สรุปการประชุมวิชาการ


“การจัดการคุณภาพการพยาบาล”

สรุปการประชุมวิชาการ เรื่อง “การจัดการคุณภาพการพยาบาล”
วันที่ 25 มีนาคม 2549 เวลา 09.00-16.00 น.
ณ ห้อง 8-200 อาคารประสิทธิ์พัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต

พัฒนาการการจัดการศึกษาสาขาพยาบาลศาสตร์
การจัดการศึกษายังมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

1. เชิงปริมาณ          - กำหนดสัดส่วน พยาบาล : ประการ 1 : 500

                              ควรมีพยาบาล 115,008 คน

                           - ขณะนี้มีพยาบาล จำนวน 97,280 คน

                              (TN 23,583 คน RN 73,742 คน )

                              ขาดพยาบาลอยู่ 17,728 คน

                           - ต้องเพิ่มการผลิตปีละ 2,000 คน

                           - ยังมีปัญหาเรื่องการกระจาย

                           - ยังไม่ตอบสนองต่อระบบบริการสุขภาพใหม่

2. เชิงคุณภาพ

                           - เราต้องเพิ่มขีดความสามารถของพยาบาลเพื่อให้ตอบสนองความต้องการ

                             ของประชาชนได้อย่างตรงกรณี ในทุกระดับของบริการ

พยาบาลที่ต้องการ

1. พยาบาลเวชปฎิบัติ ( Nurse Practitioner ) ในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในชุมชน เพิ่มการเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพ

2. ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา (Clinical Nurse Specialist) เพิ่มขึ้นในการบริการระดับตติยภูม

ความต้องการพยาบาล C N S
ต้องผลิตอีกปีละ 500 คน ในสาขาต่อไปนี้

                                                1. การพยาบาลอารยุรศาสตร์/ศัลยศาสตร์

                                                    หรือ การพยาบาลผู้ใหญ่

                                                2. การพยาบาลเด็ก

                                                3. การพยาบาลผู้สูงอายุ

                                                4. การพยาบาลสุขภาพจิต และจิตเวช

 

เราต้องการพยาบาลที่ทำการปฎิบัติการพยาบาลขั้นสูงในฐานะผู้มีความรู้ความชำนาญ คือ
1. เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฎิบัติในสาขาที่ตนเองเชี่ยวชาญ
2. มีทักษะในการให้ความรู้ ฝึกฝน และชี้แนะบุคคล
3. มีความสามารถในการให้คำปรึกษา
4. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคคลในวิชาชีพ ระหว่างวิชาชีพ องค์กรต่าง ๆ และภาคประชาชน
5. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การขยายบทบาท
6. เป็นผู้นำทางคลินิก และวิชาชีพ
7. ทำวิจัยใช้ผลการวิจัย และความรู้ในการปฎิบัติ
8. ใช้จริยธรรมในการตัดสินใจ และการปฎิบัติ
9. ประเมินผลลัพธ์ของการปฎิบัติ
10. มีความสามารถในการประกันคุณภาพ
ความจำเป็นของ Functional Areas

1. การจัดการการพยาบาล ( Nursing Management )

2. การศึกษาพยาบาล ( Nursing Education )

3. การวิจัยทางการพยาบาล ( Nursing Research)

                - Based Practiec

                - Evidence

                - Best Practice

4. สารสนเทศทางการพยาบาล ( Nursing Informaties )

การจัดการคุณภาพการพยาบาลด้านการศึกษายุคปัจจุบัน

                สรุปความหมายของ “คุณภาพการพยาบาล” คือการปฎิบัติการพยาบาลที่ตอบสนองต่อความต้องการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณของผู้รับบริการที่ได้รับการดูแลด้วยความเอื้ออาทร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษา การมีภาวะสุขภาพที่ดีและการมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข โดย ผู้รับบริการและพยาบาลมีความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย

                คุณภาพประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

ส่วนที่ 1 คุณภาพที่แท้จริง ( Quality in fact ) คือ การบรรลุถึงความคาดหวังของบุคคลนั้น หรือ ทำให้บรรลุถึงมาตรฐานที่ตั้งไว้

ส่วนที่ 2 คุณภาพจากการรับรู้ ( Quality in Perecption ) คือ การบรรลุถึงความคาดหวังของผู้รับบริการ

“คุณภาพการดูแล”  คือ ระดับการบริการการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการในการเพิ่มความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่ปรารถนาของผู้รับบริการ และลดความเป็นไปได้ของผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนาโดยได้แสดงความรู้ที่เป็นที่ยอมรับ (ในการบริการ ๆ นั้น)

คุณภาพ คือ ความถูกต้อง + ถูกใจ
-          ความถูกต้อง ตามมาตรฐาน
-          ถูกใจ ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
คุณภาพจะดีหรือไม่ ต้องมีตัวชีวัด
คุณภาพการพยาบาลจะเกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีการศึกษาวิจัย
 
“พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าความคิดไม่พัฒนา”
วิชาชีพพยาบาลไม่ใช่คิดว่ามีแต่หัวหน้ากับลูกน้อง ให้เปลี่ยนมุมมองว่า 
มีแต่พี่กับน้องจะทำให้การทำงานมีความสุข กล้าคิด กล้าทำ มีการทำงานไปพร้อม ๆ กัน 
จะทำให้วิชาชีพมีความเจริญก้าวหน้า
 
สังคมต้องการพยาบาลที่มีลักษณะ
1.       มีความรู้ความชำนาญทางคลินิกสูงขึ้น
2.       มีความสามารถในการให้ความรู้ คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่ครอบครัวและชุมชนได้โดยตรง
3.       มีความสามารถที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยปรับใช้ในการปฎิบัติการพยาบาลและ
การให้การบริการเพื่อให้เกิดการพัฒนา ประสิทธิภาพของการให้บริการด้านการพยาบาล
4.       มีความสามารถตัดสินใจในระดับที่ยากขึ้นในสถานการณ์ต่าง ๆ 
5.       มีความสามารถใช้กระบวนการติดต่อสื่อสาร ส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างเจ้าหน้า
ที่ในทีมสุขภาพ และใช้กระบวนการส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ
                                งานพัฒนาบุคลากร
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 21160เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท