดการความรู้ตามโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน โดยคุณธุวนันท์ พานิชโยทัย และประสบการณ์การจัดการความรู้ของสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนมโดยคุณทวี มาสขาว  หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ

  จากประสบการณ์ที่จังหวัดนครพนมเล่าให้ฟังดังนี้คือ

         1.ผลการจัดการความรู้ของจังหวัดนครพนมปี2548   เรื่องการพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรโดยใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลเป็นกลไกหลักในการดำเนินงานปัจจัยสำคัญคือความสามารถในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้ดึงคนที่มีความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้  บรรยากาศการเรียนรู้ทำให้เกิดแลกเปลี่ยนเป็นไปอย่างราบรื่น  

         2.การดำเนินงานการจัดการความรู้กับการผลิตพืชปลอดภัยในปี2549  มีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการคือ  การวิจัยแบบมีส่วนร่วม     กระบวนการวิจัยเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่แสดงความสามารถและศักยภาพของตนเองในเวทีแลกเปลี่ยนได้อย่างเต็มที่  การนำทีมงานการจัดการความรู้ในปีที่แล้วกับทีมงานเกษตรปลอดภัยมาร่วมทีมกันเป็นการขยายทีมงานให้กว้างขึ้น  นอกจากนี้การที่เกษตรจังหวัดในฐานะ CKOนำเรื่องนี้เป็นตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานด้วยเป็นการนำเรื่องการบริหารงานเข้ามา ผลการจัดการความรู้ทำให้เกิดการตื่นตัวและมีการทำงานเป็นทีมในระดับอำเภอมากขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทำงานในองค์กรดีขึ้นไปด้วย  การจำแนกพื้นที่ความปลอดภัยได้เก็บเป็นคลังความรู้ระดับอำเภอเพื่อเป็นข้อมูลและสนับสนุนการปฏิบัติงาน

       การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการบรรยายและมีการทำ AAR ด้วย โดยผู้เข้าสัมมนาได้สะท้อนความรู้สึกในการเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า จากประสบการณ์ของจังหวัดนครพนมทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ที่ดีและเห็นด้วยกับวิทยากรที่ว่าความรู้ที่ฝังลึกในนักส่งเสริมการเกษตรมีมากมาย น่าเสียดายที่ไม่มีการดึงความรู้ที่ฝังลึกเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยขน์ต่อองค์กรและเกษตรกร หากกระบวนการจัดการความรู้สามารถดึงมาเป็นคลังความรู้ได้จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดมุกดาหารเป็นจังหวัดที่ได้รับรางวัลการประกวดเว็ปไซด์ของกรมส่งเสริมการเกษตรและมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับกลุ่มตำบลอยู่แล้ว ตลอดจนกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรอีกด้วย แต่ผลจะออกมาเป็นเช่นใดขึ้นอยู่กับทีมงานของจังหวัดและอำเภอที่จะช่วยกัน ขอเป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จนะคะ

            

 

              

หมายเลขบันทึก: 21354เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
วันนี้พอมีเวลาแวะมาดูหน่อย
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
วันนี้พอมีเวลาแวะมาดูหน่อย
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
วันนี้พอมีเวลาแวะมาดูหน่อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท