10...6 กันยายน 2551...ประเทศไทยมีดาวเทียมดวงใหม่


ดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LOW Earth Orbit) มีน้ำหนักประมาณ 510 กิโลกรัม ส่งขึ้นสู่วงโคจรในแนวเหนือใต้ หรือ Sun-Synchronous polar orbitและมีอายุการใช้งาน 3 ปี

 

   6 กันยายน 2551 ประเทศไทยมีดาวเทียมดวงใหม่

 

 

 

          

                                           นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หัวหน้าคณะผู้แทนไทยกล่าวถึง ผลสำเร็จโครงการร่วมสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก(Small Multi -Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS ว่าประเทศไทยได้เข้าร่วมพิธีส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ณ ฐานปล่อยจรวดเมือง ไทหยวน สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551

            ซึ่งเป็นอีกผลงานการวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภูมิภาคและเอเชียแปซิฟิก ( Asia —Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA)                 

            ประเทศไทย สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดาวเทียม SMMS ด้วยคุณลักษณะพิเศษที่มีการออกแบบจัดสร้างอุปกรณ์ติดตั้งในดาวเทียม SMMSได้แก่ กล้องถ่ายภาพสีแบบ CCD Multi-spectrum และกล้องถ่ายภาพแบบ Hyper-spectrum ที่สามารถถ่ายได้ 128 แถบความถี่ และอุปกรณ์สื่อสาร ระบบ Ka-Band ทำให้เก็บภาพพื้นที่ต่างๆตามแนวรัศมีโคจรรอบโลกได้ละเอียดจนสามารถนำภาพถ่ายมาประเมินสภาพพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ

            ดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LOW Earth Orbit) มีน้ำหนักประมาณ 510 กิโลกรัม ส่งขึ้นสู่วงโคจรในแนวเหนือใต้ หรือ Sun-Synchronous polar orbit และมีอายุการใช้งาน 3 ปี  


คุณลักษณะของดาวเทียม SMMS

ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LOW Earth Orbit) ส่งขึ้นสู่วงโคจรในแนวเหนือใต้หรือSun-synchronous polar orbit

เป็นดาวเทียมเพื่อการวิจัยด้านการสื่อสารในย่าน Ka-Band

ความถี่ขาขึ้น 29.2 GHz และความถี่ขาลง 18.72 GHz

ติดตั้งกล้องถ่ายภาพสีแบบ CCD Multi-Spectrum จำนวน 2 ชุด สามารถถ่ายภาพได้กว้าง 700 กิโลเมตร

ติดตั้งกล้องถ่ายภาพแบบ Hyper-Spectrum ที่สามารถถ่ายภาพได้ถึง 128 แถบความถี่

น้ำหนักประมาณ 510 กิโลกรัม

มีอายุการใช้งาน 3 ปี

 

            หลังจากที่ดาวเทียมได้จัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้ร่วมมือกันพัฒนาและประยุกต์ใช้ดาวเทียมดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น

 

            1. การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง / การเฝ้าระวังภัยพิบัติ สามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้สังเกตการณ์และจัดการพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ความหนาแน่นการจราจรชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา และการเฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ภัยน้ำท่วม ดินถล่ม ซึ่งสามารถเฝ้าดูปริมาณน้ำสะสมในแต่ละลุ่มน้ำ รวมทั้งใช้ประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนและหลังการเกิดภัยพิบัติ

            2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพของดิน การประเมินความรุนแรงของการกัดเซาะผิวดิน การจำแนกประเภทของป่าไม้ และการวิเคราะห์ความหนาแน่นของป่าไม้ เป็นต้น

            3. การเกษตรกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการพื้นที่และผลิตผลทางการเกษตร สามารถประเมินผลผลิตที่คาดว่าจะได้และสนับสนุนการตัดสินใจในด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่อย่างเหมาะสม

            4. การชลประทาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ประเมินแหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่ แม่น้ำ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลาก /บรรเทาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง สามารถรองรับปริมาณความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ ยังใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนด้านการชลประทานและการแจกจ่ายน้ำ การเปลี่ยนแปลงเส้นทางน้ำ รวมทั้งคุณภาพของน้ำ

            5. การประมง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการสำรวจพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการทำประมง และ/หรือ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ

            6. การสำรวจและการจัดทำแผนที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ วางผังเมือง จัดทำ แผนที่ และติดตามการขยายตัวของเมือง/แหล่งชุมชน ให้มีความเหมาะสม

 

            โดยโครงการดังกล่าวเป็นผลจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ในโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ (Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน

            ดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิจัย ออกแบบ เทคโนโลยีอวกาศและพัฒนาบุคลากรไทยให้มีศักยภาพในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้

            โดยประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสาร ระบบ Ka-Band บรรจุในตัวดาวเทียม SMMS สร้างสถานีภาคพื้นดินประจำที่และสถานีภาคพื้นดินเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณและระบบควบคุมติดตามดาวเทียม

            ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสร้างอุปกรณ์ด้าน Remote Sensing การทดลองวิทยาศาสตร์ และจรวดส่งดาวเทียม รวมทั้งสถานีติดตามและควบคุมดาวเทียม กระทรวงฯพร้อมเป็นส่วนเชื่อมโยงใช้บริการให้แก่ประชาชนคนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            ทั้งนี้นายสือ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงไอซีที คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ร่วมพัฒนาอุปกรณ์สำหรับประกอบในดาวเทียม SMMS ร่วม 16 คน ได้เดินทางไปร่วมพิธีส่งดาวเทียม­ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2551 ณ ฐานปล่อยจรวด เมืองไทหยวน สาธารณรัฐประชาชนจีน          สำหรับดาวเทียมSMMS เป็นดาวเทียมที่เกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในภูมิภาคและเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application: AP-MCSTA) ซึ่งประเทศสมาชิก 6 ประเทศได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน ได้ลงนามความร่วมมือกันเมื่อวันที่ 1 ก.ค.40 แต่ภายหลังเกาหลีใต้ได้ถอนตัว ขณะที่เปรู ตุรกี พร้อมด้วยอินโดนีเซียได้ขอเพิ่มชื่อเข้าเป็นสมาชิกภาคี

            สำหรับการพัฒนาดาวเทียมดวงนี้ ประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสารระบบ Ka-Band สำหรับบรรจุภายในดาวเทียม SMMS พร้อมสร้างสถานีภาคพื้นดินประจำที่ สถานีภาคพื้นดินเคลื่อนที่ อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณและระบบควบคุมติดตามดาวเทียม ส่วนจีนรับผิดชอบสร้างอุปกรณ์รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) การทดลองทางวิทยาศาสตร์ จรวดส่งดาวเทียม รวมทั้งสถานีติดตามและควบคุมดาวเทียม

            ด้านนายไชยันต์ เพียงเกียรติไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวถึงเงินลงทุนสร้างดาวเทียมครั้งนี้ว่า ใช้เงินลงทุนราว 1,800 ล้านบาท โดยไทยรับผิดชอบในส่วนระบบ Ka-Band ซึ่งใช้งบประมาณ 125 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจีนเป็นผู้รับผิดชอบ


แบบจำลองดาวเทียมSMMS

 

            สำหรับดาวเทียม SMMS เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit) มีน้ำหนักประมาณ 510 กิโลกรัม ขึ้นสู่วงโคจรในแนวเหนือ-ใต้ (Sun-Synchronous polar orbit) มีอายุการใช้งาน 3 ปี และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดาวเทียมหวน จิ้ง 1เอ-2บี (Huan Jing 1A-1B) ซึ่งมีโครงการพัฒนาดาวเทียมทั้งหมด 8 ดวง โดยได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้วพร้อมกัน 2 ดวงคือดาว SMMS และดาวเทียมอีกดวงที่จีนพัฒนาขึ้นเอง

            ส่วนของคุณสมบัติการถ่ายภาพของดาวเทียม SMMS นั้น รศ.ดร.มงคล รักษาพีชรวงศ์ ผู้จัดการโครงการ KABES/SMMS ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาระบบ Ka-band สำหรับดาวเทียม SMMM ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แจงกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ว่า ดาวเทียมดวงนี้มีระบบถ่ายภาพสีแบบ CCD (Charge Coupled Device) ความละเอียด 30 เมตร และกล้องไฮเปอร์-สเปคตรัม (Hyper-Spectrum) ความละเอียด 100 เมตร
            ทั้งนี้ กล้องประเภทหลังนั้นไม่เน้นความละเอียด แต่เน้นการมองเห็นที่แตกต่าง โดยสามารถถ่ายภาพด้วยย่าน 128 ย่าน ที่เปรียบเสมือนดวงตา 128 ดวงมองเห็นสีที่แตกต่างกัน 128 สี
            "กล้อง CCD ไม่สามารถแยกความแตกต่างความเขียวของทุ่งหญ้าและนาข้าวได้ แต่กล้องไฮเปอร์-เสปกตรัม สามารถถ่ายภาพและคำนวณเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลได้ ซึ่งคุณสมบัตินี้เบื้องต้นอาจนำไปประยุกต์เพื่อใช้คำนวณอายุป่า เพื่อดูการดูดซับคาร์บอนได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเรื่องการค้าคาร์บอนเครดิตได้"

            สำหรับระบบ Ka-Band ของดาวเทียมSMMSนั้น มีความถี่ในการส่งข้อมูล 20 กิกะเฮิรตซ์ (GIGA HERTZ)และความถี่ในการรับข้อมูล 30 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งระบบการสื่อสารในย่านนี้มีข้อดีตรงที่มีความถี่สูงทำให้ส่งข้อมูลได้มาก แต่ก็ข้อด้อยตรงที่ถูกรบกวนจากสภาพอากาศได้มาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจ เพื่อพัฒนาระบบรับสัญญาณให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต

            ทั้งนี้ จีนจะไม่ใช้ประโยชน์จากระบบสื่อสาร Ka-Band จากดาวเทียม SMMS เนื่องจากดาวเทียมเคลื่อนที่ตลอดเวลา ไม่เป็นดาวเทียมค้างฟ้าเช่นเดียวกับดาวเทียมไอพีสตาร์ (IPStar) ซึ่งใช้ระบบสื่อสารย่านนี้ แต่ไทยจะได้ประโยชน์จากการศึกษาและพัฒนาระบบสื่อสารย่านนี้ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมจากอุปกรณ์ถ่ายภาพอื่นๆ ของดาวเทียม

            อย่างไรก็ดี ผลจากการร่วมพัฒนาดาวเทียมSMMS นี้ จีนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารย่าน Ka-Band ของไทย และได้นำองค์ความรู้นี้ไปพัฒนาดาวเทียมค้างฟ้า สำหรับใช้งานเชิงพาณิชย์ให้กับไนจีเรียซึ่งได้ส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้ว และเวเนซูเอลาซึ่งกำลังจะส่งดาวเทียมขึ้นไป

            ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาระบบ Ka-Band โดยการวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ ได้มีการติดตั้งสถานีรับสัญญาณบนอาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นตึกสูง 13 ชั้น

            นอกจากดาวเทียม SMMS ที่เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและจีน แล้ว ไทยยังมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อ "ธีออส" (THEOS) ซึ่งอยู่ระหว่างการรอส่งขึ้นสู่วงโคจร และล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเวลาเกือบปีแล้ว โดยดาวเทียมธีออส มีอุปกรณ์ในการถ่ายภาพขาวดำความละเอียด 2 เมตร และกล้อง CCD บันทึกภาพสีความละเอียด 20 เมตร.

                              สวัสดีครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 209876เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2008 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีคะ

- น่ายินดีค่ะ ที่เรามีดาวเทียมอีกดวงค่ะ น่าจะใช้ประโยชน์ได้มากทีเดียวค่ะ

สวัสดีครับท่านผอ.ประจักษ์

             จากรูปเป็นจานดาวเทียมย่าน C-Band และ KU-Band ครับ ส่วนที่ขึ้นดวงใหม่เป้นย่าน KA- Band ครับ จานจะใบเล็กกว่านั้นอีกครับ

                                                           ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณเพชรน้อย

              เป็นดาวเทียมเฉพาะกิจครับ เดิมดาวเทียมที่ใช้ย่านความถี่ KA-Band จะใช้ในราชการทหารเท่านั้นครับ

                                                      ขอบคุณครับ

วิศวะ ม.เกษตร สุดยอด

สวัสดีครับคุณเยี่ยม

                 ครับ...สุดยอดอยู่แล้วครับได้ทำงานกับเครือข่าย

                                               โชคดีครับผม

มาติดตามอ่า /รอบแล้วค่ะ เมื่อวานขณะเม้นท์เรื่องปาย ไวรัสจู่โจมแบบไม่รู้ตัว ทั้งๆที่ หแฟืกำลังทำงาน ยกไปหาหมอช่างแล้ว ใช้โน๊ตบุคของลูกไม่ถนัดเลยค่ะ ตัวเล็กทำงานได้ช้า เพราะว่า บรรจงพิมพ์ อิอิ ขอบคุณค่ะ ช่างใหญ่

สวัสดีครับครูต้อย

          งั้นลองเอาคีย์บอร์ดของเครื่องธรรมดามาใส่ใช้กับโน๊ตบุ๊คก็จะใช้ได้เหมือนเดิมครับ

                                        โชคดีครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท