ต้ม แนวรบวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบ ยังไม่เปลี่ยน


ต้ม คือตัวชี้วัดความสัมพันธ์ระหว่าง สองศาสนา

///    เมืองท่าโบราณ

//ตำนานประพาสต้น

//ผู้คนสองศาสนา

//นานาสัตว์น้ำกร่อย

//อาหารอร่อยเลื่องลือ

ชื่อปากพะยูนบ้านเรา

เป็นคำขวัญที่ผู้เขียนคิดขึ้มาใช้ในการทำแผนแม่บทชุมชน  อำเภอเก่า(ทางเทศบาลต้ง) ชุมชนหน้าท่าเรือ

ผู้เขียนตั้ง เป็นชุมชนหลากหลายศาสนา ทั้งพุทธ  คริสต์ อิสลาม มีร้านน้ำชาหลายร้าน  เป็นที่สิงสถิตย์ของนักวิจารย์ ที่มักไม่ทำงาน ประเภท  เหลาะไทยรัฐ หมัดเดลินิวส์  หมีดมติชน ดลข่าวสด      สมยศคมชัดลึก

และสมนึกชอร์กเกอร์  ทำให้มีความหลากหลายทางความคิด   ในทางวัฒนธรรมก็มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเช่นกัน

บุญเดือนสิบรับเปรตปีนี้ ถ้าใช้ ต้มเป็นตัวชี้วัดทางเศษฐกิจ   และความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวต่างศาสนา   ปีนี้ดีกว่าปีก่อนๆ  ด้วยเหตุว่าเพื่อนบ้านเอาต้ม หนมเทียน หนมเมซัม มาให้เหลือเฟือจนเป็นทุกข์กลัวกลัวเสียฃอง   โชคดีที่พี่น้องหนองธงมาหา จึงได้จัดการจำหน่ายจ่ายแจกไปพอหายทุกข์   

    เช่นเดียวกันอีกไม่กี่วันถึงเทศกาลอิลอัฎฮา (ออกบวช)  เพื่อนบ้านก็ได้ต้มจากเราไป  ลูกๆตั้งคำถาม ทำไมต้องทำต้ม ทั้งสองศาสนา ยังหาคำตอบให้ไม่ได้(ต้องขอความอนุเคราะห์จากพระคุณเจ้ามหาชัยวุฒิด้วย)  จะเห็นได้ว่าแนวรบทางวัฒนธรรมต่างชาติยังไม่สามารถเอาชนะได้ในคนรุ่นนี้  ทุกปีเวลาถึงเทศกาลลูกหลานก็กลับมา      มาชิมมาชมรสมือแม่(ที่ยังแสดงฝีมือเอง)ด้วยความภูมิใจ  ถ้าปีไหนลูกติดภาระมาไม่ได้  แม่ก็เหมือนขาดความภาคภูมิใจลงไปครัน  จึงต้องขอร้องลูกหลานช่วยกันสืบสานแนวรบให้มั่นคงตลอดไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 208974เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 04:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เข้ามาชื่นชมผลงานค่ะ เมื่อวานเทศกาลเดือนสิบ ทำบุญหนแรก ในบางจังหวัดจะไม่ทำกันจะเน้น "บุญหลัง " ซึงจะตรงกับแรม 15ค่ำเดือนสิบ โดยเฉพาะพี่น้องแถวนครฯ จะทำบุญใหญ่ ลูกหลานกลับมากันพร้อมเพรียงแบบที่บังว่า ที่พัทลุงจะทำบุญแบบนี้ทั้งสองครั้งและเมื่อวานก็ได้อาศัยพี่พิม(แม่บ้านที่พอช) หาขนมเดือนสืบมาให้กินกันถ้วนหน้า ส่วนเรื่องงานมีเรื่องจะรบกวนบังอีกแล้ว คณะทำงานประชาสัมพันธ์ขบวนองค์กรชุมชนภาคใต้จะจัดกิจกรรม ประชุมคณะทำงานและทำบันทึกความร่วมมือเรื่องการขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์ในภาค ซึ่งเขาได้รับงบประมาณจำนวนหนึ่งแต่ยังไม่ได้เบิก คณะทำงานฯ ได้มาหารือและบอกว่าจะขอยืมเงินของคณะทำงานประเด็นองค์กรการเงินใช้จัดกิจกรรมในวันที่ 22 กันยายนนี้ ก็เลยอาจจะต้องรบกวนให้บังมาถอนเงินในธนาคารอีกครั้ง โดยอาจจะติดต่อกับผญ ยูรอีกที ขอบคุณมาก

มาคารวะท่านปราชญ์เมืองลุงด้วยเคารพรักอย่างสูง... และมาสั่งท่านว่า ให้หาเวลากลับไปอ่าน กล้วยไม้ ที่ท่านจะชวนผมเดินป่าด้วย เพราะมีคนหนึ่งจะสมัครเป็นน้องชายท่านนะ.....ถ้าท่านขุ่นใจ การบันทึกนี้ของผม..ผมจะฟ้องเฮียเปี๊ยก หลังสวนชุมพร....ฮ่า ๆ ๆ ...เอิ้ก ๆ ๆ ....(ปล.ผมมี หลวงพ่อทวด องค์นึงนะ แต่เนื้อไม่ถึง ถึงแต่พิมพ์น่ะ..ฮิ ๆ ๆ)....ชยพร แอคะรัจน์

บางครั้งสังคมก็บีบบังคับ...ให้ทำตามที่ใจน้องการไม่ได้...โปรดเข้าใจ

ที่ไม่ได้กลับ เพราะภาระต้องเลี้ยงดูลูกและสามีบางครั้งมะปะและสูๆทั้งหลาย ต้องทำงานหาตังค์ก่อน ก็เลยไม่ได้กลับไป หวังว่าท่านคงเข้าใจ

สวัสดีครับคุณ แก้ว

ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยน ประเพณี วัฒนธรรม

น้องพัช

วันที่ 19 นี้ เข้าประชุมปิดโครงการ ของ สกว ที่ศูนย์ประสานงาน

นัดพี่ ยูรอีกที

สวัสดีครับ คุณ ชยพร

มิกล้า มิกล้า อาตมามิกล้ารับ ท่านมา ยกยอเกินไป

แต่ก็จะไปศึกษาหาความรู้ เรื่องกลว้วยไม้

ตอนนี้ก็ได้ความรู้ จากบันทึกท่าน และยินดีมี่เพื่อนร่วมศึกษาผืนป่า

ส่วนว่าเรื่องขุ่นใจ ไม่มี อารมณ์ดีตลอด แต่ปักษ์ใต้บ้านเรา

เขาใช้คำว่า "ข้องใจ"

ในความหมาย เป็นห่วง คิดถึง

แต่อีกความหมาย หมายถึง ไม่เคลียร์ ไม่ชัดเจน อยากมีเรื่อง

เฮียเปี๊ยกรู้ดี ไม่เชื่อไปถามท่านกำนันเคว็ด

หรือเฮีย พงศา ป่าต้นน้ำ 55555(ล้อเล้ง)

ลูกคุณ หลานคุณ

ที่กล่าวมาก็เข้าใจ แต่ก็บ่นมาเพื่อว่า ณัฐวุฒิ (สกิดใจ)

ให้เห็นถึงความสำคัญ มันเป็นอะไรที่เกาะเกียวผูกพันถึงรากฐานของบ้านเรา

ที่ปฎิบัติมาจากรุ่นสู่รุ่น (เหมือนรีเจนซี่ บรั่นดีไทย)

มาชม คุณบังหีม

ผมชอบต้มโยนนะนี่ ฮิ ฮิ ฮิ

หวัดดีกิ๊บ-หวัดดีอั๊บ

อ่า คิดจึ๋งมั๊กมั๊ก จิงจิง นะเนี๊ย postดีนะ ชอบช๊อบ - แต่ยุ่งอ่ะ งานเยอะมะมาย อ่าดะด๋าวค่อยเม้นท์ยะยาว อะแบบแหล่มๆ เนอะ

บะบาย อิอิ หุหุ

:P

ซับโบร๋

วันนี้โปร่ง เดาเอานา ว่าทำต้ม จะได้เหนียวแน่น กลมเกลียว ผูกมัด-มั้ง? ก้อชอบทำในงานมงคลนี่นา อ่า..น่าจะช่าย..เอาตลาดนา :P

^_^

จับให้ได้..ไล่ให้ทัน กับคำพูดแปลกๆ เด็กสมัยนี้??

เพิ่งเข้ามาเห็นว่าถูกพาดพิง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าถูกพาดพิงจริงหรือไม่ เพราะอาตมาชื่อ พระมหาชัยวุ (ธ.ธงคนนิยม สะกด)...

สำหรับคำถามเรื่องที่มาของการทำต้ม ยังคิดไม่ออก คาดคะเนหรือเดาก็ยังไม่ได้...

เพิ่งนึกได้ว่า ต้ม อาจเป็นภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณที่เข้ามาอยู่เมืองไทย โดยเลียนแบบมาจาก บะจ่าง เพราะรูปลักษณ์ใกล้เคียงกัน...

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีงานบุญ มาทำบุญร่วมญาติแล้วก็ต้องจากกัน จึงต้องมีของกินระหว่างทางที่สามารถพกพาง่าย กินง่าย คนโบราณจึงเห็นความจำเป็นในเรื่องนี้ จึงได้คิด ต้ม ขึ้นมา...

และตามที่บังเล่ามานั้น... สมัยก่อน ยังเด็กๆ นั้น อาตมาอยู่คูขุดก็พาไปแจกญาติพี่น้องชาวมุสลิมทุกครั้ง และเวลามุสลิมออกบวชก็มักจะได้ต้มกลับมาเหมือนกัน...

อีกอย่างหนึ่ง มุสลิมบ้านคูขุด เวลาออกบวชจะให้คนยกชั้น (ปิ่นโต) ไปวัดด้วย แต่ไม่ยกมาเอง ขอช่วยพวกข้างบ้านหรือญาติที่เป็นพุทธฯ พามาถวาย ดังนั้น ในวันมุสลิมออกบวช ที่หอฉันข้าววัดคูขุดจึงมีชั้นเยอะแยะเหมือนกัน (5 5 5...)

เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า ขออภัยที่เขียนสะกดผิด ข้อสัณนิษฐานของท่าน น่าจะเป็นจริง เพราะดูลักษณะรูปทรงแล้ว คงเป็นพี่น้องกัน กับบ่ะจ่าง ข้อสัณนิษฐานที่ สองเมื่อต้องเดินทางจึงทำ ต้มเป็นของในการเดินทาง และของฝากคนเดินไกลสมัยก่อนอีกอย่างคือ..."ท้องกว้าง ทางไกล ไม้ไผ่เสียบ เสตัว หัวไม่มี " 555555 ปิ้งกลางทางกินกับ ต้ม เดินทางได้หลายวัน (ติดตามข่าวพระคุณเจ้าว่าเข้ากทม ไม่ทราบกลับหรือยัง รออาหารสมองจากท่านอยู่ครับ)

ดีใจจังเล่นสีเน้นข้อความได้แล้ว.......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท