เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้


เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกัน  ดังนั้น  วิธีการจัดการศึกษาการจัดทำหลักสูตรเนื้อและกิจกรรมการเรียนการสอนจึงมีความแตกต่างกัน  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่กระจายอยู่ชั้นเรียนทั่ว ๆ ไป   แต่ผลสัมฤทธิ์เรียนต่ำเมื่อเทียบกับระดับสติปัญญา  มีปัญหาในการรับและการส่งข้อมูล   มีความยุ่งยากลำบากในการเรียน  หรือเรียกว่าเด็กเรียนยากโดยทั่วไปมีสภาพร่างกาย   อารมณ์  สังคม  และจิตใจปกติ    แต่เรียนหนังสือไม่ค่อยดีนัก   เนื่องจากสมองด้วยความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้หรือยุ่งยากเป็นบางเรื่องหรือเฉพาะเรื่อง  เช่น การอ่าน  การเขียน   การสะกดคำ  หรือคณิตศาสตร์  การจัดการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องมีการสอนเสริมตามลีลาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน   ลดสิ่งรบกวน  เพิ่มสมาธิและวิธีการเรียนรู้ให้กับเด็ก

 

                การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะไม่มีอะไรแตกต่างไปจากเด็กปกติมากนัก ให้เด็กได้ทำงานที่สอดคล้องกับความสามารถของตัวเด็ก   เมื่อทำงานได้สำเร็จจะเป็นแรงจูงใจให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง  ถ้าเด็กไม่อยู่นิ่ง    รบกวนการเรียนของเพื่อน   ครูอาจแยกเด็กให้ทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้อย่างอิสระและเป็นการปรับพฤติกรรมไปด้วย

 

                แต่เนื่องด้วย  เด็กที่มีปัญหาในทางการเรียนรู้นั้น   อยู่ท่ามกลางความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  กล่าวคือ   สมองที่กำลังพัฒนาไปเรื่อย ๆ     ของเด็กกำลังเลื่อนไหลไปท่ามกลาง  สายธารที่ไม่หยุดนิ่งตามความเรียกร้องหรือความคาดหวังที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ     ดังนั้น ธรรมชาติและผลกระทบของปัญหาทางการเรียนรู้  จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา   การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้   มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินผล    การจัดการศึกษา  และภาพรวมของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

 

                ขณะที่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้มีการพัฒนาตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน  ก็จะถูกคาดหวังล่วงหน้าจากครู   และผู้ใกล้ชิดว่าจะมีการปรับปรุงความสามารถพื้นฐานในทุกด้านในทางที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ   การคาดหวังทางวิชาการในเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  จะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีความเชื่อว่า  เด็กต้องมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ   ในด้านความถูกต้องแม่นยำ  ความรวดเร็ว  ความยืดหยุ่น            และพัฒนาด้านภาษา ความทรงจำ  ทักษะการเคลื่อนไหว  สมาธิ  ตลอดจนการใช้เหตุผล  ถ้าเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  มีการพัฒนาในด้านเหล่านี้ช้า  ซึ่งไม่เพียงพอที่จะเรียนหรือทำงานให้ได้ตามความคาดหวัง  ช่องว่างที่เกิดขึ้น  ในเรื่องของทักษะและความสามารถทางวิชาการก็จะห่างยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ             เมื่อเทียบกับเพื่อนในวัยเดียวกัน 

 

                ดังนั้น  การที่เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้จะสามารถที่จะพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่  ให้สามารถพัฒนาได้เกือบเท่าเทียมกับเด็กปกติได้    ทั้งในเรื่องการเรียนของเด็ก   ทักษะทางวิชาการของเด็ก  อารมณ์ของเด็ก   และพฤติกรรมของเด็กนั้นต้องขึ้นอยู่กับการเอาใจใส่ของผู้ปกครอง   การสอนของครูตลอดสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย   ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง

 

หมายเลขบันทึก: 210477เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 02:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมาก ทำให้เข้าใจเด็ก LD ยิ่งขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท