กิจกรรมสนองกลยุทธ์ /คุณธรรม/เศรษฐกิจพอเพียง


คุณธรรมนำความรู้

กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนชุมชนบ้านสะนิง   (ด้านเศรษฐกิจ)

หลักปฏิบัติ

1. รู้จักการใช้จ่ายของตนเองใช้จ่ายอย่างมีเหตุมีผลอย่างพอประมาณ ประหยัดเท่าที่จำเป็น

กิจกรรม

- บันทึกบัญชีรายรับและรายจ่าย

- วิเคราะห์บัญชีรายรับและรายจ่าย

หลักปฏิบัติ

2. รู้จักออมเงิน มีกลไกลดความเสี่ยง  มี ระบบออมเงิน 

กิจกรรม

- สัปดาห์การออมทรัพย์

หลักปฏิบัติ

3. รู้จักประหยัด ใช้และกินอย่างมีเหตุผลไม่ฟุ่มเฟือย    ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น

ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

กิจกรรม

- ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

-  เลี้ยงปลาไว้กินไว้ขาย

- นำของเหลือใช้ มาทำให้เกิดประโยชน์/ รีไซเคิล  (งานประดิษฐ์)

หลักปฏิบัติ

4. พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจโดยผลิต หรือสร้างรายได้ที่สอดคล้องกับความต้องการ

สอดคล้องกับภูมิสังคม  สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  สอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่น

กิจกรรม

เน้นการผลิตเพื่อพึ่งตนเอง ให้พอเพียงกับการบริโภค และการผลิตที่หลากหลาย เช่น

- ปลูกพืชสมุนไพรไทย (สมุนไพรไฮเท็ค)

- ผลิตสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

หลักปฏิบัติ

5. รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ปลูกจิตสำนึกสาธารณะ  ปลูกฝังความสามัคคี ปลูกฝังความเสียสละ

เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรม

พัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ผ่านกิจกรรมรวมกลุ่มต่างๆ

- พี่สอนน้อง  / เพื่อนสอนเพื่อน

                - ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส  เช่น มอบทุนการศึกษา  มอบเครื่องอุปโภคบริโภค

-  อบรมคุณธรรมจริยธรรม

หลักปฏิบัติ

6. สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม  ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น  ฟื้นฟูดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น

กิจกรรม

พัฒนาความรู้เกี่ยวกับดิน น้ำ   ป่า เพื่อฟื้นฟู รักษา

- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียน

-  พัฒนาสาธารณประโยชน์

หลักปฏิบัติ

7. สืบสานวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด  ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหาร

ประจำท้องถิ่น  ฟื้นฟูและอนุรักษ์ดนตรีไทยและเพลงไทย  ฟื้นฟูและอนุรักษ์วัตถุโบราณ

และโบราณสถาน

กิจกรรม

ปลูกฝังมารยาทไทย

-  แต่งกายตามวิถีอิสลาม

-  ทำความเคารพตามวิถีอิสลาม

- ส่งเสริมอาหารประจำท้องถิ่น

                -  ส่งเสริมการใช้ภาษาประจำท้องถิ่น

-  ทำนุบำรุงโบราณวัตถุ และโบราณสถาน

ภาพความสำเร็จ

1. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการบริหารจัดการ

2. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง  มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง

3. นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมนำความรู้  และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ผู้ปกครอง ชุมชน มีวิถีชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

หมายเลขบันทึก: 212815เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2008 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท