รายงานผลการพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อม


ครูอรอนงค์ ธุระแสง โรงเรียนวัดกู่สามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6

ชื่อผลงาน    รายงานผลการพัฒนากิจกรรม

                       การจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อม

                      ทางคณิตศาสตร์  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่   2

ผู้วิจัย             นางอรอนงค์    ธุระแสง

ปีที่พิมพ์        สิงหาคม   2551

 บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์   สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่  2  ให้มีประสิทธิภาพ 80 / 80 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์  ของนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่  2  โดยมีเกณฑ์ในการประเมินคือนักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ  80  

                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่  2  ภาคเรียนที่   1   ปีการศึกษา  2551  โรงเรียนวัดกู่สามัคคี    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานคราชสีมา  เขต  6   จำนวน  16  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์  จำนวน   20   แผน   แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน    แบบทดสอบย่อย และแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์  โดยเครื่องมือทั้งหมดที่ใช้           ในการศึกษาผ่านขั้นตอน การหาค่าอำนาจจำแนก  ค่าความยากง่ายและค่าความเชื่อมั่น  พบว่า มีประสิทธิภาพสูง   

                ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาดำเนินการศึกษาตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยได้ดำเนินการ  5 วงจร  ซึ่งในแต่ละวงจรผู้ศึกษาดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  คือขั้นวางแผน   ขั้นปฏิบัติ    ขั้นสังเกตการณ์และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติการ และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวงจรผู้ศึกษาได้ทดสอบย่อยท้ายวงจรเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงและพัฒนาในวงจรต่อไป   เมื่อสอนครบทั้ง  5  วงจรแล้วผู้ศึกษาได้ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์ เพื่อประเมินผลสรุป

 ผลการศึกษาพบว่า

                1.    ผลการพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์  ประกอบด้วย  3  ขั้นตอนได้แก่          

                           ขั้นที่ 1  เสนอสถานการณ์ที่ท้าทาย  เน้นความชัดเจนของสถานการณ์  และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียน  ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การสนทนาซักถาม การเล่นเกม  การเล่านิทาน ปริศนาคำทาย              การเล่นบทบาทสมมุติ สื่อที่ใช้ประกอบกิจกรรม ได้แก่ของจริง ของจำลอง หุ่น รูปภาพ ฯลฯ

                           ขั้นที่ 2  จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้กระทำกับสื่อด้วยตนเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึก และมีอิสระในการคิด  ให้นักเรียนได้จัดกระทำกับสื่อทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนและนอกห้องเรียน  โดยเป็นร่วมมือกันแก้ปัญหา  เน้นการการแสดงออก  มีการแลกเปลี่ยนความคิด    ซึ่งกันและกัน มีความหลากหลายของความคิด

                           ขั้นที่ 3  สนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้กระทำกับสื่อและนักเรียนได้เสนอผลงาน   โดยเน้นการสะท้อนความคิดและถ่ายทอดความคิดให้กระจ่าง  มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน   มีการนำเสนอผลงานที่ถูกต้องและแปลกใหม่

                2.    กิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์  ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ   92.32 / 90.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80 / 80 

                3.    นักเรียนที่ได้รับการสอนตามกิจกรรมการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อม ทางคณิตศาสตร์ ระดับ              

ชั้นอนุบาลปีที่ 2   มีผลสัมฤทธิ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์   คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ  96.98   ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 80   และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ  100    ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ  80  เช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #ผลงานวิขาการ
หมายเลขบันทึก: 210084เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2008 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เผยแพร่ชุดฝึกได้ใหม ครับ

อยากได้ ชุดฝึก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท