ประวัติศาตร์ศึกษา : พระสิงห์สาม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองบ้านเมืองแปง


ที่วัดเมืองแปงมีพระพุทธรูปที่ถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง บ้านเมืองแปงอยู่ 3 องค์ คือ พระสิงห์สาม

จากบันทึกที่แล้วประวัติศาตร์ศึกษา : รอยพระพุทธบาท บ้านเมืองแปง ครูแอนจะขอนำ ประวัติพระสิงห์สาม พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง บ้านเมืองแปง มาศึกษาน่ะค่ะ

         .พระสิงห์สาม

          ที่วัดเมืองแปงมีพระพุทธรูปที่ถือว่าเป็นของคู่บ้านคู่เมือง อยู่ 3 องค์ คือ พระสิงห์สาม  โดยได้อัญเชิญมาจากบริเวณรอยพระพุทธบาทเดิมถูกทิ้งร้างไว้  พระสิงห์สามมีลักษณะงดงามมาก  โดยเฉพาะองค์ใหญ่ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง 24 นิ้ว  เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพักตร์อิ่มเอิบ  มีรอยยิ้มพิมพ์ใจให้ความรู้สึกสงบสุขในจิตใจยามเมื่อได้อยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้  ส่วนพระสิงห์องค์ที่  2  มีขนาดรองลงมาบ้าง  คือมีขนาดหน้าตักกว้าง 16 นิ้ว  และองค์สุดท้าย มีขนาดเล็กที่สุด คือมีขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้ว

          พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือว่าเป็นของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวบ้านเมืองแปงให้ความเคารพกราบไหว้บูชามาก  เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาแต่เดิม เป็นศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญ  และเชื่อกันว่าเป็นสิ่งที่บันดาลให้บ้านเมืองแปงมีความผาสุก สงบร่มเย็นตลอดมา

                                               

                                            ติดตามสักการะสิ่งศักสิทธิ์บ้านเมืองแปงต่อบันทึกต่อไปค่ะ

                                                                      ครูแอน ๒๗  กันยายน ๒๕๕๑

 

 

หมายเลขบันทึก: 212309เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

หวังว่าคงจะเป็นคนที่แวะมาดูคนแรกนะครับ สวยงามมากๆ พระพุทธรูปคู่เมือง ขอบคุณครับที่นำมาให้ดู

หากได้ไปนั่ง สงบอยู่หน้าองค์ท่านได้ คงมีสมาธิ และใจคงสงบมีสุข

ขอบคุณครูแอน หลากหลายเรื่องราว สาระน่ารู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ อิอิ

มาทักทายค่ะ สบายนะค่ะพี่ครูแอน

ไหว้พระเยอะๆนะหลานเอ๊ย  บุญจะได้นำ

  • แวะมาเพิ่มรอยหยักในน้อนสมองอันน้อยนิดของครูโย่ง
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับน้องครูแอน

                       ฝากกราบท่านด้วยครับน้องครู

                                                            โชคดีจ้า

สวัสดีค่ะPคนพลัดถิ่น

  • หากมีโอกาสมากราบท่านน่ะค่ะ
  • เจ้าอาวาสบอกว่า  องค์เล็กสุดยังไม่ได้ลงทะเบียน
  • ครูแอนจะขออนุญาตท่าน จะลองติดต่อ กรมศิลปากรมาช่วยดู
  • ต้องช่วยกันรักษาไว้ชั่วลูกชั่วหลาน

พี่P คนโรงงาน

  • หากได้ไปนั่ง สงบอยู่หน้าองค์ท่านได้ คงมีสมาธิ และใจคงสงบมีสุข
  • วันนั้นครูแอนไปกราบท่าน และมองที่พระพักต์ ความรู้สึกอิ่มเอิบบอกไม่ถูกค่ะ
  • ต้องมากราบท่านเองค่ะ

น้องP กล้วยแขก~natadee

  • ศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเมืองเราให้ถ่องแท้
  • ความชื่นชม ความหวงแหน ในสมบัติของชาติจะได้อยู่ในจิตใจ
  • มิให้ใครมาเอาไปได้ง่ายๆ
  • ฝากเยาวชนรุ่นใหม่ด้วยค่ะ
  • คุณลุงP ลุงเอก คิดว่าต่อจากนี้ชีวิตคงดีขึ้นค่ะ..ชาติที่แล้วคงทำกรรมเยอะ...
  • ขอบคุณมากค่ะที่คอยรับฟังและให้คำปรึกษา
  • ด้วยความเคารพค่ะ

พี่ครูโย่งP ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee

  • แวะมาประเทืองปัญญากับประวัติศาสตร์บ้านเมืองเราค่ะ
  • สอนเด็กๆให้รู้จักหวงแหนในสมบัติของชาติ
  • ฝากคุณครูด้วยค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

พี่ชายใหญ่P  นายช่างใหญ่

  • ฝากกราบได้ค่ะ
  • แต่ถ้าให้ดีมากราบท่านด้วยตนเองจะดีกว่าค่ะ
  • ได้ข่าวว่าจะไปสัมมนาระยองหรือค่ะ
  • ขอให้มีความสุขสนุกสนานกับการสัมมนาครั้งนี้ค่ะ
  • พระอยู่ที่ใจ
  • อยู่ที่ไหนก็มีพระ
  • คารวะผ่านเวปไซด์ สาธุ สาธุ สาธุ

มาไหว้พระครับคุณพี่ครูแอน

พี่เกษตรปรีดาP  เกษตร(อยู่)จังหวัด

  • สาธุ

น้องP กวิน

  • เหอๆๆๆนึกว่าอายุเท่าๆกัน
  • เจริญๆๆๆน่ะค่ะน้องกวิน
  • ลดภาวะปากคอเราะร้ายลงบ้างเรา..ฮ่าๆๆ
  • ตายแล้ว...พูดอย่างงี้อย่าเขียนบันทึกหาพี่ล่ะ..555

ตามมาทักทายน้องสาว

อิอิ

เช่นกันค่ะ

แอบ...ตามคุณครูโย่ง (คนหน้าตาดี)

มาทักทายน้องสาว คุณครูแอนคนน่ารัก

ขอให้นอนหลับฝันดีนะคะ

ตื่นเช้าขอให้พบกับวันใหม่ที่เต็มไปด้วยความสุขนะคะ

ทักทายว่าไงล่ะค่ะพี่ชายP ครูโย่ง หัวหน้า~ natadee ซำบายดีบ่อ้าย

พี่ครูคิมจ๋าP krukim

  • เพิ่งกลับมาจากเมืองปาย
  • ฝนตกหนักมาก
  • วันนี้วันพระไหว้พระก่อนนอน
  • ขอคุณพระคุ้มครองค่ะ
  • ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

จากประวัติที่พยายามศึกษามา (หากใครมีข้อมูลขออนุเคราะห์เพิ่มเติมด้วย) พระเชียงแสนจะแบ่งตามยุคสมัยและมีข้อแตกต่างออกไปคือ

สิงห์หนึ่ง เป็นยุคต้นมีลักษณะพิเศษคือ เกศบัวตูม, พระหนุเป็นปม, ขัดสมาธิเพชร และสังฆาฎิเหนือพระอุระ

สิงห์สอง เป็นยุคกลางมีลักษณะพิเศษคือ เกศเปลวเพลิง, สังฆาฎิอยู่ระดับพระนาภี

และสิงห์สามไม่ค่อยเห็นกล่าวถึงกันมากนักนอกจากวงการพระ เป็นพระยุคหลังน่าจะอยู่ในยุคร่วมกับกรุงศรีอยุธยา และลักษณะจะเพรียวบาง บางคนกล่าวว่าเป็นต้นแบบของพุทธศิลปะลาว

สำหรับรูปที่เห็นด้านบนเป็นศิลปะที่ผสมผสานออกไปทางพม่า

ขออนุโมทนาครับ มีโอกาสจะไปกราบท่านสักครั้ง

  • มาไหว้พระให้จิตใจผ่องใสนะคะ

หนูแอนจ๊ะ นั่นแหละคือหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง ที่แสดงให้เรารู้ว่า ชุมชนบ้านเมืองแปงเป็นชุมชนเก่าแก่ (ชุมชนโบราณ)และเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา แม่ฮ่องสอนเราขาดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่20-23 จึงต้องอาศัยหลักฐานทางโบราณคดีมาชำระประวัติศาสตร์ของเราเอง ลุงเริ่มเข้ามาพบปะกับพวกเราอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน ขอให้มีความสุขนะจ๊ะ ขอบใจที่เป็นห่วงลุงเก ลุงเก

ขอบคุณP คุณโยธินิน

  • ที่มาให้รายละเอียดพระสิงห์สามค่ะ
  • มาเมืองปายก็แวะมาเมืองแปงมากราบท่านน่ะค่ะ

พี่สาวP naree suwan

  • ขอให้จิตใจผ่องใส สุขภาพแข็งแรงน่ะค่ะ

 

ขอบคุณคุณลุงP  อาจารย์เก ที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

ผมมีสิงห์ 1 หน้าตั้ง 10 นิ้ว คุณพ่อผมเอามาตั้งแต่ผมยังไม่เกิดเลยครับ แต่ไม่เข้าใจว่า จีวรที่ท่านใส่จะป็นคลายๆลายดอกเป็นจุดๆผ้าจีวรเป็นแบบบางๆ อยากทราบว่าเป็นรุ่นไหนครับ

ยํกิญจิ สมุทยธมฺมํ สพฺตํ นิโรธธมฺมํ ตีติ(สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งเหล่านั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา) ยึดมั่นถือมั่นอะไรมากมายครูแอนครับทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ครับ...............

บ้านอยู่แม่ฮ่องสอนครับแต่ไม่ได้ปิ๊กบ้านตั้งนานว่างๆจะกลับไปนมัสการหลวงพ่อสิงห์สามครับ สิงห์สามอยู่เมืองปายแม่นก่อผมจบป.โทปรัชญาครับ ไม่ค่อยรู้เรื่องประวัติสิงห์สามเท่าไรครับ แต่ผมมีพระสิงห์สามครับ หน้าตักนิ้วนึงเองขนาดห้อยคอครับเนื้อทองเหลืองหนักพอควร งามแต้ๆๆครับ(คนสามหมอก0806746444)มีความสุขในชีวิตประจำวันทุกท่านครับ/สวัสดี..........

เมื่อ ๒๓ ธค.๕๕ รศ.ดร.วีระศักดิ์ ชมภูคำ ได้ส่งแผ่นปลิวบอกบุญ ว่าทางวัดท่าช้างหนองล่อง ลำพูน กำลังสร้างพระวิหารประดิษฐาน พระสิงห์สามซึ่งเปลี่ยนพระพักตร์ได้ ๔ แบบ คือ ยิ้มเมื่อมีงานบุญใหญ่ ๑  เบิกพระเนตรเพ่งเมื่อจะมีภัยมาเยือน ๑  พระพักตร์บูดบึ้งเมื่อมีสิ่งที่ไม่เป็นมงคลต่อผู้เชื่อถือศรัทธา ๑  หลับพระเนตรเมื่อบ้านเมืองอยู่สุขสบาย ๑  พุทธศาสนิกชนผู้ใดสนใจจะไปชมหรืออยากทำบุญสร้างวิหารถวาย  โปรดไปชมที่วัดท่าช้างหนองล่อง  อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน หรือโอนเงินทำบุญไปที่ ธนาคาร ธกส. สาขาเวียงหนองล่อง บัญชีออมทรัพย์ วัดท่าช้าง เลขที่

๐๑-๖๔๗-๒๕๙๙๖๔๐

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท