เกณฑ์การวัดผลประเมินผลรายวิชา


เกณฑ์การวัดผลประเมินผลรายวิชา

เกณฑ์การวัดผลประเมินผลรายวิชา ดังนี้
1. นักเรียนต้องผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทุกข้อ ถ้าผู้เรียนไม่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ที่คาดหวังข้อใดข้อหนึ่ง ให้ดำเนินการซ่อมเสริมเพื่อให้นักเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนการตัดสินผลการเรียน
2. วัดผลปลายภาคเรียนเฉพาะผู้ที่มีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น
3. การอนุญาตให้ผู้เรียนเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียนสำหรับผู้ที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา
    3.1 ผู้เรียนที่มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ 80 ของเวลาเรียนในรายวิชานั้น และไม่ได้รับการ ผ่อนผันให้เข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน ให้ได้ผลการเรียน “มส”
    3.2 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ให้ได้ระดับผลการเรียน “0”
    3.3 ผู้เรียนที่ทุจริตในการสอบในรายวิชาใดครั้งใดก็ตาม ให้ได้คะแนน “0” ในครั้งนั้น รวมทั้งให้ได้คะแนน “0” ในรายวิชาที่สอบก่อนและหลังวิชาที่ทุจริต ในครั้งนั้นด้วย
    3.4 ผู้เรียนที่ไม่ได้วัดผลกลางภาคเรียน ไม่ได้วัดผลปลายภาคเรียน ไม่ได้ส่งงานที่ได้รับ มอบหมายให้ทำหรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้ ให้ได้ผลการเรียน “ร” กรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” เพราะไม่ส่งงานนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าสถานศึกษาก่อน
4. การเปลี่ยนระดับผลการเรียน ให้ปฏิบัติดังนี้
    4.1 การเปลี่ยนระดับผลการเรียนจาก “0” ให้ครูประจำวิชาดำเนินการสอนซ่อมเสริม จนกว่าจะผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด และนักเรียนที่สอบแก้ตัวไม่ผ่านหรือไม่มาดำเนินการซ่อมเสริมตามระยะเวลาที่กำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาที่จะพิจารณาขยายเวลาออกไปอีก การสอบแก้ตัวให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
     4.2 การเปลี่ยนผลการเรียน “ร” แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
            4.2.1 ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” เพราะเหตุสุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบ หรือส่งงานที่ติดค้างอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนปกติ (ตั้งแต่ 0 – 4)
            4.2.2 ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “ร” โดยสถานศึกษาพิจารณาว่าไม่ใช่เหตุ สุดวิสัย เมื่อผู้เรียนได้เข้าสอบหรือส่งงานที่ติดค้างอยู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”
    4.3 การเปลี่ยนผลการเรียน “มส” ในกรณีที่ผู้เรียนได้ผลการเรียน “มส” เพราะมีเวลา เรียนไม่ถึงร้อยละ 80 แต่มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเวลาเรียนทั้งหมด โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติม หรือมอบหมายงานให้ทำจนมีเวลาเรียนครบตามที่กำหนดไว้ แล้วจึงสอบให้เป็นกรณีพิเศษ ผลการสอบแก้ “มส” ให้ได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน “1”

ด้านที่ 2 การประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ วิธีการประเมิน
1. ครูผู้สอนทุกรายวิชาที่ทำการสอนจะทำการประเมินผลภายในคาบเรียนโดยคุณครูเลือกประเมินจากภาระงานที่สำคัญ เช่น จากโครงงาน รายงาน เรียงความ เป็นต้น
2. การประเมินอาจทำได้หลายครั้ง โดยนำผลทั้งหมดมารวมเป็นคะแนนเต็ม 10 คะแนน แล้วนำมาเทียบเป็นร้อยละ
3. ทำการตัดสินระดับคุณภาพโดยใช้ระบบการเทียบเกณฑ์ ดังนี้
ระดับคุณภาพ                 ความหมาย
1                             ควรปรับปรุง
2                                 ดี
3                             ดีเยี่ยม

ด้านที่ 3 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
1. วิธีการประเมิน ประเมินโดยครูประจำชั้น ทั้งขณะอยู่ภายในและนอกห้องเรียน
2. ตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นรายข้อ
3. การบันทึกผลพัฒนาการจะทำในสมุด ปพ. 4 เพื่อใช้รายงานกับผู้ปกครอง โดยจะทำการประเมินและรายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง
4. การตัดสินผลการประเมินให้กำหนดเป็น 3 ระดับ คือ ระดับคุณภาพ ความหมาย 1 ควรปรับปรุง 2 ดี 3 ดีเยี่ยม

ด้านที่ 4 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต่าง ๆ เช่น ชุมนุม แนะแนว ลูกเสือ รด.
2. ประเมินจากเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และปฏิบัติผลงานผ่านผลการเรียนรู้ที่สำคัญของกิจกรรม
3. การตัดสินผลการประเมินจะเป็น ผ่าน และ ไมผ่าน
4. ในกรณีที่ไม่ผ่านนักเรียนต้องทำการซ่อมเสริม

• เกณฑ์การจบช่วงชั้น
1. ผ่านการประเมินผลกลุ่มสาระการเรียนรู้ และเรียนได้จำนวนหน่วยกิตตามที่โรงเรียนกำหนด
2. มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับดี หรือดีเยี่ยม
3. มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี หรือดีเยี่ยม
4. ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้จำนวนหน่วยน้ำหนักตามที่โรงเรียน

การดำเนินการซ่อมเสริม มีดังต่อไปนี้
1. การซ่อมเสริมในรายวิชา
    1.1 กรณีซ่อมเสริมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังจะทำในระหว่างเรียนรายวิชา นักเรียนจะต้องตรวจกับครูผู้สอนว่าตกผลการเรียนรู้ใดและซ่อมเสริมอย่างไร เมื่อไร
    1.2 กรณีซ่อมเสริมได้รับระดับผลการเรียนเป็น “0” นักเรียนฟังประกาศจากครูผู้สอน และงานวัดผล และทำการซ่อมเสริมในระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัดเพื่อไม่ให้มีการสะสม
2. การซ่อมเสริมผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนให้ดำเนินการติดต่อครูผู้สอนเพื่อขอรับการประเมินใหม่
3. การซ่อมเสริมผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนให้ดำเนินการติดต่อครูประจำชั้นเพื่อขอรับการประเมินใหม่ 4. การซ่อมเสริมผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ดำเนินการติดต่อกับครูที่ปรึกษากิจกรรมเพื่อขอรับการประเมินใหม่ •

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน 1. ปพ.
1 เอกสารระเบียนสะสม แสดงผลการเรียนในช่วงชั้น ในกรณีที่จบช่วงชั้นแล้วนักเรียน ยังเรียนต่อกับโรงเรียน โรงเรียนจะเก็บหลักฐานนี้ไว้ แต่กรณีที่เป็นการจบและศึกษาต่อที่อื่น นักเรียนสามารถรับไปเป็นหลักฐานได้
2. ปพ.4 เอกสารแสดงผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนจะแจกให้ในกรณีที่ นักเรียนลาออกเพื่อศึกษาที่อื่น หรือจบการศึกษา
3. ปพ.6 เอกสารรายงานผลการเรียน หรือสมุดพก หรือใบรายงานผล เป็นเอกสารที่แจกให้ นักเรียนเทอมละ 2 ครั้ง คือ กลางภาคและปลายภาคเรียน
4. ปพ.7 เป็นเอกสารใบรับรอง เพื่อใช้แสดงว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ซึ่งใช้ในการสมัครต่อที่อื่น หรือ รับทุน เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 210423เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท