โรงเรียนวิถีพุทธ Buddhism School


โรงเรียนวิถีพุทธ

 

 

 

 

Buddhism  School

โรงเรียนวิถีพุทธ

 

  

 

 

 

ความหมาย

 

 

 

โรงเรียนวิถีพุทธ  คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไป  ที่นำหลักธรรมพระพุทธศาสนามาใช้ หรือประยุกต์ในการบริหารและการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา  เน้นกรอบพัฒนาตามหลักการ  ไตรสิกขา  (ศีล  สมาธิ  ปัญญา)  อย่างบูรณาการ
                   -  
ศีล     คือ พฤติกรรม / วินัยในการดำเนินชีวิตที่ดีงามต่อตนเอง และผู้อื่น
                   -
สมาธิ  คือ  พัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพ  มีสมรรถภาพ มีจิตใจเข้มแข็งสงบสุข
                   -
ปัญญา คือ มีความรู้ที่ถูกต้อง  มีศักยภาพในการคิด มีการแก้ปัญหาที่แยบคาย

ความเป็นมาของโรงเรียนวิถีพุทธ

(

รู้คิด   รู้สึก  รู้ทำ)

               โรงเรียนวิถีพุทธเป็นโรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาใช้ในการบริหารจัดการ  และการพัฒนาผู้เรียนโดยรวมของสถานศึกษา  เน้นกรอบการพัฒนาตามหลักไตรสิกขาคือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา อย่างบูรณาการ  ผ่านการกิน  อยู่ ดู  ฟัง  ให้เป็น ผู้มีปัญญา  รู้  เข้าใจคุณค่าแท้  ใช้กระบวนการทางวัฒนธรรมแสวงปัญญา  และมีวัฒนธรรมเมตตาเป็นฐานการดำเนินชีวิต โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูเป็นกัลยาณมิตรในการพัฒนาและต้องเป็นการพัฒนอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด  ด้วยความร่วมมือของทั้งสถานศึกษา บ้าน วัดและสถาบันต่างๆในชุมชนด้วยศรัทธาและฉันทะ ที่จะพัฒนาทั้งนักเรียน และสังคม ตามวิถีแห่งพุทธธรรมเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน  ทั้งนีู้้บริหารและครูจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในวิถีชีวิตจริง ในลักษณะ สอนให้รู้ ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาโดยการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน  ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดีตามวิถีพุทธ เช่น  ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และพัฒนาตนให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ละ เลิกอบายมุข  การถือศีล 5 เป็นนิจ ความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์  และการเป็นแบบอย่างที่ดีเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมีคุณธรรม  มีความรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลง เป็นพลังยิ่งใหญ่ที่ช่วยสร้างสังคมที่ดี สงบและสันติ  ดังคำกล่าวของพระธรรมปิฎก (ป. อ. ประยุทธ์ ปยุตโต)  ที่ว่า  “  โรงเรียนวิถีพุทธจะเดินหน้าต่อไปอย่างมีพลัง  ในการที่จะสร้างสรรค์อนาคตของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกทั้งหมด ให้เป็นวิถีแห่งสันติสุขที่ยั่งยืนสืบไป

                          สืบเนื่องจากที่กระทรวงศึกษาธิการจัดประชุม เรื่อง หลักสูตรใหม่เด็กไทยพัฒนา ณ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต เมื่อวันที่25 ธันวาคม 2545 ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ททักษิณ ชินวัตร ให้เกียรติเป็นประธานในทีประชุมได้หารือถึงโรงเรียนที่จัดจัดการศึกษาเพื่อสนองตอบความสามารถที่แตกต่างกันของบุคคล  เพื่อนำพาเด็กและเยาวชนไทยก้าวทันความเปลี่ยนแปลง
ของโลกไร้ขีดจำกัด   โรงเรียนวิถีพุทธเป็นหนึ่งในโรงเรียนรูปแบบใหม่ ที่จะช่วยผลักดันให้เด็กและเยาวชนไทยสามารถพัฒนาตามศักยภาพเป็นคนดี คนเก่งของสังคม และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
          กระทรวงศึกษาธิการนำความเห็นของที่ประชุมมาหารือต่ออีกหลายครั้ง อีกทั้ง   ดร.สิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะได้ไปกราบขอคำแนะนำเรื่องการจัดโรงเรียนวิถีพุทธ จากพระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตโต)  ณ วัดญาณเวศกวัน เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2546
          นอกจากนั้นยังมีข้าราชการระดับสูงได้ไปกราบขอคำแนะนำในเรื่องเดียวกันนี้จาก พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต)  อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รวมทั้งนิมนต์ท่านมาให้ข้อคิดในการประชุมระดมความคิดครั้งแรก

       โรงเรียนวืธีพุทธมีความเป็นมาจากการสร้างนวัตกรรมการศึกษารูปแบบใหม่  ตามการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านระบบบริหารจัดการและการปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพและได้รับโอกาสอย่างทั่วถึง แต่ในความเป็นจริงที่โรงเรียนมีมากกว่า  40,000 โรงเรียน ซึ่งมีความพร้อมทรัพยากรและศักยภาพแตกต่างกัน ทั้งๆ ศักยภาพของโรงเรียน ชุมชนและผู้เรียนที่หลากหลาย อีกทั้งประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันในเวทีโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  รัฐบาลเล็งเห็นว่ารัฐต้องดูแลผู้เรียนทุกกลุ่ม ไม่ทอดทิ้งผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้พิการ แต่ต้องสนับสนุน ส่งเสริมผู้ที่พร้อมกว่า เช่น เด็กปัญญาเลิศให้ก้าวไปข้างหน้าเต็มตามศักยภาพอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษ เปรียบเสมือนว่ากระทรวงศึกษาธิการต้องเตรียมเส้นทาง ๒ เส้น คู่ขนานกัน คือเส้นถนนธรรมดาที่รองรับผู้เรียนทั่วไป และทางด่วน(Fast Track)  สำหรับผู้ที่พร้อมจะขับเคลื่อนด้วยความเร่งด่วนพิเศษ      

          ในการประชุมเรื่องการปฏิรูปอุดมศึกษา 10 มกราคม 2546   กระทรวงศึกษาธิการรับนโยบายดำเนินการเรื่อง “Mini  Ministry”  คือ ให้มีองค์กรเล็กที่คล่องตัว เพื่อสร้างระบบการทำงานแก่โรงเรียนและนักเรียนของในกลุ่ม2 นี้ รวมทั้งจะพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นอิสระทางความคิด หลุดจากระเบียบที่รัดรึงเป็นอุปสรรคด้านต่างๆ และขยายผลอย่างเต็มรูปในโอกาสต่อไป บุคคลเหล่านี้ก็จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ให้ก้าวทันโลกที่เทคโนโลยีเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้โดยไม่ละเลยผู้เรียนโรงเรียนส่วนใหญ่ของประเทศ

          โครงการ “สำนักพัฒนานวัตกรรมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยในเบื้องต้นจะพัฒนาโรงเรียนรูปแบบใหม่ ลักษณะ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546  ทั้งนี้โรงเรียนทั้ง 5 รูปแบบใหม่จะยังมีจำนวนไม่มากนัก เพื่อให้มั่นคงก่อนจะขยายผลตามแผนงานในระบบต่อไป  โรงเรียนรูปแบบใหม่ทั้ง 5  ได้แก่

          รูปแบบที่  1  โรงเรียนในกำกับของรัฐ
                ดร.สมเกียรติ  ชอบผล  ร่วมกับ  ดร.ชัยพฤกษ์   เสรีรักษ์  เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการ

รูปแบบที่  2  โรงเรียนวิถีพุทธ
               ดร.กมล  รอดคล้าย   ดร.ไพรัช  สู่แสนสุข  ดร.บรรเจอดพร  รัตนพันธุ์  เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการและ
ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพุฒาจารย์ วัดสระเกศ  สมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ  พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)  พระเทพโสภณ  (ประยูร  ธมมจิตโต) และรองศาสตาจารย์  บุญนำ  ทานสัมฤทธิ์    

          รูปแบบที่ 3  แผนและยุทธศาสตร์สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ                 
               นายมังกร  กุลวานิช  ผอ.ธงชัย  ชิวปรีชา   คุณงามมาศ  เกษมเศรษฐ และ  ดร.รุ่งเรือง  สุขาภิรมย์  เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการ

          รูปแบบที่  4  โรงเรียนสองภาษา
                ดร.ณหทัย  ทิวไผ่งาม  และนายนิวัตร  นาคะเวช  เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการร่วมกับผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน

          รูปแบบที่  5    โรงเรียนใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
                 ดร.อธิปัตย์  คลี่สุนทร เป็นผู้รับผิดชอบประสานการดำเนินการร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย  5 แห่ง

          โรงเรียนรูปแบบใหม่ทั้ง 5 นี้  คือ รูปแบบของความแตกต่างหลากหลายที่กำลังเริ่มต้นและจะเบ่งบานขยายออกไปเต็มแผ่นดิน สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติในด้านต่าง ๆ โดยจุดเน้นของนวัตกรรมการศึกษาจะต่างกัน  

ลักษณะโรงเรียนวิถีพุทธ เน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักพุทธธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ คือ

 1. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึงการอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้รู้ มีครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี

 2. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลักสูตร การเรียนการสอนที่ดี

 3. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาหาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี

 4. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หมายถึง ความสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม

ห้องเรียน แหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อม เป็นต้น ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต เช่นกิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวันสำคัญ กิจกรรมนักเรียนต่าง ๆ ด้านการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่การกำหนดหลักสูตรสถานศึกษา การจัดหน่วยการเรียน แผนการจัดการเรียนรู้ จนถึงกระบวนการเรียนการสอน ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติต่อกันระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน หรือครูกับครู เป็นต้น และ ด้านการบริหารจัดการ ตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ จุดเน้น การกำหนดแผนปฏิบัติการ การสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งการจัดสภาพในแต่ละด้านจะมุ่งเพื่อให้การพัฒนานักเรียนตามระบบไตรสิกขาดำเนินได้อย่างชัดเจนมีประสิทธิภาพ ดัง     เช่น การจัดด้าน การจัดสภาพของโรงเรียนวิถีพุทธ ประกอบด้วย ด้านกายภาพ คือ อาคารสถานที่กายภาพ ควรเป็นธรรมชาติ สภาพชวนให้มีจิตใจสงบ ส่งเสริมปัญญา กระตุ้นการพัฒนาศรัทธา และศีลธรรม กิจกรรมพื้นฐานวิถีชีวิต กระตุ้นให้การกิน อยู่ ดู ฟัง ดำเนินด้วยสติสัมปชัญญะเป็นไปตามคุณค่าแท้ ด้านการเรียนการสอน บูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้ชัดเจน  ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ เอื้ออาทร เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน ส่งเสริมทั้งวัฒนธรรมเมตตา และวัฒนธรรมแสวงปัญญา เป็นต้น

   การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ


 

การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธ  

1.ขั้นเตรียมการ  เตรียมแผนงาน  โครงการ  กำหนดเป้าหมาย  วิสัยทัศน์  คุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยผ่านทุกฝ่าย  คณะครู  ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ชุมชน  เห็นพ้องกันให้เกิดความสะดวก  ยอมรับ  ศรัธาและฉันทะ

  2.ขั้นดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ อันจะเป็นปัจจัยเป็นกิจกรรม  เป็นเครื่องมือสู่การพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม  สอดคล้องกับลักษณะ
 แห่งปัญญาวุฒิธรรม  4

                -  อยู่ใกล้คนดี   ผู้รู้
                -  
ใส่ใจศึกษาหาความรู้
                -  
กระบวนการคิดดี
                -  
ปฏิบัติตามสมควร

หมายเลขบันทึก: 211955เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท