ไหมป่ากับมันสำปะหลัง จะสร้างงานให้ชาวอีสาน


ไหมป่ากับมันสำปะหลัง จะสร้างงานให้ชาวอีสาน

ไหมป่ากับมันสำปะหลัง จะสร้างงานให้ชาวอีสาน

 

วิโรจน์ แก้วเรือง 1/

ไหมป่า ( wild silkworm or non – mulberry silkworm) เป็นไหมที่กินพืชอื่นที่ไม่ใช่ใบหม่อนเป็นอาหาร ส่วนตัวไหมที่กินใบหม่อนเป็นอาหารเรียกว่า ไหมบ้าน ( domestic silkworm) หรือ “ไหมหม่อน” ( mulberry silkworm ) แต่โดยทั่วไปเรียกไหมบ้านที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลายว่าไหม ( silkworm) เพียงสั้นๆ เท่านั้นก็เข้าใจกันว่าหมายถึงไหมชนิดไหน

ไหมป่าในอดีตจะถูกเก็บรังมาจากต้นไม้ พืชอาหารของมันไม่ต้องลงทุนเลี้ยงเพียงลงทุนเก็บรังนำมาดึง มาสาว เอาเส้นมาทำเป็นเส้นด้าย ไหมป่า มีอยู่ด้วยกันหลายตระกูล เช่น

ไหม อีรี่ ( eri silkworm : Samia ricini ) กินใบมันสำปะหลังและใบละหุ่งเป็นอาหาร

( eri silkworm : ) กินใบมันสำปะหลังและใบละหุ่งเป็นอาหารไหมทาซาร์ ( tasar silkworm : Antherea spp. ) กินใบมะกอก พะยอม เค็ง หรือ โอ๊ค เป็นอาหาร ( tasar silkworm : ) กินใบมะกอก พะยอม เค็ง หรือ โอ๊ค เป็นอาหาร

ไหมมูก้า ( muga silkworm : A. assamensis ) กินใบอบเชย การบูร และเสียด ฯลฯ เป็นอาหาร

ไหมป่าทั้งสามชนิดถูกนำมาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์แล้วหลายประเทศ อาทิ อินเดีย ปากีสถาน เนปาล ญี่ปุ่น และจีน แต่ยังคงเรียกว่าไหมป่าเช่นเดิม และสามารถอยู่รอดในธรรมชาติได้เอง “ไหมป่า” เป็นสิ่งที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรไทยยังไม่มีใครเลี้ยงเป็นอาชีพ แม้จะมีการศึกษาการเลี้ยงไหมป่าในประเทศไทยมาตั้งแต่ ปี 2519 โดย คุณสมนึก วงศ์ทอง และคณะ ได้เลี้ยงไหมป่าอีรี่ ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ด้วยมันสำปะหลัง และใบละหุ่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากเกิดโรคระบาดจากเชื้อแบคทีเรีย มีการเลี้ยงรอดเพียง 46 % ต่อมามีการศึกษาเรื่องไหมป่าชนิดนี้ โดย อาจารย์ ทิพย์วดี อรรถธรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ คุณบุษรา ระวินู นักวิชาการเกษตร สถานีทดลองหม่อนไหมหนองคาย (เดิม) ในที่สุดปี 2546 คุณกอบกุล แสนนามวงษ์ นักวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยหม่อนไหมอุดรธานี (เดิม) ปัจจุบัน ทั้งสองแห่งได้รับการพระราชทานนามเป็น ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติหนองคาย และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติอุดรธานี ตามลำดับ ได้ร่วมกับคณะนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆวิจัยและพัฒนาไหมป่าอีรี่ แบบครบวงจร ตามโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาไหมป่าอีรี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้ข้อมูลพื้นฐานและต้นทุนการผลิตพร้อมส่งเสริมการเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในเชิงพาณิชย์ขยายสู่ภาคเกษตรกรแล้ว


 

1/ ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทบาทสำคัญของไหมป่า

ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา ผู้ที่หลงใหลในความมหัศจรรย์แห่งเส้นใยได้เริ่มมองหาเส้นใยไหม และผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นๆที่แปลกใหม่ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้จะมีราคาแพง ดังนั้นจึงมีการสำรวจและศึกษาไหมป่านานาชนิด เพื่อหาประโยชน์จากเส้นใย ไหมป่าจึงมีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นอุตสาหกรรมไหมให้ตื่นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ปัจจุบันมีไหมป่าเพียง 5 ชนิดเท่านั้น ที่นำเส้นใยมาใช้ประโยชน์แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวก แอนเธอเรีย (Antherea ) ได้แก่ A. yamamai , A. pernyi, A. assamensis , A. mylitta และ S. ricini ยังมีไหมป่าอีกหลายชนิดที่รอนักวิทยาศาสตร์นำมาใช้ประโยชน์กระจัดกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของโลกที่มีเสน่ห์ทั้งสี และความละเอียดของเส้นใย นับเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง ไหมป่าบางชนิดเส้นใยที่มีรูพรุน บางชนิดผลิตเส้นใยที่แน่น ทำให้คาดหวังได้ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพ และประสาทสัมผัสเฉพาะตัว เช่น ไหมป่า (Eucheiria socialis ) ให้เส้นใยที่ละเอียดมาก มีขนาดเพียง 0.3 ดีเนียร์ (denier) ขณะที่ไหมป่า A. mylitta ให้เส้นใยขนาดใหญ่ถึง 15 ดีเนียร์ ส่วนเส้นไหมบ้านให้เส้นใยขนาดประมาณ 3 ดีเนียร์ ตัวไหม เป็นแมลงที่สร้างเส้นใยเพื่อปกป้องดักแด้จากศัตรูธรรมชาติ และเส้นใยยังช่วยป้องกันแสงแดดโดยเฉพาะแสงอุลตร้าไวโอเร็ตที่เป็นอันตรายต่อดักแด้และผิวหนังของเราด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะกลายเป็นผีเสื้อสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป นั่นแสดงว่าเส้นไหมเป็นเส้นใยเพื่อสุขภาพที่วิเศษสุดสำหรับมนุษย์ เมื่อนำมาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง

มันสำปะหลัง (Cassava : Manihot esculenta) พืชอาหารของไหมป่าอีรี่ กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากพืชอาหารสัตว์ กลายมาเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในการผลิต “เอทานอล” เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า “แก็สโซฮอล์” เพื่อลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ จากการนำเข้าน้ำมันซึ่งนับวันจะมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการของโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิต และจำหน่ายเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน บริษัท ผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง 1โรงงาน ที่มีกำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน ทำงาน 330 วันต่อปี ใช้หัวมันสำปะหลัง 750 – 800 ตันต่อวัน หรือประมาณ 250,000 ตัน ต่อปี ต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 100,000 ไร่ ทราบว่ากำลังมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อยอีก 18 โรงงานถ้าเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังอีก 50 % หรือ 9 โรงงาน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 900,000 ไร่ รวมเป็น 1 ล้านไร่ ในขณะที่ประเทศมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6.9 ล้านไร่ ในปี 2547 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการส่งออก ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล และอาหารสัตว์ดังกล่าว จะต้องใช้พื้นที่ ประมาณ 8 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก สำหรับจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 336,798 ไร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีใบมันสำปะหลังเป็นผลพลอยได้เพื่อใช้เลี้ยงไหมป่าจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าถ้าเราเก็บใบมันสำปะหลังน้อยกว่า 30 % ของใบทั้งหมดที่อยู่บนต้นจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หัวมันสำปะหลัง การเลี้ยงไหมป่า 20,000 ตัว (1 กล่อง) จะใช้ใบมันสำปะหลัง 600 – 700 กิโลกรัม (เก็บจากแปลงมันสำปะหลัง 2 ไร่) สามารถเลี้ยงได้ 3 ครั้ง ต่อปี ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงไหมป่าอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 2 ล้านไร่ จะเลี้ยงไหมป่าได้ถึง 1 ล้านกล่องต่อครั้ง หรือ 3 ล้านกล่องต่อปี ได้ผลผลิตรังไหมป่าประมาณ 105,000 ตัน สาวเป็นเส้นใยได้ประมาณ 7,500 ตัน มูลค่า 7,500 ล้านบาท ในจังหวัดมหาสารคาม ถ้ามีการเลี้ยงไหมอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดจะได้ผลิตเส้นไหมป่า ประมาณ 884 ตัน มีมูลค่าถึง 884 ล้านบาท

(Cassava : ) พืชอาหารของไหมป่าอีรี่ กำลังมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นจากพืชอาหารสัตว์ กลายมาเป็นพืชพลังงานที่สำคัญในการผลิต “เอทานอล” เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เรียกว่า “แก็สโซฮอล์” เพื่อลดการสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศ จากการนำเข้าน้ำมันซึ่งนับวันจะมีราคาแพงมากยิ่งขึ้น โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติในหลักการของโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ต่อมาในปี 2545 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการพิจารณาอนุญาตให้ตั้งโรงงานผลิต และจำหน่ายเอทานอลเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง โดยใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ 4 โรงงาน บริษัท ผลิตเอทานอล จากมันสำปะหลัง 1โรงงาน ที่มีกำลังการผลิต 130,000 ลิตรต่อวัน ทำงาน 330 วันต่อปี ใช้หัวมันสำปะหลัง 750 – 800 ตันต่อวัน หรือประมาณ 250,000 ตัน ต่อปี ต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 100,000 ไร่ ทราบว่ากำลังมีการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังและอ้อยอีก 18 โรงงานถ้าเป็นโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังอีก 50 % หรือ 9 โรงงาน จะต้องใช้พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังถึง 900,000 ไร่ รวมเป็น 1 ล้านไร่ ในขณะที่ประเทศมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 6.9 ล้านไร่ ในปี 2547 เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการส่งออก ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล และอาหารสัตว์ดังกล่าว จะต้องใช้พื้นที่ ประมาณ 8 ล้านไร่ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานและภาคตะวันออก สำหรับจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวมทั้งสิ้น 336,798 ไร่ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีใบมันสำปะหลังเป็นผลพลอยได้เพื่อใช้เลี้ยงไหมป่าจำนวนมหาศาล จากการศึกษาพบว่าถ้าเราเก็บใบมันสำปะหลังน้อยกว่า 30 % ของใบทั้งหมดที่อยู่บนต้นจะไม่มีผลกระทบต่อผลผลิต หัวมันสำปะหลัง การเลี้ยงไหมป่า 20,000 ตัว (1 กล่อง) จะใช้ใบมันสำปะหลัง 600 – 700 กิโลกรัม (เก็บจากแปลงมันสำปะหลัง 2 ไร่) สามารถเลี้ยงได้ 3 ครั้ง ต่อปี ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงไหมป่าอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมดหรือ 2 ล้านไร่ จะเลี้ยงไหมป่าได้ถึง 1 ล้านกล่องต่อครั้ง หรือ 3 ล้านกล่องต่อปี ได้ผลผลิตรังไหมป่าประมาณ 105,000 ตัน สาวเป็นเส้นใยได้ประมาณ 7,500 ตัน มูลค่า 7,500 ล้านบาท ในจังหวัดมหาสารคาม ถ้ามีการเลี้ยงไหมอีรี่ จากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมดจะได้ผลิตเส้นไหมป่า ประมาณ 884 ตัน มีมูลค่าถึง 884 ล้านบาทในอนาคตจึงคิดว่า การเลี้ยงไหมป่าอีรี่เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เป็นอาชีพหลัก เพราะการปลูกมันสำปะหลังเกษตรกรจะมีเวลาว่างมากพอระหว่างรอผลผลิตหัวมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงไหมป่า เมื่อมีความหวังในการสร้างเงินจากเรื่องนี้ ศูนย์นวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คงนิ่งดูดายไม่ได้ ที่จะใช้โอกาสนี้มาพัฒนาการเลี้ยงไหมป่าให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในชุมชนต่างๆ ที่อยู่ท่ามกลางไร่มันสำปะหลัง อันกว้างใหญ่ของจังหวัดมหาสารคาม ร่วมสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวอีสานอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

 

บรรณานุกรม

พรรณนีย์ วิชชาชู. 2547. จากมันสำปะหลังสู่เอทานอล ใน ผลิใบ. ปีที่ 7 (3). หน้า 2-5.

วิโรจน์ แก้วเรือง และ สุทธิสันต์ พิมพะสาลี. 2548. เก็บไหมป่ามาเลี้ยง ใน กสิกร. ปีที่ 78 (3) หน้า 57-62.

Silk Innovation Center. 2004 Current Advances and Development in wild Silkmoths and Tropical Bombyx Silks. International workshop on wild Silkmoths and Silks. Khon Kaen. Thailand. 91 pp.

Wongtong, S. Areekul, P. Onlamoon, A. and Tragoolgarn, S. 1980. Research on wild Silkworm Cultivation in Highlands of Northern Thailand. Highland Agriculture Project. Kasetsart University. 199 pp.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21163เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมว่าคุณ วิโรจน์ ไม่ให้เกียรติ กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ไม่ได้กล่าวถึงงานวิจัยด้านไหมป่าอีรี่ ของ ม.ขอนแก่น เลยที่บุกเบิกและรายงานถึงการสาวเส้นไหมชนิดนี้ได้เป็นครั้งแรก รวมทั้งการรายงานถึงพืชอาศัย มันต้น (Manihot glasiovii) และอีกหลายเรื่อง ทั้งๆที่ คุณวิโรจน์ ก็เป็นศิษย์เก่า ม.ขอนแก่น

ศูนย์ข่าวขอนแก่น-นักวิชาการม.ขอนแก่น พบไหมอีรี่ แมลงเศรษฐกิจ ที่มีศักยภาพสูงเชิงพาณิชย์ พบเส้นใยไหมทอเป็นผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตรงความต้องการของกลุ่มไฮโซ ดันส่งออกทั่วโลก  แนะส่งเสริมชาวไร่มันฯ ในภาคอีสานเลี้ยงเสริมรายได้ ....(ข้อความคัดลอกมาจากหน้าหนึ่งใน website กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)  แต่ทำไมบทความข้างบนผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง ม.ขอนแก่นเลย ซึ่งไม่ให้เกียรติกัน

ขอทราบว่าจะหาพันธ์ของ ไหม อีรี่ ( eri silkworm : Samia ricini ) ได้ที่ใหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท