บทคัดย่อและแผนการสอนแรงและการเคลื่อนที่


บทคัดย่อและแผนการสอนแรงและการเคลื่อนที่

 

ชื่อผลงาน             การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                             กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์  เรื่อง  แรงและการเคลื่อนที่  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

                             ปีที่  1  สอนโดยใช้ผังมโนมติรูปตัววี

ชื่อผู้ทำการศึกษา       นายมงคล    เสนามนตรี    ครู คศ.  2

 

บทคัดย่อ

 

                การศึกษาในครั้งนี้       เป็นการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์    ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ที่ได้รับการสอนโดยใช้ผังมโนมติรูปตัววี     ใช้วิธีการศึกษาแบบ   Posttest  Group  Design       กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/2   โรงเรียนโนนเมืองวิทยาคาร  อำเภอโนนสัง  จังหวัดหนองบัวลำภู  จำนวน 1  ห้องเรียน  จำนวน  39  คน  ทำการสอนเป็นเวลา  6  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  คาบ  คาบละ  1  ชั่วโมง  รวม  18  คาบ

                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีค่าความเชื่อมั่น  0.78 และ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ขอยืมจากเจริญศรี  ชมพูผล  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบที ( t – test )  พบว่า

1.       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง  แรงและการเคลื่อนที่  ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยผังมโนมติรูปตัววี สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 82.05

2.       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ผังมโนมติรูปตัววี สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  คิดเป็นร้อยละ  64.10

แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องแรงและการเคลื่อนที่โดยใช้ผังมโนมติรูปตัววี เป็นการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยเริ่มต้นจากคำถามสำคัญนำไปสู่การออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบคำถามสำคัญ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดสอบและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและสรุปข้อความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เก่าที่เป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วทำให้เกิดมโนมติใหม่เพิ่มเติมจากมโนมติเดิม

แผนการเรียนรู้เรื่อง    การเคลื่อนที่ของวัตถุ                                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

                                                                                                            จำนวน    1  ชั่วโมง

สาระสำคัญ

                การเคลื่อนที่ของวัตถุมีการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ เช่น  การเคลื่อนที่ในแนวตรง  แนวโค้ง  และการเคลื่อนที่เป็นวงกลม

เนื้อหา

                การเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนที่  คือ

1.    การเคลื่อนที่แนวตรง    วัตถุจะเคลื่อนที่ในแนวเดิม  ( ทิศเดิมหรือทิศตรงข้าม )  โดยอาจมีแรงกระทำ

       ต่อวัตถุหรือไม่ก็ได้  ถ้ามีแรงกระทำ ทิศของแรงที่กระทำจะอยู่ในแนวเดียวกับแนวการเคลื่อนที่ของ

      วัตถุเสมอ

2.    การเคลื่อนที่แนวโค้ง    วัตถุจะมีการเคลื่อนที่สองแนวพร้อม ๆ กัน  เช่น  เคลื่อนที่ในแนวราบและใน

       แนวดิ่ง  แรงที่กระทำต่อวัตถุจะมีทิศคงตัวตลอดเวลา  โดยทำมุมใด ๆ กับทิศของความเร็ว  เช่น  แรง

       ดึงดูดของโลก

3.    การเคลื่อนที่วงกลม     วัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งรอบจุด ๆ หนึ่ง  โดยมีแรงกระทำในทิศเข้าสู่

       ศูนย์กลาง

4.    การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย  วัตถุจะเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำรอยเดิมโดยมีแอมพลิจูดคงตัว

จุดประสงค์การเรียนรู้

                -    สำรวจ  สังเกต  และระบุการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

สาระการเรียนรู้

                -    การเคลื่อนที่ของวัตถุ

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1.    ทบทวนส่วนประกอบของผังมโนมติรูปตัววีเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

2.    ใช้คำถาม  ให้นักเรียนทายผลที่เกิดขึ้นว่าเหรียญทั้งสองจะเคลื่อนที่อย่างไร

      Ø ครูสาธิตการเคลื่อนที่ของเหรียญ  2  เหรียญโดยเหรียญหนึ่งวางบนโต๊ะอีกเหรียญวางปลายไม้บรรทัดออกแรงตีไม้บรรทัดให้เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วสังเกตการเคลื่อนที่ของเหรียญทั้งสอง

( เหรียญบนไม้บรรทัดจะตกในแนวดิ่ง  ส่วนเหรียญบนโต๊ะจะเคลื่อนที่ในแนวโค้ง )

      Øใช้คำถาม  นักเรียนคิดว่าการเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นอย่างไรบ้าง ?

(  นักเรียนสร้างผังมโนมติในส่วนของคำถามสำคัญ )

3.    แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

 

ขั้นสอน

4.    ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาวิธีการทดลองในหนังสือเรียน และบันทึกส่วนวิธีทำการทดลอง                

       ( เหตุการณ์  วัตถุ  สิ่งของ )

5.     นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม  บันทึกผล  ครูย้ำเรื่องความสามัคคีในกลุ่มให้ช่วยกันปฏิบัติงาน

        ตัวอย่างการบันทึกผล

        1.    เมื่อปล่อยแผ่นกระดาษและก้อนกระดาษจากที่สูง  ทั้งแผ่นกระดาษและก้อนกระดาษจะตกลงสู่พื้นตามแนวดิ่ง  โดยก้อนกระดาษจะตกถึงพื้นก่อนแผ่นกระดาษ

        2.    เมื่อขวางลูกบอลเล็ก ๆ ออกไปหลายแนวลูกบอลจะเคลื่อนที่ในแนวโค้ง  โดยขวางออกไปด้วยความเร็วมากลูกบอลก็จะตกห่างจากจุดขวางมาก

        3.    เมื่อจับปลายด้ายที่ผูกลูกบอลไว้ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง  แล้วแกว่งให้ลูกบอลเคลื่อนที่วนรอบมือที่จับ  ลูกบอลจะเคลื่อนที่ในแนววงกลม

        4.    เมื่อจับปลายด้ายที่ผูกลูกบอลในแนวดิ่ง แล้วดึงลูกบอลไปด้านข้าง  จากนั้นปล่อยมือลูกบอลจะเคลื่อนที่กลับไปมาเป็นส่วนโค้งวงกลมและความเร็วลดลงเรื่อย ๆ จนหยุดนิ่ง

6.    นักเรียนนำข้อมูลที่ได้แต่ละกลุ่มมาอภิปรายและจัดกระทำข้อมูลใหม่เพื่อง่ายต่อการศึกษา

       ตัวอย่างการจัดกระทำข้อมูล

การทดลอง

ผลการทดลอง

- ปล่อยแผ่นกระดาษและก้อนกระดาษพร้อมกัน

ตกสู่พื้นในแนวดิ่ง ก้อนกระดาษตกถึงพื้นก้อน

- ขวางลูกบอล

เคลื่อนที่ในแนวโค้ง

- แกว่งลูกบอลวนรอบมือ

เคลื่อนที่เป็นวงกลม

- ปล่อยลูกบอลด้านข้าง

เคลื่อนที่เป็นส่วนโค้งของวงกลม

 

7.    นักเรียนสรุปผลที่ได้จากการทดลอง  ซึ่งจะสรุปได้ว่า      การเคลื่อนที่ของวัตถุมีการเคลื่อนที่หลายลักษณะ เช่น  การเคลื่อนที่ในแนวตรง  แนวโค้ง  และการเคลื่อนที่เป็นวงกลม

 

ขั้นสรุปบทเรียน

8.   นักเรียนร่วมกันสรุปข้อค้นพบและนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดจากการเรียนรู้มาเขียนเป็นผังมโนมติรูปตัววี

       และกล่าวชื่นชมนักเรียนที่ตั้งใจในการปฏิบัติกิจกรรม

 

สื่อการเรียนรู้

1.       อุปกรณ์ในการทดลอง

2.       หนังสือเรียน

การวัดและประเมินผล

1.       ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

2.       ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานและทักษะการทดลอง

3.       ประเมินจากผลงานการสร้างผังมโนมติรูปตัววี

เครื่องมือวัดและประเมินผล

1.       แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม

2.       แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและทักษะการทดลอง

3.       ชิ้นงานผังมโนมติรูปตัววี

4.       แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

1.       แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม  ได้คะแนนไม่น้อยกว่า  60 %

2.       แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและทักษะการทดลอง  ได้คะแนนไม่น้อยกว่า  60 %

3.       ชิ้นงานถูกต้องเกิน  70  %

4.       ตอบแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน  ผ่านเกณฑ์  50  %

 

ข้อเสนอแนะ

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระ/หัวหน้าฝ่ายวิชาการ

......................................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ความคิดเห็นของผู้บริหาร

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................                                                                                                                                                                                                        

                                                                                                                                                                                                                                                                

                    

                  

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

                                                                                                                                                                                    

                                        &nbsp

หมายเลขบันทึก: 210203เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท