CAI เรื่อง ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา


จากครั้งก่อนกลุ่มเราได้ทำเรื่อง "ศิลปะแม่ไม้มวยไทย" มาในครั้งนี้เราได้ไปศึกษาโครงสร้างหลักสูตรต่างๆ แล้วจึงเปลี่ยนใจมาทำเรื่อง "ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา"
ชื่อเรื่อง
"การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ภาษาเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา"
โครงสร้างของเนื้อหาในบทเรียน
1. ความหมายของการสื่อสาร
2. ความสำคัญของการสื่อสาร
3. องค์ประกอบของการสื่อสาร
4. ลักษณะสำคัญของการสื่อสาร
5. วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
6. ประเภทของการสื่อสาร
7. องค์ประกอบที่ทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ
8. อุปสรรคในการสื่อสาร
9. ความสำคัญของภาษา
10.ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
11. ระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

      ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในเรื่องลำดับขั้นในการสอน 9 ขั้นของ Gagne มาใช้ในการออกแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย 
1. ขั้นสร้างความสนใจ (gaining attention) เพื่อเร้าให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้ ในการสร้างบทเรียนสำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษานั้นจะมีการนำเสนอในลักษณะของภาพกราฟิก วิดีโอ บทสนทนา เสียง ประกอบการนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน
2. ขั้นแจ้งจุดประสงค์การเรียน (informing the lerner of the objective) เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้ว่าจะได้เรียนรู้อะไร ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ซึ่งในบทเรียนนี้ได้มีวัตถุประสงค์คือ
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารได้ถูกต้อง
2. อธิบายและวิเคราะห์องค์ประกอบของการสื่อสารได้ถูกต้อง
3. อธิบายวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้
4. วิเคราะห์ประเภทของการสื่อสารได้
5. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากองค์ประกอบในการสื่อสารได้
6. บอกความสำคัญและระดับของภาษาได้
7. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดจากการใช้ภาษาได้
3. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (stimulation recall of perquisite learnings) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้ที่มีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับความรู้ใหม่ อาจจะเป็นการใช้คำถาม การทำสอบก่อนเรียน เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้มากน้อยเพียงใดและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียนรู้ในบทเรียนต่อไป
4. ขั้นเสนอสิ่งเร้า (presenting the stimulus material) เป็นการให้สิ่งเร้าหรือสื่อที่ให้กับ ผู้เรียน เป็นสิ่งเร้าและสื่อที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ (performance) ซึ่งสะท้อนให้เห็นการเรียนรู้
5. ขั้นให้แนวทางการเรียนรู้ (providing learning quidance) เป็นการชี้แนะแนวทาง ในการค้นหาคำตอบและการทำการทดลอง
6. ขั้นให้เรียนปฏิบัติ (eliciting the performance) เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เมื่อได้รับแนวทางในการเรียน
7. ขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับ (providing feedback) เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบผลที่ตนปฏิบัติว่าได้ผลดีเพียงใด จะต้องปรับปรุงอะไรอีกบ้าง
8. ขั้นประเมินการปฏิบัติ (assessing the performance) เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ว่า ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนมากน้อยเพียงไร
9. ขั้นส่งเสริมความคงทนและการถ่ายโยงการเรียนรู้ (enhancing retention and transfer) เพื่อเป็นการส่งเสริมความจำและเน้นความถูกต้องแม่นยำของความรู้
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21265เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2006 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท